มาเลเซีย อินโดนีเซียและไทยได้ข้อสรุปเบื้องต้นที่จะคลี่คลายประเด็นผู้อพยพที่เร่งด่วนและซับซ้อน

An Acehnese fishing boat full of rescued migrants approaches to dock in Simpang Tiga, Aceh province, Indonesia, Wednesday, May 20, 2015. Hundreds of migrants stranded at sea for months were rescued and taken to Indonesia, officials said Wednesday, the lat

มาเลเซียและอินโดนีเซียรับปากจะเปิดศูนย์พักพิงชั่วคราวสำหรับผู้อพยพในเบื้องต้นขณะที่ไทยจะให้ความช่วยเหลือให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาบนฝั่งไทยได้แต่ยังไม่มีท่าทีชัดเจนในเรื่องศูนย์พักพิง

Your browser doesn’t support HTML5

ผู้อพยพ Rohingya

Indonesia Rohingya Boat People

หลังจากที่หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พยายามหาทางออกให้กับปัญหาผู้อพยพชาวโรงฮิงจะและชาวบังคลาเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซียและไทยกำหนดบทบาทในการคลี่คลายประเด็นเร่งด่วน ซับซ้อนและอ่อนไหวนี้ได้ในระดับหนึ่ง

เจ้าหน้าที่ทั้งสามประเทศได้เจรจากัน และมีการแถลงข่าวโดยรัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซียกล่าวว่า มาเลเซียและอินโดเซียจะให้ที่พักพิงชั่วคราวแก่ผู้อพยพมาทางเรือเหล่านี้นับพันคน ขณะที่ไทยจะร่วมมือในเรื่องความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอื่นๆ

รัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซีย อานิฟาห์ อะมาน กล่าวว่า ภายใต้ความตกลงของ 3 ประเทศ มาเลเซียและอินโดนีเซียจะช่วยเหลือผู้อพยพประมาณ 7,000 คนที่อยู่ในเรือกลางทะเล

เขากล่าวด้วยว่าจะดำเนินกระบวนการส่งคนเหล่านี้กลับประเทศภายในเวลาหนึ่งปี ผ่านการทำงานของหน่วยงานระหว่างประเทศ และเรียกร้องให้เอ็นจีโอและประเทศอื่นๆ ยื่นมือเข้าช่วยด้วย

สำหรับไทยจะให้ความช่วยเหลือให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาบนฝั่งไทยได้ แต่ยังไม่มีท่าทีชัดเจนว่าจะสร้างที่พักพิงให้กับผู้อพยพ ซึ่งก่อนหน้านี้ ผู้อพยพที่ได้ให้ข้อมูลกับสื่อบอกว่าพวกตนต้องการเดินทางเข้าประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย

อย่างไรก็ตาม ไทยตกเป็นเป้าวิจารณ์จากองค์การ Human Rights Watch ซึ่ง นาย Phil Robertson จากหน่วยงานนี้กล่าวว่า ไทยควรร่วมกันกับมาเลเซียและอินโดนีเซียในการสร้างศูนย์พักพิงชาวโรงฮิงจะและชาวบังคลาเทศเหล่านี้

นาย Phil Robertson กล่าวว่า น่าเสียดายที่ไทยยังไม่ตกลงที่จะสร้างค่ายพักพิง และตนหวังว่าในที่สุดแล้ว ผู้นำไทยจะสามารถปรับมาตรการให้สอดคล้องกับมาเลเซียและอินโดนีเซีย นอกจากนั้นเขาเรียกร้องให้ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยกเลิกนโยบายผลักดันไม่ให้เรือผู้อพยพเข้าฝั่ง

รายงานข่าวระบุว่าในความเป็นจริงแล้ว ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซียร่วมกันช่วยผู้อพยพ หรือนำคนเหล่านี้ขึ้นฝั่งจำนวนเกือบสามพันคนแล้ว แต่หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนกล่าวว่ายังมีจำนวนอีกหลายพันคนที่ยังค้างอยู่ในทะเลและมีสิ่งของยังชีพอยู่บนเรือน้อยเต็มที

A rescued migrant weeps upon arrival Simpang Tiga, Aceh province, Indonesia, Wednesday, May 20, 2015.

ไทยแสดงบทบาทสำคัญในการทลายเครือข่ายค้ามนุษย์ที่หากินกับเหยื่อชาวโรฮิงจะในช่วงที่ผ่านมา เมื่อทราบข่าวการสลายขบวนการอาชญากรรมนี้ นายหน้าที่มาพร้อมกับผู้อพยพบนเรือจึงละทิ้งคนเหล่านี้กลางคัน โดยสละเรือและปล่อยให้ผู้อพยพเผชิญชะตากรรมกันเองหลังจากนี้

ขณะที่พม่าก็ได้รัยการวิพากษ์วิจารณ์มากเช่นกันในเหตุการณ์ครั้งนี้ เพราะส่วนหนึ่งของผู้อพยพหนีภัยความขัดแย้งทางศาสนามาจากพม่า และรัฐบาลกรุงเนปิดอร์ได้ออกแถลงการณ์ว่าพร้อมให้ความช่วยเหลือผู้อพยพเหล่านี้ด้วย

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่สื่อตะวันตกกระแสหลักตีแผ่ มีบางส่วนเกี่ยวกับผู้อพยพที่ไม่ค่อยได้ถูกพูดถึง เช่นรายงานข่าวที่ว่าคนจำนวนมากสมัครใจเดินทางออกจากบังคลาเทศเพื่อหนีความยากจน กล่าวคือมาด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ และการที่มีค่ายพักพิงผู้อพยพขนาดใหญ่ใน Cox’s Bazar ของบังคลาเทศอยู่แล้ว

ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้สะท้อนถึงความซับซ้อนของปัญหาผู้ลี้ภัย ที่มีเจตนารมณ์ต่างกันในการออกนอกประเทศบ้านเกิดแต่ต้องมาเผชิญชะตากรรมเช่นเดียวกันบนเรือกลางทะเล ดังนั้นแนวทางการแก้ไขปัญหาจึงมีหลายมิติ ทั้งเรื่องสิทธิมนุษยธรรมที่เร่งด่วนสำหรับความทุกข์ยากของผู้ลี้ภัย แต่ก็ยังมี ประเด็นกฎหมาย การทูต การเมืองและเศรษฐกิจภายใน และความพยายามหาทางออกระยะยาว ที่ต้องพิจารณาประกอบกันด้วย

Rohingya migration

ขณะนี้ มีเรือประมงฟิลิปปินส์ที่ช่วยนำชาวโรงฮิงจะและชาวบังคลาเทศเหล่านี้กว่า 400 คนเข้าฝั่งฟิลิปปินส์ที่จังหวัดอาเจะห์เมื่อวันพุธ ส่วน อินโดนีเซียกล่าวว่าได้รับผู้อพยพเข้าฝั่ง 1,500 คน

รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย เร็ทโน่ มาซูดิ้ กล่าวว่าอินโดนีเซียยื่นมือเข้าช่วยเกินกว่าที่ควรทำแล้ว และย้ำว่าประเทศในภูมิภาคจำเป็นต้องหาทางออกร่วมกันให้ได้

รายงานโดย William Gallo เรียบเรียงโดย รัตพล อ่อนสนิท