ลิ้งค์เชื่อมต่อ

'อุปสรรคและแรงกดดัน' ในความพยายามส่งตัวผู้ลี้ภัยชาวพม่าในไทยกลับประเทศ


Karen refugees practice their singing before a morning prayers at a church inside Mae La refugee camp in Tha Song Yang district, Tak province northern Thailand, Jan. 19, 2012.
Karen refugees practice their singing before a morning prayers at a church inside Mae La refugee camp in Tha Song Yang district, Tak province northern Thailand, Jan. 19, 2012.
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:11 0:00

ความพยายามที่จะนำตัวผู้ลี้ภัยชาวพม่าในประเทศไทย 98,000 คนกลับประเทศ โดยมีสหประชาชาติเป็นผู้สนับสนุน กำลังดำเนินไปอย่างเชื่องช้า ภายใต้แรงกดดันจากผู้บริจาคระหว่างประเทศที่จะลดจำนวนเงินที่ให้กับค่ายผู้ลี้ภัยทางภาคตะวันตกของประเทศไทย

ขณะเดียวกัน ความขัดแย้งและความล้าหลังของระบบสาธารณสุขและโครงสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ในเมียนม่า ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ลี้ภัยเหล่านั้น ลังเลที่จะกลับสู่ประเทศของตน

ค่ายผู้ลี้ภัย 9 แห่งบริเวณชายแดนด้านตะวันตกของประเทศไทย เริ่มเปิดรับผู้ลี้ภัยชาวพม่ามาตั้งแต่กว่า 30 ปีที่แล้ว แต่ขณะนี้กำลังมีความพยายามที่จะส่งตัวชาวพม่าเหล่านั้นกลับประเทศ หลังจากที่พม่า หรือเมียนม่า เริ่มเปิดประเทศและมีการเลือกตั้งอย่างเสรีเมื่อสองปีก่อน

ขณะที่รัฐบาลเมียนม่าก็กำลังหาทางจัดทำข้อตกลงสันติภาพกับกองกำลังชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ แม้กระบวนการดังกล่าวจะเป็นไปอย่างเชื่องช้า

Thailand Refugees
Thailand Refugees

คุณซอว์ พอล ฉ่วย ทวา ผอ.องค์กร Karen Environmental and Social Action Network หรือ KESAN กล่าวว่า "แรงกดดันที่ให้ผู้ลี้ภัยในประเทศไทยเดินทางกลับสู่มาตุภูมินั้น มาจากเงินบริจาคที่ลดลงและการจัดตั้งโครงการส่งตัวผู้ลี้ภัยชาวพม่ากลับประเทศ"

อย่างไรก็ตาม คุณฉ่วย ทวา บอกว่าความกังวลที่เพิ่มขึ้นในขณะนี้คือ หากผู้ลี้ภัยเหล่านั้นถูกกดดันให้กลับประเทศโดยไม่มีปัจจัยพื้นฐานหรือความร่วมมือจากทางรัฐบาลเมียนม่ารองรับ ก็อาจทำให้เกิดความวุ่นวายได้

รายงานขององค์กร The Border Consortium หรือ TBC ในประเทศไทย ระบุว่ามีหลักฐานชัดเจนถึงเงินบริจาคที่ลดลง จากองค์กรผู้บริจาคในนอร์เวย์ สวีเดน และสหรัฐฯ

ขณะที่หนังสือพิมพ์อิระวดีในเมียนม่า รายงานว่าเจ้าหน้าที่ราว 10,000 คนที่ทำงานอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย 9 แห่งตามแนวพรมแดนไทย – เมียนม่า อาจถูกลดเงินเดือน สืบเนื่องจากเงินบริจาคระหว่างประเทศที่ลดลง

ทางด้านโฆษกสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ หรือ UNHCR กล่าวกับวีโอเอว่า "โครงการส่งตัวผู้ลี้ภัยชาวพม่ากลับประเทศนี้ คือโครงการนำร่องที่จัดทำขึ้นสำหรับผู้ที่แจ้งความจำนงกับสหประชาชาติว่าต้องการกลับประเทศบ้านเกิด"

และว่า "ขณะนี้มีผู้ลี้ภัยชาวพม่าในประเทศไทยหลายร้อยคนที่แจ้งมาแล้วว่าอย่างกลับประเทศ ซึ่งทาง UNHCR ก็ได้ประสานไปทางรัฐบาลเมียนม่าแล้ว"

FILE - A group of Myanmar refugees are seen on a pick-up truck in Mae Sot, Thailand.
FILE - A group of Myanmar refugees are seen on a pick-up truck in Mae Sot, Thailand.

ถึงกระนั้น เจ้าหน้าที่องค์กรด้านมนุษยธรรมหลายแห่งระบุว่า ความไม่แน่นอนทางการเมือง รวมทั้งความขัดแย้งและความล้าหลังของระบบสาธารณสุขและโครงสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ในเมียนม่า คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ลี้ภัยจำนวนมากลังเลที่จะกลับสู่ประเทศของตน

คุณ Sally Thompson แห่ง The Border Consortium บอกว่า ไม่มีปัจจัยดึงดูดให้ผู้ลี้ภัยข้ามพรมแดนกลับไปยังภาคตะวันออกเฉียงใต้ของเมียนม่า กล่าวคือกระบวนการสันติภาพยังคงเป็นไปอย่างเชื่องช้า และผู้คนก็ยังคงไม่เชื่อใจในกองทัพเมียนม่า ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าที่จะสามารถฟื้นฟูกลับมาได้

นอกจากนี้ยังขาดแรงจูงใจทั้งทางด้านสาธารณสุข การศึกษา และเศรษฐกิจ

An illegal immigrant boy from Myanmar collects plastic at a rubbish dump near Mae Sot December 22, 2009.
An illegal immigrant boy from Myanmar collects plastic at a rubbish dump near Mae Sot December 22, 2009.

เจ้าหน้าที่องค์กรด้านมนุษยธรรมผู้นี้บอกว่า ด้วยเหตุนี้ ผู้ลี้ภัยชาวพม่าจำนวนมากในประเทศไทยจึงยังคงเปิดทางเลือกต่างๆ เอาไว้ คือในด้านหนึ่งก็ยังต้องการได้รับความคุ้มครองเมื่ออยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย แต่อีกด้านหนึ่งก็กำลังวางแผนกลับบ้านเกิดในอนาคตอันใกล้นี้เช่นกัน

(ผู้สื่อข่าว Ron Corben รายงานจากกรุงเทพฯ / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง)

XS
SM
MD
LG