นายกฯญี่ปุ่นเร่งเร้า ‘ออง ซาน ซูจี’ เปิดทางให้คณะทำงานอิสระตรวจสอบความรุนแรงต่อชาวโรฮิงจะ

Myanmar's leader Aung San Suu Kyi delivers her speech beside Japanese Prime Minister Shinzo Abe during their joint press remarks following their bilateral meeting at the Akasaka Palace state guest house in Tokyo, Oct. 9, 2018.

นายกรัฐมนตรีชินโซะ อาเบะ กล่าวกับผู้นำเมียนมา นางออง ซาน ซูจี ที่ประเทศญี่ปุ่นว่า เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีการตรวจสอบที่เชื่อถือได้ต่อข้อกล่าวหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวโรฮิงจะเพื่อลดความตึงเครียดในแคว้นยะไข่

นายอาเบะกล่าวในงานแถลงข่าวร่วมหลังหารือกับนางซูจี ว่าญี่ปุ่นจะสนับสนุนความพยายามของเมียนมาในการรองรับชาวโรฮิงจะ ที่เดินทางกลับเมียนมาจากค่ายผู้ลี้ภัยในบังคลาเทศ

ผู้นำญี่ปุ่นบอกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่สำคัญและมีความซับซ้อน เขาเสริมว่า “การสอบสวนที่น่าเชื่อถือโดยคณะทำงานอิสระเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง”

กองทัพของเมียนมาซึ่งเป็นประเทศที่มีชาวพุทธเป็นประชากรส่วนใหญ่ ถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงและกว้างขวางต่อชาวโรฮิงจะซึ่งเป็นชาวมุสลิม

FILE - This photograph taken on Sept.12, 2017 shows Rohingya refugees arriving by boat at Shah Parir Dwip on the Bangladesh side of the Naf River after fleeing violence in Myanmar.

ที่ผ่านมา ทหารเมียนมาถูกกล่าวหาว่า ทรมาน ข่มขืน สังหารและเผาบ้านเรือนชาวโรฮิงจะ จนเกิดการอพยพของชนกลุ่มน้อยเหล่านี้จำนวน 7 แสนคนจากเมียนมาไปบังคลาเทศตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว

รัฐบาลของนางซูจีปฏิเสธข้อเรียกร้องให้มีการตรวจสอบโดยคณะทำงานอิสระจากต่างประเทศ และได้แต่งตั้งชุดทำงานตามอำนาจของรัฐบาลเมียนมาให้ทำหน้าที่ดังกล่าว

คณะผู้ตรวจสอบที่ถูกแต่งตั้งโดยเมียนมา มีเจ้าหน้าที่ภายในประเทศสองคน และจากญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์อีกประเทศละหนึ่งคน

นางซูจีกล่าวในวันอังคารว่า เธอเห็นด้วยว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีการตรวจสอบที่ “ถูกต้อง” และ “เหมาะสม” อย่างไรก็ตามเธอกล่าวปกป้องชุดทำงานที่เมียนมาตั้งขึ้น ว่าพวกเขาทำงานอย่างเป็นอิสระและมีประสิทธิภาพ

ผู้นำเมียนมากล่าวว่าคณะทำงานชุดนี้ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนและประเด็นต่างประเทศ

เธอเดินทางมาประเทศญี่ปุ่นเพื่อร่วมประชุมสุดยอด 7 ประเทศ ในหัวข้อเรื่องแม่น้ำโขง โดยครั้งนี้ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ

ก่อนหน้านี้ ทางการเมียนมา ซึ่งรวมถึงกองทัพรัฐบาลทำการตรวจสอบด้วยตนเองและประกาศว่าไม่มีการประทำผิดทางอาญาในกรณีที่เกี่ยวกับชาวโรฮิงจะ จุดยืนดังกล่าวนำมาซึ่งเสียงวิจารณ์จากต่างประเทศว่าเมียนมาพยายาม “ฟอกขาว” ความผิดซึ่งสหประชาชาติระบุว่าเป็นการกวาดล้างทางชาติพันธุ์ต่อชาวโรฮิงจ