สำรวจทัศนะคนอเมริกัน - ยังตื่นตัวกับการถ่ายทอด ‘ออสการ์’ หรือไม่?

FILE - A scenic artists prepares Oscar statues off of Hollywood Boulevard for last years's 92nd Academy Awards, at the Dolby Theatre, Feb. 5, 2020, in Los Angeles, California.

Your browser doesn’t support HTML5

Oscar Awards Countdown


ผู้ติดตามวงการบันเทิงทั่วโลกอาจจะสงสัยว่าความตื่นตัวของคนดูการจัดงานประกาศรางวัลออสการ์ ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 25 เมษายนนี้จะเป็นเช่นใด เพราะตลอดกว่าหนึ่งปีที่ผ่านมาวงการฮอลลีวู้ดอยู่ในภาวะซบเซาอย่างหนัก เนื่องจากมารตรการล็อคดาวน์ที่ออกมารับมือกับโคโรนาไวรัส

เมื่อย้อนกลับไปดูสถิติผู้ชมการถ่ายทอดการประกาศรางวัลออสการ์ที่สหรัฐฯ ในช่วงราว 100 ปีที่ผ่านมา จะพบว่า จำนวนคนดูจะอยู่ที่ประมาณ 35 ล้าน ถึง 45 ล้านคน จะเป็นรองก็เเต่การถ่ายทอดสดศึกชิงเเชมป์อเมริกันฟุตบอล Super Bowl เท่านั้น

แต่เมื่อปีที่เเล้ว ก่อนการประกาศว่าโคโรนาไวรัสเป็นการระบาดใหญ่ระดับโลก ยอดผู้ชมทางโทรทัศน์ของคืนประกาศผลออสการ์ ผ่านช่อง ABC ของสหรัฐฯ ก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด คือลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ มาอยู่ที่ 23 ล้าน 6 แสนคนถือว่าเป็นสถิติตำ่สุด

และหากพิจารณาถึงงานประกาศรางวัลของคนวงการบันเทิง ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากโควิด-19 จะพบว่ายอดผู้ชมลดลงอย่างฮวบฮาบ

ผู้ชมทางโทรทัศน์ของการประกาศรางวัลลูกโลกทองคำ ปีนี้ลดลง 64 เปอร์เซ็นต์ เหลือเพียง 6 ล้าน 9 แสนคน เทียบกับ 18 ล้าน 4 แสนคนปีที่เเล้ว ตามข้อมูลของบริษัทเนลสัน

ส่วนงานประกาศรางวัลเเกรมมี่ แห่งวงการเพลง เมื่อเดือนที่เเล้ว มีผู้ชม 9 ล้าน 2 แสนคน ผ่านโทรทัศน์และระบบสตรีมมิ่งทางอินเตอร์เน็ต ถือเป็นสถิติต่ำสุดและลดลง กว่า 50 เปอร์ซ็นต์จากปีก่อน

Best Supporting Actor Brad Pitt waits for his Oscar statue to be engraved at the Governors Ball following the 92nd Academy Awards in Los Angeles, California, U.S., February 9, 2020.

สำหรับผู้ที่ติดตามออสการ์อย่างใกล้ชิดมานาน หลายคนมองว่าเขาไม่สนใจการประกาศรางวัลปีนี้

สำนักข่าว Associated Press หรือเอพี สัมภาษณ์จอห์น เบนนาร์โด วัย 52 ปีจากเมืองโบคา ราตัน รัฐฟลอริดา ซึ่งเป็นทั้งนักเขียนบทและมีบริษัทถ่ายทำงานวิดีโอโฆษณา เขากล่าวว่า จากที่เคยตื่นเต้นกับออสการ์มาก และเคยฝันที่จะขึ้นเวทีออสการ์สักครั้งในชีวิต ในปีนี้เขารู้สึกว่าความตื่นเต้นนั้นหายไป

ที่สำคัญ ในปีนี้เขาไม่ได้ดูภาพยนตที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงเเม้เเต่เรื่องเดียว

และการที่การถ่ายทอดปีนี้ถูกเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 25 เมษายนจากปกติที่อยู่ปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นมีนาคม ก็ถือเป็นความล่าช้าครั้งที่สามในประวัติศาสตร์ออสการ์

อีกประการหนึ่งที่ทำให้หลายคนรู้สึกไม่ตื่นเต้นกับออสการ์ปีนี้คือ การที่ ภาพยนตร์บางเรื่องถูกสตรีมผ่านเเพลตฟอร์มต่างๆ เป็นเรื่องที่คอหนังต้องออกเเรงเป็นพิเศษในการติดตามว่าภาพยนตร์จะถูกเสนอผ่านช่องทางใด เมื่อใด และสามารถดูแบบออนดีมานด์ได้หรือไม่

พริสซิลลา วิซินไทน์ วัย 62 ปีจากเมืองเซนต์หลุย รัฐมิสซูรี ที่เคยไปงานปาร์ตี้เพื่อร่วมดูการถ่ายทอดออสการ์กับเพื่อนๆ ทุกปีกล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาโรงหนังต้องหยุดฉายภาพยนตร์ และการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เธอหมดความสนใจต่อวงการหนัง

แต่ยังพบว่ายังมีคนอเมริกันที่ยังไม่หมดไฟ กับการรอชมออสการ์ปีนี้ หนึ่งในนั้นคือ เจนนิเฟอร์ ไรส์ แห่งเมืองน็อกซ์วิลล์ รัฐเทนเนสซี

สตรีวัย 50 ปีผู้นี้กล่าวว่า การดูหนังเเละการติดตามการถ่ายทอดรางวัลออสการ์ยังคงเป็นกิจกรรมที่สร้างความผูกพันระหว่างเธอเเละลูกชายวัย 22 ปีที่ชื่อจอร์เเดน

Thai singer Gam Wichayanee Pearklin and Gerard Butler at the Oscar's red carpet

หากพิจารณาถึง อดีตที่มีคนรอชมงานออสการ์จำนวนมาก เพราะชอบเเสงสีและความหรูหราฟู่ฟ่าแห่งวงการบังเทิง ซึ่งเคยช่วยพาให้ผู้ชมทางบ้าน ดื่มด่ำกับโลกมายา บรรยากาศในปีนี้ที่ตัวดาราเองต้องออกหน้าจอผ่านระบบวิดีโออนไลน์เช่นกัน ไม่ได้ช่วยให้คนดูหลุดออกจากชีวิตที่ไม่ง่ายของพวกเขาในยุคโควิดระบาด

ผู้เสพผลงานบันเทิงบางราย เช่น ปิเเอร์ ซุเบห์ จากเมืองออร์เเลนโด รัฐฟลอริดา วัย 22 ปีกล่าวว่า เขาเลิกดูออสการ์ตั้งแต่เมื่อสองปีก่อน เพราะเห็นว่ารายการยาวเกินไปเเละมีโฆษณาคั่นบ่อยครั้ง แถมมุขตลกบนเวที ก็ยังไม่ค่อยทันสมัยในสายตาเขา

ปิเเอร์ ซุเบห์ ซึ่งเป็นนักสร้างภาพยนตร์เลือดใหม่ไฟแรง ยังเป็นชาวมุสลิมเชื้อสายตะวันออกกลาง ซึ่งเขาเห็นว่า ออสการ์ยังขาดการสะท้อนเรื่องราวของวัฒนธรรมของเขาอย่างเพียงพออีกด้วย