บทความทางการแพทย์ของ Wikipedia เขียนและแก้ไขโดยนักศึกษาแพทย์ที่ได้รับการอบรมด้านการเขียนโดยเฉพาะ

Medical student Raquel Kronen works on her Wikipedia editing project. (VOA / Jan Sluizer)

วิทยาลัยการแพทย์ที่ University of California เปิดสอนวิชาการเขียนบทความทางการแพทย์ที่ตีพิมพ์ใน Wikipedia

Your browser doesn’t support HTML5

Med Students Edit Wikipedia

เมื่อปีที่แล้ว วิทยาลัยการแพทย์ที่ University of California ในเมืองซานฟรานซิสโกได้กลายเป็นสถาบันการศึกษาอเมริกันแห่งแรกที่เปิดสอนวิชาการเขียนและแก้ไขบทความทางการแพทย์ของ Wikipedia Dr. Amin Azzam เป็นผู้ก่อตั้งการสอนวิชานี้

Dr. Azzam กล่าวว่าอยากให้นักศึกษาเปิดดู Wikipedia เพื่อเสาะหาช่องโหว่ทางความรู้ทางการแพทย์ในบทความต่างๆ และใช้ความรู้ของตนให้เป็นประโยชน์ รู้จักถ่ายทอดความรู้นั้นๆ ให้ง่ายต่อการเข้าใจและช่วยปรับปรุงให้ Wikipedia ดีขึ้น

และเหตุผลเดียวกันนี้เองที่ทำให้ Raquel Kronen นักศึกษาแพทย์ปีที่ 4 ตัดสินใจลงทะเบียนเรียนวิชานี้ เธอบอกว่าแม้ตนจะมีความรู้ทางการแพทย์แต่ขาดความสามารถด้านการเขียนบทความทางการแพทย์ ความรู้ทั้งสองด้านนี้เป็นสิ่งจำเป็นหากต้องการเขียนบทความให้แก่ Wikipedia เพราะนอกจากจะถูกต้องแล้ว ยังต้องเขียนให้ชัดเจนและคนทั่วไปเข้าใจง่าย

ระยะเวลาเรียนวิชาการเขียนบทความทางการแพทย์แก่ Wikipedia นี้นาน 1 เดือน บรรดานักศึกษาที่ลงเรียนวิชานี้ใช้เวลาเกือบ 1 เดือนนี้ในการทำงานด้วยตังเอง ตั้งแต่เสาะหาข้อมูลและเขียนบทความ แต่ก่อนที่จะเริ่มเขียน นักศึกษาต้องเข้ารับการอบรมในระยะสั้นสองครั้งเพื่อเรียนรู้วิธีการเขียนบทความทางการแพทย์แก่ Wikipedia

Dr. Evan Whittaker บรรณารักษ์ทางการแพทย์แห่ง University of California ซานฟรานซิสโกช่วยนักศึกษาในการวิจัยหาข้อมูล เช่นเดียวกับ Dr. Azzam Dr. Evan Whittaker กล่าวว่าตนเคยขาดความมั่นใจใน Wikipedia แต่ตอนนี้ทัศนคติของเขาเปลี่ยนไปตั้งแต่ได้มีส่วนร่วมในวิชานี้

Dr. Whittaker กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าผู้เขียนต้องเขียนบทความสดๆ ลงบนหน้าเว็ปไซท์ขณะที่บทความยังเผยแพร่แก่คนทั่วโลกอยู่ บทความที่กำลังเขียนอยู่อาจจะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ อาจจะสะกดคำผิด ไวยากรณ์อาจไม่ถูกต้องและจะต้องแก้ไขปรับปรุงกันอยู่ตลอดเวลา

Wikipedia จะจัดอันดับคุณภาพของบทความหลายพันบทความที่ปรากฏบนหน้าเว็ปไซท์ นักศึกษาแพทย์ส่วนใหญ่ในโครงการนี้เลือกแก้ไขบทความในหัวข้อที่ถูกจัดอันดับในระดับต่ำ

บรรดานักศึกษาที่ลงเรียนวิชานี้สองรุ่นที่แล้วได้ปรับปรุงบทความทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคไวรัสตับอักเสบ โรคเบาหวาน เชื้อสายของมนุษย์กับสุขภาพ และเม็ดเลือดขาว

Raquel Kronen นักศึกษาแพทย์ปีที่สี่เลือกหัวข้อโรคซึมเศร้าหลังการคลอดบุตร (past-partum depression) เพราะอยากเป็นสูตินารีแพทย์เมื่อเรียนจบ เธอบอกว่าเพื่อนสนิทของเธอมีปัญหานี้ ครึ่งเดือนผ่านไป Kronen กำลังตั้งหน้าตั้งตาปรับปรุงแก้ไขบทความที่เขียนให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย

ในวันสุดท้ายของการเรียนวิชานี้ นักศึกษาจะรวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตน ทุกคนบอกว่าค่อนข้างพอใจกับผลงานที่ออกมาแต่บางคนบอกว่าประสบกับความท้าทายหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะด้านการนำเสนอข้อมูลทางการแพทย์ที่ซับซ้อนให้คนทั่วไปที่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์เข้าใจ

นักศึกษาหญิงคนนี้กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่านักศึกษาแพทย์ในระดับปีที่สี่มีความรู้ทางการแพทย์ที่เรียนมาอย่างมาเต็มตัวแล้วและเข้าใจภาษาทางการแพทย์ได้อย่างถ่องแท้

ส่วนนักศึกษาชายคนนี้กล่าวว่าตนมองว่าในอนาคต Wikipedia น่าจะนำเสนอบทความในหัวข้อเดียวกันในสองรูปแบบ บทความแรกเสนอเนื้อหาทางการแพทย์ที่ซับซ้อนให้ผู้มีความรู้ทางการแพทย์และบทความที่สองเสนอเรื่องเดียวกันแต่เขียนสำหรับผู้อ่านทั่วไป