เปลี่ยน 'สนามรบ' บนโลกโซเชียลให้เป็นบทสนทนาเรื่องสงครามอิสราเอล-ฮามาส

  • VOA

สงครามระหว่างอิสราเอลและฮามาสที่ปะทุขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ทำให้เกิดการแพร่ข้อมูลบนโซเชียลมีเดียที่กระตุ้นให้ประชาชนแบ่งขั้วทางความคิดกันในสังคม

แต่ท่ามกลางความแตกแยกนี้ คนบางกลุ่มพยายามสร้างบทสนทนาเชิงสร้างสรรค์ในประเด็นที่ร้อนแรงนี้

คนจำนวนมากรับทราบข่าวสารเกี่ยวกับสงครามผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ในสหรัฐฯ ข้อมูลที่ไม่มีการปิดกั้น และบางครั้งขาดบริบท สามารถทำให้ผู้รับสารสับสนและเข้าใจผิดเกี่ยวกับสงครามครั้งนี้ โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่ท่องโลกโซเชียลอยู่เป็นประจำ

แบรนดอน ลีช นักศึกษาที่มหาวิทยาลัย American University ในกรุงวอชิงตัน และเป็นรองประธานเครือข่ายนักศึกษาชาวยิวของ American Jewish Committee

เขากล่าวว่า "ทุกคนถูกถาโถมด้วยคอนเทนต์ออนไลน์มากมายที่ต่อต้านยิว หรือสนับสนุนปาเลสไตน์ หรือสนับสนุนอิสราเอล เหมือนกับว่าทั้งหมดที่ผมเห็นจากอินสตาแกรมเป็นแบบนั้น และมันส่งผลร้ายต่อสุขภาพจิตด้วย ผมอยากจะบอกว่ามันเป็นเหตุการณ์น่ากลัวกับการเป็นนักศึกษาที่อายุน้อย"

SEE ALSO: อังกฤษเดินขบวนประณามการต่อต้านชาวยิวในลอนดอน

ตามสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงวอชิงตัน นักศึกษาพบว่า เพื่อน ๆ ต่างเเชร์ความเห็นกัน ไม่ว่าจะเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับคู่ความขัดเเย้งในสงครามอิสราเอล-ฮามาส

ทาเฮอร์ เฮอร์ซัลลาห์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมระดับรากหญ้าขององค์กร American Muslim for Palestine กล่าวที่งานชมนุมที่ใจกลางกรุงวอชิงตันว่า "คนจากชุมชนของเราออกมากันที่นี่ อย่างที่คุณเห็นมีคนหลายพันคน คนเหล่านี้ออกมาแสดงความโกรธเกรี้ยว"

ตั้งเเต่กลุ่มติดอาวุธฮามาสโจมตีอิสราเอลในวันที่ 7 ตุลาคม และทำให้มีผู้เสียชีวิต 1,200 ราย โพสต์จำนวนมากบนโซเชียลมีเดียและการรายงานข่าวของสื่อหลัก ๆ พุ่งความสนใจหลักไปที่การบุกยึดกาซ่าของอิสราเอลที่นำมาซึ่งการเสียชีวิตของคนจำนวนกว่า 14,000 คน อ้างอิงข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขกาซ่าภายใต้การดำเนินการของฮามาส

การให้ความสำคัญกับข่าวสารในลักษณะดังกล่าว อาจช่วยอธิบายว่าเหตุใดวิดีโอบนเเพลตฟอร์ม TikTok ที่มีแฮชเเท็ก #FreePalestine จึงมีจำนวนมากกว่าคลิปที่มีแฮชเเท็ก #StandwithIsrael ถึง 2.9 ล้าน ณ วันที่ 13 พฤศจิกายน

อย่างไรก็ตาม TikTok เตือนว่า การเปรียบเทียบดังกล่าวมีข้อจำกัดอย่างยิ่งในการสะท้อนภาพที่แท้จริงและขาดบริบทรอบข้าง

SEE ALSO: ทัวร์ลงอธิการบดีม.ฮาร์เวิร์ด ประเด็นอิสราเอล-ปาเลสไตน์

ในขณะเดียวกัน นักวิจัยพบว่า คนวัยมิลเลนเนียลมีความรู้สึกร่วมกับชาวปาเลสไตน์มากขึ้นก่อนวันที่ 7 ตุลาคมที่การโจมตีอิสราเอลโดยฮามาส

บริษัท TikTok ชี้ว่า การศึกษาโดย Pew Research จากข้อมูลระหว่างปี 2006 และ 2016 เเสดงให้เห็นว่า คนอายุมากกว่า และไม่ได้เล่น TikTok บ่อยเท่ากับกลุ่มมิลเลนเนียล มักมีความเห็นใจต่ออิสราเอลมากกว่าคนหนุ่มสาว

ท่ามกลางความเเตกแยกนี้ คนหนุ่มสาวบางกลุ่มมองว่า บรรยากาศของสังคมเปิดโอกาสให้เกิดการพูดคุยกันมากขึ้น

เเม็กซ์ แคตซ์ และฟาริด แอบดิบิ ก่อตั้งกลุ่ม Left-Middle-Right ที่เป็นองค์กรสื่อดิจิทัลที่มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน ที่รณรงค์ใให้นักศึกษาและคนรุ่นใหม่พยายามแสดงความเห็นตามที่แต่ละคนรู้สึกจริง ๆ

แอบดิบิกล่าวว่า คนแต่ละกลุ่มที่เห็นต่างในสงครามครั้งนี้ ย่อมมีคนที่มีความคิดรุนเเรง อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมตามที่คนคิดและได้รับการหล่อหลอมจากรากเหง้าของเเต่ละคน

เขาบอกว่า ตนพบว่า ถ้าให้ผู้ที่สนับสนุนอิสราเอลและฝ่ายเห็นต่างที่สนับสนุนฮามาสได้มาพูดคุยกันที่มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน ก็จะเข้าใจว่า พวกเขาไม่ได้เกลียดกันเเละกัน

"พวกเขาไม่ได้ตั้งเเง่กับระบบความคิดของคนอีกกลุ่มหนึ่ง เป็นเพียงเเต่ว่าความเป็นตัวตนของเเต่ละฝ่ายปะทะกัน บนเวทีภูมิรัฐศาสตร์โลก" แอบดิบิ กล่าว

และการพูดคุยกันลักษณะนี้ อาจเปรียบได้ว่าเป็นเส้นทางสู่การ "พักรบ" ของสงครามวาทะกรรมที่เกิดขึ้นออนไลน์ เเม้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและฮามาสยังคงมีปัญหามากในเวลานี้

  • ที่มา: วีโอเอ