ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทย์ชี้ วัคซีนช่วยต้านภาวะ ‘ลองโควิด’ ได้


Photo by: STRF/STAR MAX/IPx 2021 8/25/21 J&J reports that a booster shot for tis vaccine after 6 months may have big benefits. 8/24/21 Here, a sign for a COVID-19 vaccine is seen in White Plains, New York.
Photo by: STRF/STAR MAX/IPx 2021 8/25/21 J&J reports that a booster shot for tis vaccine after 6 months may have big benefits. 8/24/21 Here, a sign for a COVID-19 vaccine is seen in White Plains, New York.

การวิจัยชิ้นล่าสุดจากมหาวิทยาลัย Kings College London ชี้ว่า วัคซีนโควิด-19 ช่วยป้องกันการเกิดภาวะอาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิดในระยะยาว หรือ Long COVID นอกเหนือจากการป้องกันการติดเชื้อและเจ็บป่วยรุนแรงจากโควิด-19

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Kings College London เก็บข้อมูลจากแอปพลิเคชัน Zoe ที่ติดตามอาการของผู้ที่ติดเชื้อโควิดราว 1.2 ล้านคน ช่วงเดือนธันวาคมปีก่อนถึงเดือนมิถุนายนของปีนี้ พบว่า วัคซีนโควิด ช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะ Long COVID ลงครึ่งหนึ่ง ในกลุ่มผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 หลังเข้ารับวัคซีนไปแล้ว ซึ่งมีสัดส่วนน้อยมาก

ข้อมูลจากการวิจัยนี้ พบว่า 0.2% ของผู้เข้ารับวัคซีนโควิด รายงานว่าติดเชื้อโควิดหลังรับวัคซีนไปแล้ว โดย 5% ในนั้นมีภาวะ Long COVID ซึ่งถือว่าน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนโควิดและติดเชื้อราว 11% ที่มีอาการ Long COVID

ปัจจุบัน ยังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนของผู้ที่มีภาวะอาการ Long COVID ที่พบอาการหลงเหลือหลังติดโควิด เช่น ปวดกล้ามเนื้อ เหนื่อยล้า หายใจหอบถี่ และภาวะสมองล้า ซึ่งจะกินระยะเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์หรือนานหลายเดือนหลังติดเชื้อไปแล้ว

ส่วนการศึกษาอีกชิ้นของอังกฤษ พบว่า 1 ใน 7 ของเด็กที่ติดโควิด-19 มีภาวะอาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิดนานถึง 3 เดือนหลังติดเชื้อ โดยมีอาการปวดหัว เหนื่อยล้า เป็นภาวะที่พบบ่อยในกลุ่มอาการในเด็ก

ทั้งนี้ การศึกษาว่าด้วยประสิทธิผลของวัคซีนโควิด ยิ่งเพิ่มข้อถกเถียงให้กับการฉีดวัคซีนให้กับเด็กและเยาวชนเมื่อโรงเรียนกลับมาเปิดภาคเรียนตามปกติหลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19 โดยตอนนี้อังกฤษยังไม่อนุมัติการฉีดวัคซีนโควิดให้กับเด็กๆ ต่างจากสหรัฐฯ ที่เริ่มต้นฉีดวัคซีนให้กับเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปแล้ว

(ที่มา: วีโอเอ)

XS
SM
MD
LG