Your browser doesn’t support HTML5
เคยมีการศึกษาวิจัยไว้ก่อนหน้าแล้วว่า การวิ่งทางไกลสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำงานของสมองได้
นอกเหนือไปจากการสร้างแซลล์ประสาทสมองขึ้นมาใหม่ในสมองของผู้ที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ยังช่วยลดจำนวนและขนาดของรูที่เกิดขึ้นในสมองของเราเมื่อมีอายุสูงขึ้นด้วย
บทความในหนังสือพิมพ์ The New York Times เมื่อไม่นานมานี้ นำเสนอข้อสรุปจากรายงานการศึกษาทดลองกับหนูในห้องแล็บ ซึ่งกำหนดขอบข่ายการทดลองไว้ว่า จะดูผลกระทบของการออกกำลังกายต่อสมองของคนเราเท่านั้น
ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Jyvaskyla ในประเทศฟินแลนด์และสถาบันอื่นๆ ร่วมกันทำงานทดลองโดยใช้หนูตัวผู้ที่เติบโตเต็มที่แล้ว และแบ่งหนูเหล่านี้ออกเป็นสี่กลุ่ม
กลุ่มแรก ปล่อยให้วิ่งในกรงตามใจชอบ หรือจะใช้ล้อวิ่งก็ได้
กลุ่มที่สอง ออกกำลังกับน้ำหนัก โดยผูกน้ำหนักไว้ที่หางและให้ไต่ผนัง
กลุ่มที่สาม ออกกำลังกายแบบเข้ม โดยให้วิ่งบนสายพานอย่างเร็วเต็มที่เป็นเวลานานสามนาที วิ่งเหยาะๆ สองนาทีสลับกัน รวมเวลาทั้งหมด 15 นาที
กลุ่มที่สี่ เป็นกลุ่มควบคุมนั่งๆ นอนๆ ไม่ต้องออกกำลังกาย
หนูทั้งสี่กลุ่มร่วมการทดลองเป็นเวลา 7 สัปดาห์
นักวิจัยติดตามดูสมองของหนูในบริเวณที่เรียกว่า “hippocampus” โดยก่อนเริ่มการทดลองได้ฉีดสารที่จะระบุชี้เซลล์สมองเกิดใหม่ไว้ และพบว่ากลุ่มที่วิ่งตามใจชอบ หรือใช้ล้อวิ่ง มีเซลล์สมองเกิดขึ้นใหม่อย่างแข็งขันมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ยิ่งวิ่งได้มาก เซลล์สมองก็เกิดขึ้นมากตามไปด้วย
กลุ่มที่ยกน้ำหนักกับกลุ่มที่นั่งๆ นอนๆ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
ส่วนกลุ่มที่ออกกำลังกายแบบเข้มมีเซลล์สมองเพิ่มขึ้นบ้าง แต่เทียบกับกลุ่มวิ่งไม่ได้เลย
ทำให้หัวหน้าทีมงาน Miriam Nokia บอกว่า การออกกำลังกายแบบ aerobic อย่างต่อเนื่อง อาจจะเป็นประโยชน์กับสมองมนุษย์ได้มากที่สุด
รายงานการวิจัยชิ้นนี้ ตีพิมพ์ไว้ในวารสาร Journal of Physioligy ฉบับเดือนมกราคม