ระบบยุติธรรมที่ไม่เท่าเทียมกันสำหรับคนต่างกลุ่มในสังคมอิยิปต์เป็นบ่อเกิดของความรุนแรง

Mohammed Morsi, former Egypt president.

ความเป็นอยู่ของนักโทษกลุ่ม Muslim Brotherhood สุดย่ำแย่ หลายคนเสียชีวิตเพราะไม่ได้ถูกย้ายให้ได้รับการดูแลที่โรงพยาบาล

Your browser doesn’t support HTML5

บ่อเกิดของความรุนแรงในสังคมอียิปต์

อดีตประธานาธิบดี ฮอสนี มูบารัค (Hosni Mubarak) ถูกตัดสินว่ามีความผิดในการร่วมวางแผนสังหารผู้ประท้วงกว่า 200 คนเมื่อสามปีก่อน แต่หลุดคดีเมื่อปีที่แล้ว เขาจะถูกดำเนินคดีอีกครั้งที่จะเป็นครั้งสุดท้ายในเดือนพฤศจิกายนปีนี้

ก่อนหน้าการประกาศของศาลที่จะดำเนินคดีรอบสุดท้ายนี้ หลายคนเชื่อว่าอดีตผู้นำอียิปต์จะถูกปล่อยตัวเป็นอิสระอีกไม่นานนี้ ซึ่งที่ผ่านมาเขาถูกจำคุกเป็นเวลาสามปีจากคดีคอร์รัปชั่นไปเรียบร้อยแล้ว

Sarah Leah Whitson จากหน่วยงาน Human Rights Watch กล่าวว่าการที่อดีตประธานาธิบดีมูบารัคหลุดคดีเมื่อปีที่แล้ว แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำว่า เจ้าหน้าที่ในยุคของนายมูบารัคโดนดคีอาญาหลายลักษณะ แต่ถูกตัดสินว่าไม่มีความผิด

อีกด้านหนึ่งอดีตประธานาธิบดี โมฮาเหม็ด มอร์ซี่ ผู้ขึ้นมารับตำแหน่งต่อจากนายมูบารัคแต่ก็ถูกโค่นอำนาจในเวลาต่อมาเช่นกัน อาจจะต้องเจอโทษประหารชีวิต หลังจากที่นายมอร์ซี่ ถูกตัดสินว่ามีความผิดในการสังหารผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล

นายมอร์ซี่เป็นผู้สนับสนุนกลุ่ม Muslim Brotherhood ของอิยิปต์ และผู้ฝักใฝ่กลุ่มดังกล่าวอีกหลายพันคนถูกตัดสินในคดีหมู่และโดนโทษหนักกันเป็นส่วนใหญ่

Zaid Akl นักวิเคราะห์จากสถาบัน Al-Ahram Center for Political and Strategic Studies เทียบกรณีของนายมูบารัคและกลุ่ม Muslim Brotherhood ว่าแตกต่างกันมาก

เขากล่าวว่า ถึงแม้จะติดคุกแต่อดีตประธานาธิบดีมูบารัคได้รับการดูแลอย่างดี และเข้าถึงการดูแลทางการแพทย์ที่ทันสมัย ขณะที่ความเป็นอยู่ของนักโทษที่มาจากกลุ่ม Muslim Brotherhood ย่ำแย่ขนาดที่ว่าหลายคนเสียชีวิต เพราะไม่ได้ถูกย้ายให้ได้รับการดูแลที่โรงพยาบาล

นักวิเคราะห์กล่าวว่ารัฐบาลของผู้นำรัฐมนตรีอิยิปต์คนปัจจุบัน ประธานาธิบดี Abdul Fattah al-Sisi ไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่างกลุ่ม Muslim Brotherhood และกลุ่มลัทธิศาสนาอิสลามอื่นๆ ที่ได้สังหารเจ้าหน้ารักษาความปลอดภัยหลายร้อยคน หลังการลุกฮือขึ้นต้านรัฐบาลปัจจุบันที่โค่นอำนาจนายมอร์ซี่

นักวิเคราะห์ Zaid Akl กล่าวว่าระบบยุติธรรมที่ไม่เท่าเทียมกันสำหรับคนต่างกลุ่มในสังคมเป็นบ่อเกิดของความรุนแรง เขาบอกว่าปัญหาได้กลายมาเป็นมากกว่าเรื่องความมั่นคงปลอดภัย เพราะมีการฝักใฝ่แนวคิดก่อก่ารร้ายมากขึ้น ซึ่งทางแก้มีทั้งประเด็นทางกฎหมาย การเมือง สังคม และวัฒนธรรม

โปรดติดตามรายละเอียดจากคลิปเรื่องนี้ในรายการข่าวสดสายตรงจากวีโอเอ
รายงานโดย Heather Murdoch/เรียบเรียงโดยรัตพล อ่อนสนิท