ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ทีมนักวิทยาศาสตร์เริ่มโครงการสำรวจมหาสมุทรอินเดียนาน 3 ปี


In this image taken from drone video, the Ocean Zephyr is docked in Bremerhaven, Germany, Wednesday Jan. 23, 2019.
In this image taken from drone video, the Ocean Zephyr is docked in Bremerhaven, Germany, Wednesday Jan. 23, 2019.
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:20 0:00

การสำรวจมหาสมุทรอินเดียครั้งนี้ถือเป็นงานที่ทะเยอทะยานมาก และจะเป็นการสำรวจมหาสมุทรแห่งใหญ่เเห่งสุดท้ายบนโลกที่ยังไม่เคยถูกสำรวจมาก่อน มหาสมุทรอินเดียกินพื้นที่น้ำทะเลที่กว้างใหญ่มาก ซึ่งเริ่มปรากฏให้เห็นถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อนเเล้ว

การเข้าใจระบบนิเวศวิทยาของมหาสมุทรอินเดียมีความสำคัญ เพราะนอกจากจะสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสัตว์ต่างๆ ที่อาศัยในมหาสมุทรเเล้ว ยังมีคนราว 2,500 ล้านคนที่อาศัยในประเทศต่างๆ ที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย ตั้งเเต่แอฟริกาตะวันออก คาบสมุทรอาหรับ เอเชียใต้ เเละเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โครงการ Nekton Mission นี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การต่างๆมากกว่า 40 แห่ง จะทำการสำรวจใต้ทะเลในจุดต่างๆ ของมหาสมุทรอินเดียตลอด 3 ปีข้างหน้า

ผลการวิจัยนี้จะนำไปเสนอในงานประชุมเกี่ยวกับสภาพของมหาสมุทรอินเดียที่จะจัดชึ้นในปลายปี ค.ศ. 2021 หรืออีกสามปีข้างหน้า

เรือสำรวจโอเชี่ยน เซฟเฟอร์ (Ocean Zephyr) เดินทางออกจากท่าเรือ เบรมเมอร์ฮาเฟน (Bremerhaven) ในเยอรมนี ช่วงเเรกของการเดินทาง ทีมนักวิจัยจะใช้เวลา 7 สัปดาห์สำรวจชีวิตใต้ทะเล ร่างแผนที่พื้นทะเลเเละหย่อนเซ็นเซอร์ลงไปลึกใต้ทะเลถึง 2,000 เมตร หรือ 6,560 ฟุต ในทะเลรอบสาธารณรัฐเซเซลส์ (Seychelles) ซึ่งเป็นประเทศกลุ่มเกาะในมหาสมุทรอินเดีย

The Nekton Mission's Ocean Zephyr supply ship stands docked in Bremerhaven, Germany, Wednesday Jan. 23, 2019. (AP Photo/Stephen Barker)
The Nekton Mission's Ocean Zephyr supply ship stands docked in Bremerhaven, Germany, Wednesday Jan. 23, 2019. (AP Photo/Stephen Barker)

นักวิทยาศาสตร์มีความรู้น้อยมากเกี่ยวกับชีวิตใต้ทะเลที่อยู่ลึกลงไปเกินกว่า 30 เมตร หรือ 100 ฟุต ซึ่งทีมนักวิทยาศาสตร์จากอังกฤษเเละจากประเทศเซเซลส์จะทำการสำรวจโดยใช้เรือดำน้ำที่มีคนประจำการสองลำ เเละจะใช้เรือดำน้ำที่บังคับทางไกลอีกหนึ่งลำในเดือนมีนาคมเเละเมษายน

รอนนี่ จูโม (Ronny Jumeau) เอกอักราชทูตของประเทศเซเซลส์ประจำองค์การสหประชาชาติ กล่าวว่า การสำรวจนี้มีความสำคัญในการช่วยประเทศหมู่เกาะเเห่งนี้เข้าใจดินเเดนท้องทะเลที่เเสนกว้างใหญ่ของตน

ในขณะที่ประเทศเซเซลส์มีเกาะถึง 115 เเห่ง แต่หากนำพื้นที่ดินมารวมกันเเล้วจะมีขนาดเพียง 455 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น เทียบเท่ากับขนาดของเมืองซาน แอนโตนิโอ้ ในรัฐเท็กซัส เเละเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศกินพื้นที่ทะเล 1 ล้าน 4 แสนตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เกือบเท่ากับรัฐอลาสก้า

จูโม กล่าวว่า ประเทศเซเซลส์มุ่งที่จะกลายเป็นผู้นำด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ “blue economy” ที่ใช้ทรัพยากรของท้องทะเล ประเทศหมู่เกาะนี้พึ่งพาการประมงเเละการท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ได้เริ่มต้นศึกษาความเป็นไปได้ในการขุดน้ำมันเเละเเก๊สจากใต้ทะเล

เขากล่าวว่า กุญเเจสำคัญคือการรู้ว่ามีอะไรอยู่ใต้ทะเลที่ล้อมรอบประเทศบ้าง อยู่จุดใด เเละมีคุณค่าอย่างไรบ้าง เขากล่าวว่าความรู้ที่เท่าทันนี้จะช่วยตัดสินใจได้ว่ามีอะไรบ้างที่จะนำไปใช้ประโยชน์และอะไรที่ควรปกป้องเเละอนุรักษ์

จูโม กล่าวว่า การสำรวจทางทะเลเพื่อการวิจัยอย่างโครงการ Nekton Mission นี้มีความสำคัญมากที่จะช่วยให้อุดช่องว่างทางความรู้เหล่านี้เเละสร้างความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับมหาสมุทรเเละเเหล่งทรัพยากร เพื่อช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดเพื่อวางแผนอนาคตแก่เศรษฐกิจ “blue economy” ของประเทศเซเซลส์

ประเทศหมู่เกาะเเห่งนี้มีประชากรน้อยกว่า 100,000 คน เเละเริ่มได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนเเล้ว ไม่ว่าจะเป็นน้ำทะเลที่อุ่นขึ้น ทำให้ปะการังเกิดภาวะกัดขาว

คัลลัม โรเบิร์ตส (Callum Roberts) นักชีววิทยาทางทะเลที่มหาวิทยาลัยยอร์ค ในอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้จัดการดูเเลทรัพย์สินของโครงการสำรวจนี้กล่าวว่า มหาสมุทรอินเดียกำลังประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาอย่างรวดเร็วเพราะกิจกรรมของมนุษย์

เขากล่าวว่า ประเทศหมู่เกาะเซเซลส์มีความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทางทะเลในมหาสมุทรอินเดียเเละทั่วโลก

ลูซี่ วูดดอล หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของโครงการจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด กล่าวว่า ทีมนักวิจัยคาดว่าจะค้นพบสัตว์ทะเลใหม่ๆ อีกหลายสิบชนิด ตั้งเเต่ปะการังไปจนถึงสัตว์ที่ใหญ่กว่า เช่น ฉลาม dog-sharks

(เรียบเรียงโดย ทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG