จีนวิจารณ์หนักอนามัยโลก กรณีค้นหาแหล่งกำเนิดโควิด

Virus Outbreak COVID

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจีนออกมาปกป้องภารกิจค้นหาแหล่งที่มาของไวรัสที่เป็นสาเหตุของโควิด-19 พร้อมวิจารณ์องค์การอนามัยโลก หรือ WHO (World Health Organization) ที่กล่าวว่ารัฐบาลจีนควรแชร์ข้อมูลด้านพันธกรรมของเชื้อไวรัสเร็วกว่านี้

เฉิน หงปิง ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของจีน กล่าวเมื่อวันเสาร์ว่า ความเห็นของ WHO นั้น "สร้างความขุ่นเคืองและไม่ให้ความเคารพ" พร้อมกล่าวหาว่า "WHO พยายามโจมตีจีน" และควรหลีกเลี่ยงการช่วยประเทศอื่นทำให้โควิด-19 กลายเป็นเครื่องมือทางการเมือง

FILE - Director-General of the World Health Organisation (WHO) Tedros Adhanom Ghebreyesus during the 72nd session of the WHO Regional Committee for Europe on Sept. 12, 2022, in Tel Aviv, Israel.

เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก กล่าวเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ว่าข้อมูลด้านพันธุกรรมเชื้อไวรัสที่รวบรวมได้ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน และเพิ่งได้รับการเปิดเผยนั้น "ควรมีการแชร์กันตั้งแต่สามปีก่อน"

แต่ เฉิน หงปิง แถลงเมื่อวันเสาร์ว่า "ในฐานะประเทศที่มีความรับผิดชอบและในฐานะนักวิทยาศาสตร์ พวกเราแบ่งปันข้อมูลวิจัยกับชุมชนนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกมาโดยตลอด" รวมทั้งข้อมูลการสืบสวนของนักวิทยาศาสตร์เรื่องที่เชื้อไวรัสอาจรั่วไหลออกมาจากห้องทดลองด้วย

เฉิน กล่าวด้วยว่า แม้ยังไม่สามารถระบุถึงแหล่งที่มาของโควิด-19 ได้ แต่ในอดีต การระบุแหล่งที่มาของโรคเอดส์ก็ต้องใช้เวลาหลายปี และขณะนี้ก็ยังไม่สามารถฟันธงได้อย่างชัดเจนเช่นกัน

นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากเชื่อว่า เชื้อไวรัสอาจถ่ายทอดจากสัตว์สู่มนุษย์ เริ่มจากตลาดค้าอาหารทะเลในเมืองอู่ฮั่น อย่างไรก็ตาม เมืองนี้ก็เป็นที่ตั้งของห้องทดลองหลายแห่ง รวมทั้งห้องทดลองระดับชั้นนำด้านเชื้อไวัสของจีนด้วย จึงมีบางส่วนที่เชื่อว่าโควิด-19 อาจเล็ดลอดออกมาจากห้องทดลองดังกล่าวได้

ขณะที่เจ้าหน้าที่จีนบางคนได้เน้นย้ำถึงทฤษฎีสมคบคิดที่ว่า สหรัฐฯ เป็นผู้สร้างเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโควิด-19 ขึ้นมา แล้วลักลอบนำเข้าไปในประเทศจีน แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานรองรับคำกล่าวหาที่ว่านี้

Shen Hongbing, director of the Chinese Center for Disease Control and Prevention, (L) and Tong Yigang, dean of the College of Life Science and Technology in Beijing, April 8, 2023.

ทั้งนี้ ข้อมูลด้านพันธุกรรมที่ ผอ.ของ WHO พูดถึง เป็นข้อมูลการเก็บรวบรวมจากตลาดเมืองอู่ฮั่นเมื่อปี 2020 แต่เพิ่งถูกอัพโหลดเข้าไปในฐานข้อมูลระหว่างประเทศเมื่อเร็ว ๆ นี้

ข้อมูลตัวอย่างดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ดีเอ็นเอของเชื้อไวรัสโควิด-19 มีส่วนที่สอดคล้องกับดีเอ็นเอของจิ้งจอกแรคคูน หรือ แรคคูนด็อก ที่พบในหลายประเทศในเอเชีย ซึ่งยิ่งเป็นการเพิ่มหลักฐานรองรับสมมติฐานที่ว่า โควิด-19 อาจมาจากสัตว์ ไม่ใช่จากห้องทดลอง อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์บางคนตั้งคำถามว่า เชื้อไวรัสนั้นอาจแพร่จากมนุษย์ไปยังจิ้งจอกแรคคูนได้เช่นกัน

ต่อมาข้อมูลนี้ถูกเจ้าหน้าที่จีนลบออกไปจากฐานข้อมูล หลังจากที่มีนักวิทยาศาสตร์ต่างชาติตั้งคำถามต่อหน่วยงานซีดีซีของจีนเกี่ยวกับเรื่องนี้

  • ที่มา: เอพี