รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี บลิงเคน สรุปการเยือนตะวันออกกลางรอบล่าสุดในพฤหัสบดี ด้วยการเจรจากับประธานาธิบดีอับเดล ฟัตตาห์ เอล-ซิสซิ แห่งอียิปต์
เจ้าหน้าอเมริกันชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จระดับหนึ่งแม้จะไม่มาก ในการขยายเเรงสนับสนุนให้เกิดแผนบริหารจัดการและฟื้นฟูกาซ่า เมื่อใดก็ตามที่สงครามอิสราเอล-ฮามาสจบลง
อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้านี้ยังคงมีความไม่เเน่นอน เพราะรัฐบาลขวาจัดของอิสราเอลที่นำโดยนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูยังไม่เห็นด้วยกับอีกหลายประเด็น
นอกจากนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่ารัฐบาลอิสราเอลจะคล้อยตามและมีจุดยืนร่วมกับฝ่ายต่าง ๆ หรือไม่
ขณะนี้บลิงเคนได้รับเสียงตอบรับจากชาติอาหรับที่เคยลังเลที่จะเริ่มพูดคุยถึงแผนหลังสงคราม ในเรื่องอนาคตของกาซ่า
ชาติอาหรับเหล่านั้นประกอบด้วยตุรกี เจอร์เเดน กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดิอาระเบีย บาห์เรนและองค์กรบริหารของปาเลสไตน์
ตัวเเทนจากดินเเดนเหล่านี้ และกรีซ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่บลิงเคนเดินทางเยือนในรอบนี้ ให้คำมั่นว่าจะมีส่วนร่วมในการวางแผนโดยรวมหลังสงคราม
อย่างไรก็ตามยังไม่รายละเอียดว่าประเทศใดจะช่วยอย่างไร
"ในการเดินทางเยือนครั้งก่อน ๆ ของเรา ผมคิดว่ามีความลังเลที่จะหารือถึงประเด็นหลังสงคราม" รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ บอกกับผู้สื่อข่าวที่ท่าอากาศยานกรุงไคโร หลังจากที่พบกับผู้นำอียิปต์
"แต่ตอนนี้เราพบว่าหุ้นส่วนของเรามีความเเน่วเเน่มาก ๆ ในเรื่องนี้ และต้องการมีส่วนร่วมในคำถามเหล่านั้น” เขากล่าว
ทั้งนี้การเยือนตะวันออกลางของบลิงเคนครั้งนี้กินเวลา 1 สัปดาห์และเป็นครั้งที่ 4 ตั้งเเต่เกิดสงครามอิสราเอล-ฮามาส
การที่บลิงเคนตั้งเป้าให้ประเทศต่าง ๆ เห็นด้วยที่จะเริ่มคุยกันถึงทิศทางที่จะเกิดขึ้นหลังสงคราม เพราะเขาคิดว่าการให้ความสำคัญกับหัวข้อดังกล่าวช่วยลดความหวาดกลัวที่ปะทุขึ้นใหม่ ว่าสงครามจะขยายวงกว้าง ตามรายงานของเอพี
Your browser doesn’t support HTML5
- ที่มา: เอพี