ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สหรัฐฯ ปรับกฎใหม่สำหรับ “สัตว์ช่วยเหลือ” บนเครื่องบิน


FILE - A service dog strolls through the isle inside a United Airlines plane at Newark Liberty International Airport in Newark, N.J., April 1, 2017.
FILE - A service dog strolls through the isle inside a United Airlines plane at Newark Liberty International Airport in Newark, N.J., April 1, 2017.

กระทรวงคมนาคมสหรัฐฯ ปรับกฎเกณฑ์ใหม่รอบล่าสุด ในการนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องบิน แม้จะเจอกระแสต่อต้านจากคนรักสัตว์และผู้โดยสารเครื่องบินที่ต้องการสัตว์เพื่อเยียวยาจิตใจบนเครื่องบินจริงๆ ในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม

US Tightens Definition Service Animals Allowed Planes
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:18 0:00


กระทรวงคมนาคมสหรัฐฯ ออกกฏระเบียบฉบับใหม่เมื่อวันพุธ มุ่งเน้นประเด็นการนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องบินโดยสาร โดยระบุว่ามีเพียง “สุนัข” เท่านั้นที่เจ้าของสามารถนำขึ้นเครื่องบินไปด้วยได้ โดยตัดรายการสัตว์ประเภทอื่นที่เจ้าของนำขึ้นเครื่องไปด้วยในฐานะ "สัตว์เลี้ยงเยียวยาจิตใจ" (emotional support animals)

กฎระเบียบของสุนัขช่วยเหลือ

ภายใต้กฎเกณฑ์ใหม่ของกระทรวงคมนาคม ที่จะมีผลภายใน 30 วันต่อจากนี้ ระบุว่า “สัตว์ช่วยเหลือ” คือ สุนัขที่ได้รับการฝึกฝนเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายหรือจิตใจ

ทางสายการบินมีสิทธิ์ขอใบรับรองด้านสุขภาพ พฤติกรรม และประวัติการฝึกฝน ของสุนัขช่วยเหลือนี้ได้ และจะต้องให้ผู้โดยสารยื่นหนังสือรายงานทั้งหมดนี้ภายใน 48 ชั่วโมงก่อนขึ้นบิน แต่ผู้โดยสารยังสามารถเช็คอินสัตว์เลี้ยงของตนขึ้นเครื่องแบบออนไลน์ตามปกติได้

ระเบียบใหม่ของกระทรวงคมนาคมสหรัฐฯ ยังกำหนดให้สุนัขช่วยเหลือต้องถูกล่ามไว้ตลอดเวลา และสามารถนำสุนัขออกจากห้องโดยสารได้ทันทีหากพบการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวของสุนัขช่วยเหลือ จากเหตุการณ์ที่สัตว์เลี้ยงเยียวจิตใจไปกัดผู้โดยสารรายอื่น รวมทั้งมีรายงานว่าสัตว์เยียวยาจิตใจบางตัว ไปขู่หรือเห่าใส่สุนัขนำทางของคนตาบอดบนเครื่องอีกด้วย

แต่ทางกระทรวงคมนาคม ยืนยันในกฎเดิมที่ห้ามสายการบินจำกัดสายพันธุ์ของสุนัขช่วยเหลือ จากที่ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2018 สายการบินเดลต้า แอร์ไลน์ส สั่งห้ามนำสุนัขพันธุ์พิตบูลขึ้นเครื่องเป็นสุนัขช่วยเหลือหรือสัตว์เยียวยาจิตใจ ก่อนที่จะถูกคัดค้านและวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากนักเคลื่อนไหวเพื่อผู้พิการ

FILE - In this Sept. 20, 2017, file photo Oscar the cat, who is not a service animal, sits in his carry on travel bag after arriving at Phoenix Sky Harbor International Airport in Phoenix.
FILE - In this Sept. 20, 2017, file photo Oscar the cat, who is not a service animal, sits in his carry on travel bag after arriving at Phoenix Sky Harbor International Airport in Phoenix.

กฏใหม่ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างสายการบินและผู้โดยสาร

กฎเกณฑ์ล่าสุดของกระทรวงคมนาคมสหรัฐฯ มีขึ้นท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างสายการบินและผู้โดยสาร ที่บรรดาผู้โดยสารต่างนำสัตว์เลี้ยงแสนรักของตนขึ้นเครื่องไป โดยระบุว่าเป็น “สัตว์เลี้ยงเยียวยาจิตใจ” เพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่าย ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ผู้โดยสารจะต้องมีหนังสือรับรองจากแพทย์ว่าสัตว์เลี้ยงที่นำขึ้นเครื่องเข้าข่ายสัตว์เลี้ยงเยียวยาจิตใจของผู้โดยสาร

ทางสายการบินต่างแย้งว่า ผู้โดยสารพยายามใช้กฎระเบียบดังกล่าวในทางที่ผิด และนำสัตว์ชนิดต่างๆ ขึ้นเครื่องมาในฐานะ “สัตว์เลี้ยงเยียวยาจิตใจ” เช่น แมว เต่า หมูแคระ และนกยูง

กระทรวงคมนาคมสหรัฐฯ ระบุในวันพุธว่า การปรับกฎเกณฑ์การนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องบินใหม่นี้ มีขึ้นเพราะผู้โดยสารเริ่มนำสัตว์ชนิดแปลกๆ ขึ้นเครื่องมากขึ้น ถือเป็นการทำลายความเชื่อมั่นของผู้คนเกี่ยวกับมุมมองต่อสัตว์ช่วยเหลือบนเครื่องบิน

นอกจากนี้กระทรวงฯ ยังพบว่า มีผู้โดยสารจำนวนมากที่นำสัตว์เลี้ยงของตัวเองขึ้นเครื่อง และเจตนาแอบอ้างว่าเป็น “สัตว์ช่วยเหลือ” เพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายในการนำสัตว์เหล่านี้ขึ้นเครื่องบิน รวมทั้งยังมีรายงานพฤติกรรมไม่เหมาะสมระหว่างการโดยสารเครื่องบินของสัตว์เลี้ยงเยียวยาจิตใจ ตั้งแต่การถ่ายของเสียลงบนพรมเครื่องบิน ไปจนถึงไล่กัดผู้โดยสารรายอื่นบนเครื่องด้วย

ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมกราคม กระทรวงคมนาคมสหรัฐฯ ออกกฎระเบียบใหม่ในการนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องบิน โดยระบุว่าจากนี้ไป จะมีเพียงสุนัขที่ผ่านการฝึกมาแล้วเท่านั้นที่จะถูกจัดให้เป็น "สัตว์ช่วยเหลือ" (service animals) ซึ่งอนุญาตให้เจ้าของสามารถนำขึ้นเครื่องบินโดยสารในอเมริกาได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ขณะที่ "สัตว์เลี้ยงเยียวยาจิตใจ" ประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็น แมว กระต่าย เต่า หรือสัตว์อื่น ๆ จะสามารถนำขึ้นเครื่องบินได้ก็ต่อเมื่อเจ้าของสัตว์เหล่านั้นยอมจ่ายค่าธรรมเนียมราคาแพงเท่านั้น

ปรากฎว่าหลังมีกฎเกณฑ์ดังกล่าวออกมา ทางกระทรวงฯ ได้รับคำร้องเรียนมากกว่า 15,000 ครั้ง โดย 3,000 คำร้องเรียนในนั้น เห็นด้วยที่ให้ยุติการยกเว้นสัตว์เลี้ยงเยียวยาจิตใจ ส่วนคำร้องอีก 6,000 ครั้ง กลับสนับสนุนให้มีการยกเว้นค่าธรรมเนียมกับสัตว์เลี้ยงเยียวยาจิตใจบนเครื่องบิน ซึ่งรวมถึง ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และโรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง (PTSD)

ข้อถกเถียงเรื่องค่าธรรมเนียมนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่อง

ทางองค์กร Paralyzed Veterans of America ระบุว่า สัตว์ต่างๆ อย่าง สุนัข แมว หรือกระต่าย ที่อาจได้รับการฝึกฝนหรือไม่ก็ตาม อาจให้ความช่วยเหลือผู้โดยสารบางคนได้ และว่าค่าธรรมเนียมการนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องที่ 175 ดอลลาร์ หรือราว 5,300 บาทต่อเที่ยวบินนั้น ถือว่าสูงมากสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย

แต่ภายใต้กฎระเบียบใหม่ที่ออกมาล่าสุดนี้ บังคับให้ผู้โดยสารที่นำสัตว์เลี้ยงเยียวยาจิตใจขึ้นเครื่อง ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่อง และนำสัตว์เลี้ยงไปไว้ที่ห้องบรรทุกสัมภาระใต้ท้องเครื่องบิน หรือไม่ให้นำสัตว์เลี้ยงดังกล่าวมาด้วย ซึ่งภายใต้มาตรการเก็บค่าธรรมเนียมที่ออกมานี้ จะทำให้สายการบินต่างๆ มีรายได้จากการนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องเพิ่มขึ้นถึง 59.6 ล้านดอลลาร์ต่อปีทีเดียว

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ จำนวนผู้โดยสารที่นำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องไปด้วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสารการบินเดลต้า แอร์ไลน์ส ระบุว่าเมื่อปีที่แล้ว ผู้โดยสารนำสัตว์เลี้ยงราว 600,000 ตัวขึ้นเครื่อง เพิ่มขึ้นจากปี 2017 ที่ผู้โดยสารนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องไปด้วยราว 250,000 ตัว และนำไปสู่การเติบโตของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการนำสัตว์ขึ้นเครื่องตามมามากมาย อาทิ ธุรกิจผลิตเสื้อกั๊กสำหรับสัตว์ช่วยเหลือและสัตว์เลี้ยงเยียวยาจิตใจ และธุรกิจรับทำเอกสารการแพทย์เพื่อการนี้

หน่วยงาน Airlines for America มองว่ากฎใหม่นี้จะช่วยปกป้องผู้โดยสารและพนักงานบนเครื่องบิน พร้อมๆ กับช่วยเหลือผู้โดยสารที่เดินทางมากับสุนัขช่วยเหลือได้อย่างเต็มที่มากขึ้น

XS
SM
MD
LG