สมาคมการแพทย์โลกยกย่องโครงการประกันสุขภาพของไทยเป็นแม่แบบสำหรับประเทศเศรษฐกิจโตเร็วในเอเชีย

นายกสมาคมการแพทย์โลกให้ความเห็นว่า โครงการประกันสุขภาพของประเทศไทยแตกต่างจากของประเทศอื่นๆ ในเอเชีย

Your browser doesn’t support HTML5

Asia Thailand Health

โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทยเริ่มต้นเมื่อราวๆ 14 ปีที่แล้ว และได้ให้บริการแก่ประชาชนที่ไม่มีการประกันสุขภาพราวๆ 18 ล้านคน รวมทั้งอีกประมาณ 29 ล้านคนที่สามารถเข้ารับบริการได้บางส่วน

ศาสตราจารย์ Michael Gideon Marmot ผู้เชี่ยวชาญนโยบายการสาธารณสุข และยังดำรงตำแหน่งนายกสมาคมการแพทย์โลก หรือ World Medical Association ด้วย ให้ความเห็นว่า โครงการประกันสุขภาพของประเทศไทย แตกต่างจากของประเทศอื่นๆ เช่นอินเดีย

ผู้เชี่ยวชาญนโยบายสาธารณสุขชาวอังกฤษผู้นี้ กล่าวว่ามีผู้ใช้บริการในภาคเอกชนเพียง 20% ในโครงการประกันสุขภาพของประเทศไทย โดยที่ประมาณครึ่งหนึ่งต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล หรือเท่ากับ 11% ของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทั้งประเทศ

ในขณะที่ 63% ของชาวอินเดียต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง ซึ่งหมายความว่าชาวอินเดียจำนวนมากไม่ได้รับการรักษาพยาบาลเพราะไม่มีเงิน

ศาสตราจารย์ Michael Gideon Marmot ซึ่งเดินทางมากรุงเทพมหานครเพื่อรับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลทางด้านสาธารณสุข ให้ความเห็นเกี่ยวกับพม่าและรัฐบาลชุดใหม่ไว้ด้วยว่า พม่าควรจัดทำระบบประกันสุขภาพที่มีการพัฒนาประเทศอย่างกว้างขวางรองรับ และอาศัยคำแนะนำในรายงานเมื่อเร็วๆนี้ขององค์การอนามัยโลก และตัวกำหนดสุขภาพทางสังคม ตั้งเป้าหมายดำเนินงานเพื่อการพัฒนาเด็ก การศึกษา การจ้างงาน สภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีคุณภาพ

ในขณะเดียวกัน มีเสียงเรียกร้องในประเทศไทยให้มีการปรับปรุงโครงการประกันสุขภาพ เช่นให้มีการจัดงบประมาณสำหรับค่ารักษาพยาบาล โดยไม่รวมค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ซึ่งขัดแย้งกับคำเรียกร้องที่ต้องการให้มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการบริหารจัดการโรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลในชนบท

นักเศรษฐศาสตร์ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ดร. วิโรจน์ ณ ระนอง ให้ความเห็นว่า มีคนจำนวนมากพยายามจะกำจัดระบบ 30 บาทรักษาทุกโรค หรือให้มีการปฏิรูปโครงการดังกล่าว ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น

นักวิจัยผู้นี้กล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่า คนทั่วไปยังสนับสนุนโครงการนี้อย่างแข็งขัน และรัฐบาลเองก็เกรงว่า จะเกิดความวุ่นวายปั่นป่วนในระบบสาธารณสุข ถ้าจะจ่ายเงินให้เฉพาะค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งความกดดันที่จะให้คนไข้จ่ายเงินเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในหมู่ผู้มีรายได้ต่ำ