ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ความร่วมมือด้านอวกาศจีน – รัสเซีย ท้าทายชาติตะวันตก


FILE - In this Nov. 24, 2020, photo, a Long March-5 rocket carrying the Chang'e 5 lunar mission lifts off at the Wenchang Space Launch Center in Wenchang in southern China's Hainan Province.
FILE - In this Nov. 24, 2020, photo, a Long March-5 rocket carrying the Chang'e 5 lunar mission lifts off at the Wenchang Space Launch Center in Wenchang in southern China's Hainan Province.

จีนและรัสเซียเริ่มร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อแข่งกับระบบจีพีเอสของสหรัฐฯ และระบบดาวเทียมกาลิเลโอของยุโรป ขณะที่ทั้งสองประเทศกระชับความสัมพันธ์ด้านการทหารและด้านยุทธศาสตร์มากขึ้น

ก่อนหน้านี้ จีนตกลงให้รัสเซียจัดตั้งสถานีของระบบบอกพิกัด GLONASS บนแผ่นดินจีน ซึ่งทำให้ระบบดังกล่าวครอบคลุมและแม่นยำมากขึ้น แต่ก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยงด้านความมั่นคงได้เช่นกัน โดยรัสเซียตอบแทนด้วยการอนุญาตให้จีนจัดตั้งสถานีระบบเป่ยโต่วบนแผ่นดินของรัสเซียเช่นกัน

อเล็กซานเดอร์ กาเบิฟ นักวิจัยอาวุโสและประธานของโครงการรัสเซียในเอเชียแปซิฟิก ของศูนย์ Carnegie Moscow Center ระบุว่า ข้อตกลงต่างตอบแทนดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า จีนและรัสเซียมีความเชื่อมั่นและความร่วมมือกันมากขึ้น

กาเบิฟกล่าวกับวีโอเอว่า ความแตกแยกของรัสเซียกับชาติตะวันตก และการเผชิญหน้าและการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นระหว่างจีนและสหรัฐฯ นั้น ส่งผลต่อการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและจีน ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างมีทรัพยากรที่ช่วยเหลือกันได้ โดยรัสเซียมีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก ขณะที่จีนมีทุนและเทคโนโลยีที่พัฒนาทรัพยากรเหล่านั้นได้

นักวิจัยอาวุโสผู้นี้ยังกล่าวด้วยว่า ทั้งจีนและรัสเซียต่างเป็นประเทศอำนาจนิยม ประเด็นการเมืองในประเทศ เช่น ประเด็นการวางยาพิษนายอเล็กเซ นาวาลนี ผู้นำฝ่ายค้านของรัสเซีย ประเด็นฮ่องกง หรือประเด็นสิทธิมนุษยชนในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ จึงไม่ส่งผลต่อความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศ

อย่างไรก็ตาม กาเบิฟกล่าวว่า ความร่วมมือด้านระบบนำทางด้วยดาวเทียมนี้ยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งจึงจะเห็นผลลัพธ์ เนื่องจากรัสเซียยังใช้ทั้งระบบ GLONASS และระบบบจีพีเอส โดยังไม่มีโครงการใหญ่ที่เชื่อมโยงกับระบบเป่ยโต่วของจีน

ทั้งนี้ ดาวเทียมเป็นหนึ่งในยุทโธปกรณ์ที่มีความสำคัญทางอำนาจการทหารในศตวรรษที่ 21 เมื่อเดือนที่แล้ว รัสเซียทดสอบขีปนาวุธกับหนึ่งในดาวเทียมของตน โดยสหรัฐฯ ระบุว่า เศษซากจากการทดสอบครั้งนี้เป็นภัยต่อนักบินอวกาศในสถานีอวกาศนานาชาติ และการทดสอบนี้ยังสั่นคลอนความมั่นคงด้านยุทธศาสตร์ของประชาคมนานาชาติด้วย

This handout video grab released, Nov. 29, 2021, shows the launch of a new Zircon hypersonic cruise missile from the the Admiral Gorshkov warship at a target in the Barents Sea.
This handout video grab released, Nov. 29, 2021, shows the launch of a new Zircon hypersonic cruise missile from the the Admiral Gorshkov warship at a target in the Barents Sea.

รัสเซีย จีน สหรัฐฯ และอีกหลายประเทศ กำลังพัฒนาขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงที่เดินทางเร็วกว่าเสียงห้าเท่าในบรรยากาศชั้นบน

เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ระบุว่า สหรัฐฯ เพิกเฉยและไม่ยอมเข้าร่วมสนธิสัญญาทางอวกาศร่วมระหว่างรัสเซียและจีน ที่รัสเซียระบุว่า เป็ข้อตกลงเพื่อป้องกันการแข่งขันสะสมอาวุธทางอวกาศ

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซีของสหรัฐฯ ว่า รัสเซียมีความสัมพันธ์กับจีนที่ลึกซึ้งขึ้นในด้านต่างๆ รวมทั้งด้านการสำรวจอวกาศด้วย

อย่างไรก็ตาม กาเบิฟ นักวิจัยอาวุโสด้านรัสเซีย กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างรัสเซียและจีนก็มีข้อจำกัด เนื่องจากทั้งสองประเทศต่างมีลัทธิชาตินิยมอยางเหนียวแน่น โดยความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่ทั้งสองประเทศสนับสนุนกันได้นั้น เช่น โครงการอวกาศ ก็ยังมีความไม่ไว้วางใจและการแข่งขันอยู่ในระดับหนึ่ง และเขาเห็นว่า การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการทหารของทั้งสองประเทศจะเป็นในลักษณะคู่ขนานกัน และจะไม่ใช่การพัฒนาร่วมกัน

กาเบิฟยังระบุด้วยว่า รัสเซียร่วมมือใกล้ชิดกับอินเดียมากกว่าจีน รวมถึงการพัฒนาระบบขีปนาวุธร่อน BrahMos มาตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1990

นักวิจัยผู้นี้ระบุว่า รัสเซียรู้สึกปลอดภัยในการพัฒนาขีปนาวุธดังกล่าวร่วมกับอินเดีย ความร่วมมือด้านการทหารระหว่างจีนและรัสเซีนที่แน่นแฟ้นขึ้นจึงเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของชาติตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความร่วมมือนี้ช่วยให้กองทัพปลดปล่อยประชาชนของจีนมีอำนาจในระดับโลกในศตวรรษที่ 21 อย่างไรก็ตาม กลับไม่เห็นความร่วมมือในระดับนี้ระหว่างสหรัฐฯ ชาติพันธมิตร

นอกจากนี้ จีนยังซื้อระบบขีปนาวุธป้องกัน S-400 ของรัสเซีย เพื่อพยายามรับมือกับอำนาจทหารของจีน แต่การสั่งซื้อาวุธนี้อาจทำให้สหรัฐฯ ซึ่งเป็นชาติพันธมิตรของอินเดียเช่นกัน ไม่พอใจ และยังสะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อนของความสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ในเวทีโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป

XS
SM
MD
LG