จับตาข้อตกลงการค้าเสรี 'สหรัฐฯ -อังกฤษ' กับประเด็น 'แข็งและอ่อน' ที่พรมแดนไอร์แลนด์

A poster against a hard border stands on the border between Northern Ireland and the Republic of Ireland near the town of Derrylin, Northern Ireland, Dec. 12, 2018.

Your browser doesn’t support HTML5

US UK Brexit Freetrade

ระหว่างการเยือนกรุงลอนดอนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นาย John Bolton ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐ กล่าวว่า รัฐบาลสหรัฐจะให้ความสำคัญกับอังกฤษเป็นลำดับแรกในการทำข้อตกลงการค้าเสรี หลังจากที่อังกฤษพ้นจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปแล้ว

และเมื่อต้นเดือนนี้ นาย Mike Pompeo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ก็กล่าวกับรัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษผู้ไปเยือนกรุงวอชิงตันว่า รัฐบาลสหรัฐมีความพร้อมโดยถือปากกาอยู่ในมือที่จะลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีกับอังกฤษหลังจาก Brexit โดยทันทีเช่นกัน

แต่ผู้นำพรรคเดโมแครตในรัฐสภาไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ พร้อมเตือนว่าสภาล่างซึ่งพรรคเดโมแครตคุมเสียงข้างมากอยู่จะไม่พิจารณาข้อตกลงการค้าเสรีใดๆ กับอังกฤษ หากรัฐบาลอังกฤษกลับไปใช้มาตรการคุมเข้มตามแนวพรมแดนระหว่างไอร์แลนด์เหนือซึ่งอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษในขณะนี้ กับประเทศไอร์แลนด์ซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปอีกครั้งหนึ่ง

โดยมาตรการคุมเข้มตามแนวพรมแดนที่มีความยาวเกือบ 500 กิโลเมตรระหว่างไอร์แลนด์เหนือกับประเทศไอร์แลนด์ดังกล่าว เรียกกันว่า Hard Border

FILE - Activists with the group 'Borders Against Brexit' protest in the border town of Dundalk, Ireland, June 28, 2018.

​ในช่วงที่นายกรัฐมนตรี Teresa May เป็นผู้นำรัฐบาลนั้น อังกฤษได้เจรจาข้อตกลง Brexit กับสหภาพยุโรป โดยส่วนหนึ่งของข้อตกลงดังกล่าวมุ่งจะหลีกเลี่ยงการใช้มาตรการคุมเข้ม Hard Border ระหว่างไอร์แลนด์เหนือกับประเทศไอร์แลนด์ในช่วงหลังจากที่อังกฤษแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปแล้ว แต่ยังคงร่วมอยู่ในข้อตกลงสหภาพศุลกากรจนกว่าจะมีข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างอังกฤษกับสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ

อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขข้อตกลงที่ว่านี้ถูกปฏิเสธโดยสภาผู้แทนราษฎรอังกฤษถึงสามครั้งด้วยกัน และอังกฤษภายใต้ผู้นำคนใหม่ คือนายกรัฐมนตรี Boris Johnson ก็ได้ประกาศว่า อังกฤษพร้อมจะแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปในวันที่ 31 ตุลาคม ไม่ว่าจะมีข้อตกลงใดๆ หรือไม่ก็ตาม

ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์และแนวพรมแดนระหว่างไอร์แลนด์เหนือซึ่งอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษ กับประเทศไอร์แลนด์ซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปอยู่นั้น นับเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนทั้งในด้านการเมือง การทูต และความมั่นคง

Britain Ireland Brexit

โดยสหรัฐเองก็มีบทบาทเป็นอย่างสูงเมื่อราว 20 ปีที่แล้ว ในการช่วยเป็นคนกลางทำให้มีข้อตกลงสันติภาพที่เรียกกันว่า Good Friday Agreement เพื่อหย่าศึกและทำให้เกิดสันติภาพระหว่างกลุ่มคนที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก กับผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ในไอร์แลนด์เหนือ หลังจากที่ความขัดแย้งซึ่งดำเนินมานานหลายสิบปีทำให้มีทั้งพลเรือนของไอร์แลนด์เหนือและเจ้าหน้าที่ความมั่นคงของอังกฤษต้องเสียชีวิตในไอร์แลนด์เหนือถึงกว่า 3,000 คน

โดยตามข้อตกลงที่ว่านี้ รัฐบาลกรุงลอนดอนได้ยอมยกเลิกการตรวจค้นและการสร้างสิ่งกีดขวางตามแนวพรมแดนระหว่างไอร์แลนด์เหนือกับประเทศไอร์แลนด์ เป็นผลให้ผู้คนในทั้งสองพื้นที่สามารถเดินทางข้ามพรมแดนไปมาได้อย่างสะดวกหรือที่เรียกกันว่า Soft Border

Britain's Prime Minister Boris Johnson, accompanied by local farmer Ingrid Shervington, holds a chicken during his visit to rally support for his farming plans post-Brexit, in Wales, July 30, 2019.

อย่างไรก็ตาม ท่าทีของรัฐบาลสหรัฐที่มีต่อรัฐบาลกรุงลอนดอนซึ่งต้องการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปโดยไม่พิจารณาประเด็นเรื่อง Soft Border หรือที่เรียกว่ามาตรการ Backstop ดังกล่าว ทำให้เมื่อวันจันทร์วุฒิสมาชิก Charles Schumer ผู้นำพรรคเดโมแครตในวุฒิสภา ออกมากล่าวเตือนฝ่ายบริหารของสหรัฐว่า ไม่ควรให้สัญญาอย่างเกินเลยขอบเขต และโดยไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีกับอังกฤษหลังช่วง Brexit เพราะข้อตกลงการค้าเสรีที่สหรัฐทำกับประเทศใดนั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองสภาของสหรัฐ

ส่วนส.ส.Nancy Pelosi ผู้นำพรรคเดโมแครตอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ก็ได้ออกคำแถลงเช่นกันว่า ถ้าเงื่อนไขของ Brexit ที่รัฐบาลอังกฤษทำกับสหภาพยุโรปบั่นทอนหรือละเมิดข้อตกลง Good Friday ที่รัฐบาลอังกฤษได้ทำไว้กับไอร์แลนด์เหนือแล้ว ข้อตกลงการค้าเสรีที่รัฐบาลสหรัฐจะเจรจากับรัฐบาลกรุงลอนดอนก็จะไม่มีโอกาสผ่านการพิจารณาของสภา Congress เช่นกัน