ลิ้งค์เชื่อมต่อ

น้ำทะเลอุ่นขึ้นตลอด 10 ปีที่ผ่านมา


APTOPIX California Heat Ocean Temperature
APTOPIX California Heat Ocean Temperature

นักวิจัยชี้น้ำทะเลอุ่นขึ้นเร็วกว่าที่คาดเพราะดูดซับความร้อนที่ถูกแก๊สเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศกักเอาไว้

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:45 0:00

ข้อมูลวิเคราะห๋โดยวิทยาศาสตร์บัณฑิตยสถานแห่งจีน (Chinese Academy of Sciences) ชี้ว่า ปี ค.ศ. 2018 ที่ผ่านมาถือว่าเป็นปีที่ร้อนมากที่สุดเท่าที่บันทึกเอาไว้ ทำลายสถิติของปี ค.ศ. 2017 ปีก่อนหน้า

บรรดานักวิทยาศาสตร์เตือนว่าโลกที่ร้อนมากขึ้นเป็นสาเหตุให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นและจะเป็นเหตุให้เกิดพายุเฮอร์ริเคน ตลอดจนภัยธรรมชาติอื่นๆที่มีความรุนเเรงขึ้น

รายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศโลก (Intergovermental Panel on Climate Change) ชี้ว่าการอุ่นขึ้นของน้ำทะเลที่วัดได้ตั้งเเต่ปี ค.ศ. 1960 มีความรวดเร็วขึ้นกว่าที่ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้คาดเอาไว้

ลีจิง เฉ่ง (Lijing Cheng) หัวหน้าผู้ร่างรายงานผลการศึกษาจากวิทยาศาสตร์บัณฑิตยสถานแห่งจีนกล่าวว่าสาเหตุหลักมาจากการสะสมของเเก๊สเรือนกระจก อาทิ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์

เฉ่ง กล่าวว่า อัตราความเร็วของการอุ่นตัวขึ้นของน้ำทะเลเป็นสัญญาณว่ามีระดับเเก๊สเรือนกระจกสั่งสมในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น

บรรดานักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศโลกชี้เเจงในเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมาว่า โลกเรามีเวลาเหลือเพียง 12 ปีเท่านั้นที่จะเปลี่ยนทิศทางของโลกจากการปล่อยแก๊สเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น ไปใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาดกว่า ไม่เช่นนั้นโลกจะเสี่ยงที่จะประสบกับผลกระทบที่รุนเรงมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศโลก

ผลกระทบต่างๆที่ว่านี้รวมถึงการขาดแคลนน้ำเเละอาการที่ร้ายแรงกว่าเดิม พายุที่มีึความรุึนแรงขึ้น คลื่นความร้อนหรือ heatwaves ภัยธรรมชาติรุนแรงรูปแบบต่างๆ และภาวะน้ำทะเลสูงขึ้น

ตลอดเวลานาน 13 ปีที่ผ่านมา ระบบสังเกตุการณ์มหาสมุทร ที่เรียกว่า Argo ถูกใช้งานเพื่อเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงทางอุณหภูมิที่เกิดขึ้นในน้ำทะเล ช่วยให้มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ซึ่งใช้เป็นข้ิอมูลหลักของสถิติใหม่ของการอุ่นตัวขึ้นของน้ำทะเลนี้

ระบบนี้ใช้หุ่นยนต์ลอยน้ำเกือบ 4,000 ตัวที่สามารถดำน้ำลงไปลึกถึง 2,000 เมตรทุกสองสามวันเพื่อทำการบันทึกระดับอุณหภูมิเเละตัวบ่งชี้อื่นๆขณะที่หุ่นยนต์กำลังลอยขึ้นมาสู่ผิวน้ำ

ผ่านข้อมูลที่จัดเก็บได้นี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้้พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำฝนที่ตก พายุที่รุนแรงมากขึ้น อาทิ เฮอร์ริเคนฮาร์วี่ในปี 2017 เเละเฮอร์ริเคนฟลอเรนส์ ในปี 2018

เฉ่ง อธิบายว่า มหาสมุทรทั่วโลกเป็นแหล่งพลังงานของพายุเเละอาจทำให้พายุเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นไปอีก เมื่อระดับอุณหภูมิในน้ำทะเล ซึ่งเป็นตัววัดระดับพลังงาน กำลังเพิ่มขึ้น

ทีมนักวิทยาศาสตร์เตือนว่าพายุที่จะเกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 2050-2100 ในอนาคต คาดว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้นกว่าพายุที่เกิดขึ้นแล้วระหว่างปี ค.ศ. 1950-2000

เฉ่ง กล่าวว่ามหาสมุทรแห่งต่างๆ ได้ดูดซับความร้อนมากกว่าร้อยละ 90 ของความร้อนจากเเสงอาทิตย์ทั้งหมดที่ติดอยู่ในชั้นบรรยากาศเพราะแก๊สเรือนกระจกได้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้น้ำทะเลยิ่งอุ่นขึ้นไปอีกในอนาคต

เฉ่ง นักวิจัยชี้ว่า เนื่องจากมหาสมุทรมีศักยภาพในการดูดซับความร้อนที่สูงมาก จึงมีการตอบสนองที่ช้าลงต่อภาวะโลกร้อน ซึ่งหมายความว่าเป็นไปได้ที่ภาวะน้ำทะเลอุ่นตัวขึ้นอาจจะมีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต

อย่างไรก็ตาม แก๊สเรือนกระจกที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศโลกยังสูงขึ้นตลอดเวลาเเละ เฉ่ง นักวิจัยจากวิทยาศาสตร์บัณฑิตยสถานแห่งจีนกล่าวปิดท้ายรายงานว่า มาถึงตอนนี้ ตนเองคิดว่าคนเรายังดำเนินการไม่เพียงพอในการจัดการกับภาวะโลกร้อน

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาำไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG