ทีมนักวิจัยพัฒนาวิธีใหม่ช่วยเตือนได้ว่าจะเกิดการระบาดของโรคใหม่ๆ ที่ใดบ้าง

  • Joe Capua
Se trata de un coronavirus, un patógeno caracterizado por causar el catarro común.

Se trata de un coronavirus, un patógeno caracterizado por causar el catarro común.

ทีมนักวิจัยชาวอังกฤษชี้ด้วยว่า "ภาวะโลกร้อน" จะทำให้เกิดโรคระบาดใหม่ๆ มากขึ้น

Your browser doesn’t support HTML5

Climate Disease

การวิจัยนี้เน้นศึกษาเกี่ยวกับการเจ็บป่วยจากโรคที่กำเนิดในสัตว์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปศุสัตว์ สัตว์ป่าและเเม้เเต่ในเเมลงต่างๆ

ผู้เชี่ยวชาญประมาณว่าราว 60 เปอร์เซ็นต์ของโรคระบาดชนิดใหม่ๆ เป็นโรคที่มีสัตว์เป็นแหล่งกำเนิดโรค หรือ zoonotic เช่น โรคอีโบล่า เอชไอวี และซิก้า

แต่ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ทีมนักวิจัยเน้นศึกษาโรคไข้ลัสสา (Lassa fever) เป็นหลัก โรคชนิดนี้ทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการเลือดออกทั้งภายในและภายนอกร่างกายอย่างกระทันหัน เป็นโรคที่มีอยู่ในหนูที่ส่งต่อโรคมาสู่คน

ด็อกเตอร์ David Redding ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย University College London ซึ่งเป็นผู้ร่างผลการศึกษา กล่าวถึงการวิจัยนี้ว่า เป้าหมายของการศึกษานี้มุ่งค้นคว้าเกี่ยวกับชนิดของสัตว์ที่เป็นแหล่งต้นกำเนิดของโรค แหล่งที่อาศัยของสัตว์เหล่านี้ ตลอดจนบทบาทของภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงด้านการใช้ที่ดินต่อการแพร่ระบาดของโรคใหม่ๆ

เขากล่าวว่ากลุ่มของโรคติดต่อที่มีสัตว์เป็นตัวนำโรคเเบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ

กลุ่มแรกคือ โรคติดต่อจากหนู จากลิง หรือจากค้างคาว คนเราสามารถติดเชื้อโรคเหล่านี้ได้จากการสัมผัสสัตว์เหล่านี้โดยตรง

กลุ่มที่สองคือ โรคที่มีเเมลงเป็นพาหะนำโรค ซึ่งเป็นเเมลงที่ดูดเลือดเป็นอาหารชนิดต่างๆ เป็นตัวนำเชื้อไวรัสหรือเชื้อเเบคทีเรียไปแพร่สู่สัตว์หรือไปสู่คนหรือนำโรคจากคนไปเเพร่สู่คน

ด็อกเตอร์ David Redding กล่าวว่ามีโรคที่กำเนิดจากสัตว์มากมายในเขตร้อนหลายๆ ส่วน ที่คนอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน แม้เเต่โรคไข้ลัสสาก็แยกออกเป็นหลายประเภท อาทิ โรคไข้ไวรัส Mopeia และโรคไวรัส Lujo โรคเหล่านี้เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ ที่ยังไม่รู้จักกันดีนัก และมีคนติดเชื้อโรคเหล่านี้เพียงไม่กี่คนเท่านั้น ส่วนอีโบล่าเป็นโรคติดต่อที่ทุกคนรู้จักกันดี

แม้ว่าการศึกษาแบบ Computer models เพื่อศึกษาโรคติดต่อในคนไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ด็อกเตอร์ Redding กล่าวว่า การศึกษาด้วยวิธีนี้ยังมีความพยายามน้อยมากในการหาทางศึกษาสัตว์ที่เป็นแหล่งกำเนิดโรค เพื่อให้เข้าใจว่าทำไมจึงพบโรคในบางพื้นที่เท่านั้น และนำข้อมูลไปโยงเข้ากับข้อมูลศึกษาเกี่ยวกับโรคที่เกิดในคน

เขากล่าวว่า ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีการนำข้อมูลทั้งสองอย่างนี้มาประมวลเข้าด้วยกันเพื่อหาความเกี่ยวข้อง

นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัย University College London อธิบายว่า ในประเทศในแถบทางใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า โดยเฉพาะในไนจีเรียและกาน่า การศึกษารูปแบบทางการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศในบริเวณนี้ชี้ว่า อากาศจะอุ่นขึ้นและฝนตกมากขึ้น

ในสภาพภูมิอากาศแบบนี้ สัตว์ที่ชอบสภาพอากาศที่ร้อนและเปียก จะออกลูกออกหลานมากขึ้น มีเเหล่งอาหารมากขึ้น แพร่จำนวนเข้าไปอาศัยและขยายพันธุ์ในพื้นที่อื่นๆ ที่ก่อนหน้านี้มันไม่สามารถอยู่รอดได้

ทีมนักวิจัยชี้ว่า สามารถปรับวิธีศึกษาถึงการเเพร่ระบาดของโรคที่มีเเหล่งกำเนิดในสัตว์ให้เจาะจงมากขึ้น ด้วยการระบุข้อมูลความยากง่ายในการเดินทางของผู้คนเข้าออกในพื้นที่ระบาด ความบ่อยของการพบปะกับคนอื่นตลอดจนระดับความยากจนของพวกเขา

ทีมนักวิจัยนี้ชี้ว่าวิธีการศึกษาเเบบนี้น่าจะเป็นประโยชน์อย่างมาก หากในอดีตที่ผ่านมา ได้นำไปใช้ในการศึกษาการเเพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบล่าในแอฟริกาตะวันตกกับการระบาดของโรคซิกก้า

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)