ลิ้งค์เชื่อมต่อ

บรรจุภัณฑ์จาก “สาหร่าย” ทางเลือกใหม่แก้ปัญหาขยะพลาสติกในอินโดนีเซีย


บรรจุภัณฑ์จาก “สาหร่าย” ทางเลือกใหม่แก้ปัญหาขยะพลาสติกในอินโดนีเซีย

please wait

No media source currently available

0:00 0:02:50 0:00

ทุกๆวัน อินโดนีเซียก่อขยะพลาสติกมากถึง 1.3 ล้านตัน และพลาสติกเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็มีจุดจบที่แหล่งน้ำและมหาสมุทรมากมาย ซึ่งทำลายระบบนิเวศน์ทางน้ำและทำให้สัตว์น้ำล้มตาย แต่มีผู้ประกอบการจากอินโดนีเซียรายหนึ่งที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้ปัญหาขยะพลาสติก ด้วยบรรจุภัณฑ์ทางเลือกจาก “สาหร่าย”

เกษตรกรที่เกาะพุเลา ติดุง ห่างออกไปราว 40 กิโลเมตรทางตอนเหนือของกรุงจาการ์ตา กำลังเร่งเก็บเกี่ยวสาหร่ายตามชายฝั่ง ด้วยภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะมากมายและแนวชายฝั่งยาว 54,000 กิโลเมตร ทำให้อินโดนีเซียกลายเป็นผู้ผลิตสาหร่ายอันดับที่ 2 ของโลก

อย่างไรก็ตาม ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ผลผลิต แต่กลับเป็นช่องทางการตลาด

คณ Pak Dahlan เกษตรกรที่ปลูกสาหร่ายบนเกาะนี้ บอกว่า การปลูกสาหร่ายที่นี่ใช้เวลาเพียง 40 วันก็สามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว ดังนั้นสิ่งที่พวกเขาต้องการ คือช่องทางการทำตลาดมากกว่า

ล่าสุด คุณ David Christian CEO ของบริษัท Evoware ได้คิดค้นการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ หรือไบโอพลาสติกจากสาหร่ายที่สามารถรับประทานได้ และซื้อสาหร่ายจากเกษตรกรอย่างคุณ Dahlan โดยตรง เพื่อการผลิตบรรจุภัณฑ์ทางเลือกนี้

คุณ Christian อธิบายว่า บรรจุภัณฑ์ไบโอพลาสติกของบริษัท ในรูปแบบของซองใส่เครื่องดื่มและอาหารกึ่งสำเร็จรูป และบรรจุภัณฑ์รูปแบบต่างๆ โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสาหร่ายทั้งหมดและสั่งตรงจากเกษตรกรท้องถิ่น ซึ่งตอนนี้ผลิตภัณฑ์ทางเลือกได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค ทำให้เขาต้องเร่งการผลิตเชิงพาณิชย์มากขึ้น

ปัจจุบัน อินโดนีเซียไม่เพียงแต่เป็นผู้ผลิตสาหร่ายเป็นอันดับ 2 ของโลก แต่เป็นประเทศที่ผลิตขยะพลาสติกมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ที่วันละ 1.3 ล้านตัน ซึ่ง Evoware หวังที่จะเป็นทางเลือกในการเปลี่ยนแปลงการใช้พลาสติกของผู้คน ผ่านบรรจุภัณฑ์เล็กๆ อย่างถุงใส่กาแฟ ถุงใส่เครื่องปรุง ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่เล็กเกินกว่าจะนำไปเข้ากระบวนการรีไซเคิลได้

แต่ในมุมมองของกลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการใช้พลาสติกในอินโดนีเซีย มองว่าผู้บริโภคในอินโดนีเซียควรมีความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลาสติก และผลักดันให้ประชาชนเปิดรับผลิตภัณฑ์ทางเลือกเหล่านี้มากขึ้น

เมื่อปีที่แล้วอินโดนีเซียได้ตั้งเป้าที่จะลดปริมาณขยะพลาสติกในแหล่งน้ำให้ได้ร้อยละ 70 ภายในปี ค.ศ. 2025 หรือในอีก 7 ปีข้างหน้า ซึ่งหากผู้ใช้พลาสติกในอินโดนีเซียหันมาใช้ไบโอพลาสติกกันมากขึ้น ก็จะเป็นการเปิดตลาดใหม่อย่างบรรจุภัณฑ์ทางเลือกที่กำลังเร่งพัฒนา และส่งต่อความอยู่ดีกินดีให้กับเกษตรกรผู้เพาะปลูกสาหร่ายอินโดนีเซีย

XS
SM
MD
LG