ลิ้งค์เชื่อมต่อ

กระจุกดาวทรงกลมไกลโพ้นน่าจะเป็นจุดที่ดีที่สุดในการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก


Globular star clusters may be the best place to search for alien life, researchers said.
Globular star clusters may be the best place to search for alien life, researchers said.

นักดาราศาสตร์ในสหรัฐฯ ชี้ว่าเป็นไปได้ว่าอาจมีสิ่งมีชีวิตนอกโลกบนดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ที่ไกลโพ้นในกระจุกดาวทรงกลม

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:16 0:00
Direct link

กระจุกดาวทรงกลม (globular star clusters) เป็นแหล่งรวมของดวงดาวที่มีรูปร่างเป็นทรงกลม โคจรไปรอบๆ แกนกลางดาราจักร ดาวฤกษ์ในกระจุกดาวทรงกลมมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดต่อกันค่อนข้างมาก ทำให้พวกมันรวมตัวเป็นกลุ่มทรงกลม มีความหนาแน่นของดาวค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในจุดศูนย์กลาง แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ค่อนข้างเล็กโดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ 100 ปีแสง

นอกจากนี้ กระจุกดาวทรงกลมเหล่านี้ยังเก่าแก่อีกด้วย เก่าเเก่เทียบเท่ากับดาราจักรทางช้างเผือกเนื่องจากถือกำเนิดขึ้นเมื่อราวหนึ่งหมื่นปีที่แล้วโดยเฉลี่ย

คุณ Rosanne DiStefano แห่งศูนย์ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ฮาร์วาร์ด สมิธโซเนี่ยน (the Harvard-Smithsonian Center for Astrophysics) ซึ่งเป็นสมาชิกทีมวิจัยที่ร่างรายงานเกี่ยวกับผลการศึกษานี้กล่าวระหว่างการประชุมของ the American Astronomical Society ในเมือง Kissimmee ที่รัฐฟลอริด้าเมื่อเร็วๆ นี้ว่า กระจุกดาวทรงกลมอาจจะเป็นจุดแรกที่ให้กำเนิดสิ่งชีวิตที่มีภูมิปัญญาสูงในดาราจักร

ในดาราจักรทางช้างเผือก มีกระจุกดาวทรงกลมราว 150 กระจุกดาว โดยส่วนใหญ่กระจายอยู่ในพื้นที่รอบนอก

อย่างไรก็ตาม กระจุกดาวมีองค์ประกอบของวัสดุที่มีน้ำหนักมาก ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการก่อตัวของดาวเคราะห์ดวงใหม่เพียงส่วนน้อยเท่านั้น ทำให้หลายคนเชื่อว่าไม่น่าจะเป็นจุดที่ดีที่สุดในการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก แต่ทีมนักวิจัยนี้ชี้ว่าภายในกระจุกดาวใดกระจุกดาวหนึ่ง ทีมงานพบดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวเท่านั้น

คุณ DiStefano แย้งว่ามีการค้นพบดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลโพ้นหลายดวงในบริเวณรอบๆ ดาวฤกษ์ แต่มีเพียง 1 ใน 10 เท่านั้นที่มีส่วนประกอบที่เป็นโลหะในปริมาณสูงเหมือนกับดวงอาทิตย์ที่โลกเราโคจรรอบๆ

นักวิจัยยังกล่าวด้วยว่าดาวเคราะห์ที่มีขนาดเท่ากับโลกมนุษย์ สามารถก่อกำเนิดขึ้นได้ในบริเวณรอบๆ ของทั้งดาวฤกษ์ที่มีส่วนประกอบของโลหะในปริมาณสูง และดาวฤกษ์ที่มีส่วนประกอบเป็นโลหะในปริมาณต่ำ

อีกเหตุผลที่หนึ่งที่ทำให้นักวิจัยเชื่อว่า กระจุกดาวน่าจะเป็นจุดที่มีสิ่งมีชีวิตนอกโลกอาศัยอยู่ ก็คือมีดาวกฤษ์อยู่รวมกลุ่มกันเป็นจำนวนหนาแน่น นี่หมายความว่ามีโอกาสสูงที่เเรงโน้มถ่วงของดาวฤกษ์ดวงใดดวงหนึ่งจะส่งผลต่อระบบสุริยะจักรวาลอีกระบบหนึ่

ทีมนักวิจัยยังพบด้วยว่าดวงดาวต่างๆ ในกระจุกดาวมีความสว่างน้อยและเป็นดาวฤกษ์แคระสีแดงที่มีชีวิตยืนยาว ดาวเคราะห์ใดๆ ก็ตามที่โคจรรอบๆ ดวงดาวเหล่านี้จะมีระยะใกล้กับดวงดาวมาก

คุณ DiStefano อธิบายว่าเมื่อดาวเคราะห์ถือกำเนิดขึ้น มันจะอยู่รอดได้เป็นเวลานาน นานกว่าอายุปัจจุบันของจักรวาลเสียอีก และนั่นอาจจะหมายความว่าดาวเคราะห์ดวงใดก็ตามในกระจุกดาว อาจจะอยู่รอดได้นานหลายพันล้านปี ซึ่งเอื้อเวลาให้แก่สิ่งมีชีวิตที่จะก่อกำเนิดขึ้นและวิวัฒนาการต่อไป

ระยะห่างระหว่างดาวฤกษ์ดวงต่างๆ ในกระจุกดาวใดๆ ที่ไม่ไกลมากนัก ยังจะเอื้อหนุนให้สิ่งมีชีวิตต่างดาวมีโอกาสที่ดีกว่าในการออกไปสำรวจดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้เคียง ยกตัวอย่างเช่นมีดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่ตั้งอยู่ห่างจากระบบสุริยะจักรวาลที่โลกเราเป็นส่วนหนึ่งไปราว 4 ปีแสง แต่ในกระจุกดาวกระจุกหนึ่ง ดาวฤกษ์จะอยู่ใกล้กับดาวเคราะห์มากกว่าถึง 20 เท่าตัว

แต่การค้นหาดาวเคราะห์เหล่านี้หากมีอยู่จริง ยังเป็นเรื่องยาก กระจุกดาวที่ตั้งอยู่ใกล้มากที่สุดห่างออกไปหลายพันปีแสง และเมื่อมีดวงดาวอยู่หนาแน่น การค้นหาดาวเคราะห์จะเป็นไปได้ยาก

ทีมนักวิจัยชี้ว่าโอกาสที่ดีที่สุดในการมองหาดาวเคราะห์เหล่านี้ ต้องมองหาที่บริเวณรอบนอกของกระจุกดาวทรงกลม

(เรียบเรียงโดย ทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน )

XS
SM
MD
LG