จีนส่งยาน 'เสินโจว-16' พร้อม 3 นักบินมุ่งสถานีอวกาศเทียนกง

  • AFP

A Long March-2F carrier rocket, carrying the Shenzhou-16 spacecraft and three astronauts, takes off from the launching area of Jiuquan Satellite Launch Center for Tiangong space station, near Jiuquan, Gansu province, China May 30, 2023. China Daily via REUTERS

จีนส่งยาน 'เสินโจว-16' พร้อมนักบินอวกาศสามคน ขึ้นไปอวกาศในวันอังคาร เพื่อมุ่งหน้าไปยังสถานีอวกาศเทียนกงในวงโคจรรอบโลก ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่นำนักวิทยาศาสตร์พลเรือนเดินทางไปในอวกาศด้วย

รัฐบาลจีนลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ในโครงการด้านอวกาศ โดยมีเป้าหมายส่งมนุษย์ขึ้นไปดวงจันทร์ก่อนปี 2030 และแข่งขันกับสหรัฐฯ และรัสเซีย

จรวดลองมาร์ช 2เอฟ (Long March 2F) บรรทุกยานเสินโจว-19 (Shenzhou-16) เดินทางออกจากศูนย์ปล่อยดาวเทียม จิวกวน (Jiuquan Satellite Launch Center) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ในช่วงเช้าวันอังคารตามเวลาท้องถิ่น

นักบินอวกาศสามคนที่เดินทางไปกับยานเสินโจว-16 คือ ผู้บัญชาการ จิง ไห่เผิง, วิศวกร จู หยางจู และนักวิทยาศาสตร์ ศาสตราจารย์ กุย ไห่เฉา ซึ่งเป็นพลเรือนจีนคนแรกที่ได้เดินทางขึ้นไปในอวกาศ

Visitors sit beside a model of Chinese-made Tiangong 1 space station at the 8th China International Aviation and Aerospace Exhibition, known as Airshow China 2010, in Zhuhai city, south China, Guangdong province, Nov. 16, 2010.

ยานเสินโจว-16 จะเข้าเทียบที่สถานีอวกาศเทียนกงเพื่อส่งนักบินอวกาศทั้งสามคนไปประจำที่นั่นในช่วงหกเดือนข้างหน้า และรับนักบินชุดที่แล้วจำนวนสามคนกลับมายังโลกหลังจากประจำการที่เทียนกงมาหกเดือนเช่นกัน

โฆษกโครงการด้านอวกาศจีน หลิน ซีเจียง กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ภารกิจนี้จะรวมถึงการทดสอบครั้งใหญ่ในวงโคจรโลก เพื่อศึกษาปรากฎการณ์ควอนตัม พิสูจน์สัมพันธภาพทั่วไป และตรวจสอบแหล่งที่มาของสิ่งมีชีวิตบนโลก

โฆษกผู้นี้ยังกล่าวถึงแผนการตั้งฐานของจีนบนดวงจันทร์ และการส่งมนุษย์ไปบนดวงจันทร์ภายในปี 2030

โครงการอวกาศของจีนก้าวกระโดดไปไกลในช่วงไม่กี่ปีมานี้ โดยจีนได้ส่งสถานีอวกาศเทียนกง (Tiangong) เข้าสู่วงโคจรรอบโลก รวมทั้งส่งยานสำรวจลงบนดาวอังคารและดวงจันทร์ ถือเป็นประเทศที่สามต่อจากสหรัฐฯ และรัสเซียที่สามารถส่งมนุษย์ไปในอวกาศได้สำเร็จ

  • ที่มา: เอเอฟพี