การปฏิบัติต่อผู้แจ้งเตือนภัยด้านสาธารณสุขของจีน กับคำถามเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน

People wearing masks, attend a vigil for Chinese doctor Li Wenliang, in Hong Kong, Friday, Feb. 7, 2020. The death of a young doctor who was reprimanded for warning about China's new virus triggered an outpouring Friday of praise for him and fury…

Your browser doesn’t support HTML5

China Human Right

ตั้งแต่เดือนเมษายนปีที่แล้ว ทางการจีนได้จำกัดบริเวณและตัดการสื่อสารกับโลกภายนอกของนายแพทย์เจียง ยานยอง แพทย์ทหารผู้หนึ่งของจีนผู้เปิดโปงเรื่องความพยายามปกปิดข่าวการระบาดของโรคซาร์เมื่อ 17 ปีก่อน

โดยการควบคุมตัวที่ว่านี้มีขึ้นหลังจากที่นายแพทย์เจียง ยานยอง ขอให้ผู้นำจีนประเมินเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเมื่อปี 2532

โชคชะตาของแพทย์จีนทั้งสองคน รวมทั้งจักษุแพทย์ หลี่ เหวินเหลียง ที่ต้องเสียชีวิตลงหลังจากที่พยายามเตือนเกี่ยวกับเหตุการณ์ซึ่งทางการจีนถือว่าเป็นความลับให้โลกรู้นั้น ดูจะเป็นเครื่องเตือนใจว่า ถึงแม้จีนจะมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก แต่ประชาชนของจีนก็ยังถูกจำกัดสิทธิพื้นฐานเรื่องการรับรู้ข้อมูล

และเมื่อใดก็ตามที่มีผู้พยายามนำเรื่องราวในแง่ลบออกเปิดเผยต่อโลกภายนอก บุคคลเหล่านี้ก็จะถูกลงโทษ

Your browser doesn’t support HTML5

ชาวฮ่องกง-จีน ร่วมอาลัย ‘หลี่ เหวินเหลียง’ หมอผู้เตือนภัย 'โคโรนาไวรัส'

นาย Kenneth Chan นักรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Baptist ในฮ่องกง ตั้งข้อสังเกตว่า ในสังคมจีนนั้นผู้คนมักได้รับการสนับสนุนให้ปกปิดเรื่องราวและโกหก แต่จะถูกลงโทษเมื่อพูดความจริง

ส่วนคุณ Johnny Lau อดีตนักข่าวของ นสพ. Wen Wei Po ในฮ่องกง ก็ชี้ว่า รัฐบาลจีนมักจะมีการปฏิบัติในทางแก้แค้นเมื่อมีผู้พยายามเปิดโปงเรื่องราวต่าง ๆ และเรื่องนี้ก็สะท้อนถึงรูปแบบและลักษณะการปกครองแบบศักดินาของจีนด้วย

โดยเขาอธิบายว่า ผู้ปกครองเผด็จการนั้นมักจะกังวลว่าเสรีภาพของการแสดงออกจะบั่นทอนอำนาจการปกครองของตน

นับตั้งแต่ที่ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เข้ารับตำแหน่งเมื่อปลายปี 2555 เอกสารภายในของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ระบุถึงภัยอันตรายเจ็ดอย่างต่อสังคมจีน ได้แก่ แนวความคิดเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพแบบโลกตะวันตก เสรีภาพของสื่อมวลชน ค่านิยมสากลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง รวมทั้งการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม เป็นต้น

โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้มีการเตือนเสมอว่า ผู้ทำกิจกรรมเรียกร้องประชาธิปไตยจะถูกลงโทษหากแสดงทัศนะซึ่งแตกต่างไปจากของผู้นำ

A medical worker in protective suit moves a novel coronavirus patient in a wheelchair at a hospital in Wuhan, Hubei province, China February 10, 2020. Picture taken February 10, 2020. China Daily via REUTERS ATTENTION EDITORS - THIS IMAGE WAS…

อย่างไรก็ตาม คุณ Doriane Lau นักวิจัยขององค์กรนิรโทษกรรมสากล ได้เตือนว่า ชุมชนระหว่างประเทศควรจะตระหนักว่าการจำกัดข่าวสารข้อมูลและการขาดเสรีภาพของการแสดงออกในสังคมหนึ่งสังคมใด อย่างเช่นในประเทศจีนนั้น อาจส่งผลเสียหายร้ายแรงไม่เฉพาะต่อประเทศเดียว เพราะเรื่องนี้จะมีผลกระทบไปถึงประชาคมโลกได้

และเกี่ยวกับเรื่องนี้ อาจารย์ Kenneth Chan นักรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Baptist ในฮ่องกง ก็เตือนเช่นกันว่า แม้ผู้นำจีนจะประกาศสงครามต่อเชื้อโคโรนาไวรัสโดยระบุว่าเรื่องนี้เป็นวิกฤตระดับชาติแล้วก็ตาม

แต่ลักษณะของการตอบโต้รับมือกับปัญหาต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มแรก รวมทั้งการจำกัดข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้องแท้จริงนั้น จะเป็นโอกาสให้มีวิกฤตในเรื่องอื่นเกิดขึ้นตามมาได้อย่างแน่นอน