ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยพบฟอสซิลสัตว์เลื้อยคลานบินได้ใกล้เคียง 'มังกรในตำนาน'


Animatronic life-size pterosaurs are seen ahead of an interactive exhibition, Jurassic Kingdom, at Osterley Park in west London, Britain, March 31, 2017.
Animatronic life-size pterosaurs are seen ahead of an interactive exhibition, Jurassic Kingdom, at Osterley Park in west London, Britain, March 31, 2017.
Flying Prehistoric Reptile
please wait

No media source currently available

0:00 0:02:48 0:00


นักบรรพชีวินวิทยาชาวออสเตรเลียได้ค้นพบสัตว์เลื้อยคลานที่บินได้ยุคก่อนประวัติศาสตร์สายพันธุ์ใหม่ ในชนบทห่างไกลของรัฐควีนส์แลนด์ ที่มีชื่อว่า Thapunngaka shawi เป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบในออสเตรเลีย และมีอายุย้อนไปถึง 100 ล้านปี

นักวิจัยกล่าวว่า ไดโนเสาร์พันธุ์ "เทอโรซอร์" ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่บินได้ เป็น "สิ่งมีชีวิตที่ใกล้เคียงกับมังกรมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา"

นักวิจัยกล่าวว่า ด้วยปากที่เหมือนหอกและปีกที่ยาวประมาณ 7 เมตร ทำให้พวกมัน “ทะยานเหมือนมังกร” เหนือท้องทะเลในที่กว้างใหญ่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยปกคลุมพื้นที่ห่างไกลของรัฐควีนส์แลนด์

นักบรรพชีวินวิทยากล่าวว่า เจ้าเทอโรซอร์มีกระดูกที่ค่อนข้างกลวงและเต็มไปด้วยอากาศ สามารถปรับให้เข้ากับการบินได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซากของพวกมันเป็นของหายาก ดังนั้น การค้นพบฟอสซิลตรงส่วนกรามของสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ในเหมืองหินเมื่อปี 2011 โดยนักธรณีวิทยามือสมัครเล่นในท้องถิ่น จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ และฟอสซิลดังกล่าวถูกทิ้งไว้ในตู้โชว์ของพิพิธภัณฑ์เป็นเวลานานก่อนที่จะถูกนำไปวิเคราะห์โดยทีมของมหาวิทยาลัย University of Queensland

ทิม ริชาร์ดส์ นักวิจัยจากห้องทดลองไดโนเสาร์ของมหาวิทยาลัย กล่าวว่า เจ้าเทอโรซอร์ตัวนี้น่าจะเป็นนักล่าในยุคก่อนประวัติศาสตร์

เขากล่าวว่า สิ่งที่เราสามารถทำได้คือการศึกษากระดูกขากรรไกรของมัน โดยการเปรียบเทียบกับเทอโรซอร์สายพันธุ์ใกล้เคียงที่มีความสมบูรณ์ ซึ่งทำให้ทราบได้ว่ากระดูกขากรรไกรที่กำลังศึกษาอยู่นั้นค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับเทอโรซอร์สายพันธุ์ใกล้เคียง และสันนิษฐานได้ว่าปีกของมันน่าจะกว้างประมาณ 7 เมตร และกระโหลกศีรษะน่าจะยาวประมาณหนึ่งเมตร

ทั้งนี้เทอโรซอร์สายพันธุ์ใหม่นี้อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า ananguerians ซึ่งอาศัยอยู่ทุกทวีปในช่วงหลังของยุคของไดโนเสาร์

ชื่อของเทอโรซอร์สายพันธุ์ใหม่ “Thapunngaka shawi” เป็นที่รู้จักของชนพื้นเมืองในริชมอนด์ซึ่งเป็นที่ที่พบฟอสซิล โดยเป็นการใช้คำจากภาษาที่สูญพันธุ์ไปแล้วของประเทศ Wanamara ในรัฐควีนส์แลนด์

เรื่องราวของเจ้าเทอโรซอร์สายพันธุ์ใหม่นี้ถูกตีพิมพ์เป็นครั้งแรกอยู่ในวารสาร Journal of Vertebrate Paleontology

อย่างไรก็ตาม เทอโรซอร์เป็นสัตว์เลื้อยคลานบินได้ แต่ไม่ได้ถูกจัดว่าเป็นไดโนเสาร์ แม้ว่าจะมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันก็ตาม และฟอสซิลที่ค้นพบนี้ก็ได้แสดงให้เห็นว่าออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีไดโนเสาร์หลากหลายสายพันธุ์อาศัยอยู่ตั้งแต่ 65 ล้านถึง 250 ล้านปีก่อน

XS
SM
MD
LG