ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ชาวฟิลิปปินส์ยินดีต้อนรับทหารอเมริกันกลับฐานทัพเรือ Subic ท่ามกลางความขัดแย้งกับจีน


FILE - A Filipino family stroll the beach at Subic Bay as the USS Harpers Ferry approaches to dock.
FILE - A Filipino family stroll the beach at Subic Bay as the USS Harpers Ferry approaches to dock.

เวลานี้มีทหารสหรัฐฯจำนวนหนึ่งที่เดินทางกลับไปยังอ่าว Subic อีกครั้ง และดูเหมือนได้รับการต้อนรับอย่างดีจากชาวฟิลิปปินส์ในพื้นที่

เป็นเวลากว่าหนึ่งปีมาแล้ว ที่เจ้าหน้าที่ทหารสหรัฐฯ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกลับไปเยี่ยมเยือนฐานทัพที่อ่าว Subic ซึ่งเวลานี้กองทัพฟิลิปปินส์เป็นผู้ครอบครองและดูแลอยู่ โดยกองทัพฟิลิปปินส์ต้องการให้เจ้าหน้าที่ทหารอเมริกันไปช่วยในการวางยุทธศาสตร์ต่อต้านการขยายอิทธิพลทางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ ซึ่งพื้นที่ที่อยู่ในความขัดแย้งระหว่างจีนกับฟิลิปปินส์นั้น อยู่ห่างจากอ่าว Subic เพียง 200 กม.

FILE - Subic Bay Metropolitan Authority (SBMA) chairman Roberto Garcia points at a map of Subic Bay during a forum in Subic Bay, Zambales province, north of Manila, Sept. 25, 2015.
FILE - Subic Bay Metropolitan Authority (SBMA) chairman Roberto Garcia points at a map of Subic Bay during a forum in Subic Bay, Zambales province, north of Manila, Sept. 25, 2015.

ฟิลิปปินส์เคยตกเป็นอาณานิคมของสหรัฐฯระหว่างปี ค.ศ 1898 – 1946 ซึ่งในช่วงนั้นมีทหารอเมริกันราว 6,000 นายหมุนเวียนประจำการที่อ่าว Subic แต่สหรัฐฯได้สั่งปิดฐานทัพเรือที่อ่าว Subic เมื่อกว่า 20 ปีก่อน หลังจากทหารอเมริกันก่อเหตุและสร้างความรำคาญให้กับชาวบ้านในบริเวณนั้นอย่างต่อเนื่อง

คุณ Lance Gboy ผู้ประกอบอาชีพขับรถเช่าบริเวณอ่าว Subic บอกว่าตนและชาวฟิลิปปินส์หลายคนยินดีต้อนรับทหารอเมริกัน สำหรับตนถือว่าทหารสหรัฐฯเข้ามาช่วยเหลือฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะในเรื่องความขัดแย้งกับจีนบริเวณที่เรียกว่า Scarborough Shoal

สามปีก่อน จีนกับฟิลิปปินส์เข้าสู่ภาวะตึงเครียดหลังจากเรือของทั้งสองประเทศเผชิญหน้ากันบริเวณ Scarborough Shoal เป็นเวลานานสองเดือน และอีกหนึ่งปีต่อมา จีนเกิดความไม่พอใจอย่างยิ่งที่ ปธน.ฟิลิปปินส์ เบนิกโน่ อาคีโน่ ได้ยื่นเรื่องให้ศาลโลกตัดสินว่าการกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ของจีนเหนือพื้นที่ 3 ล้าน 5 แสน ตร.กม.ในทะเลจีนใต้ โดยอาศัยแผนที่โบราณของจีนนั้น เป็นการละเมิดกฏหมายระหว่างประเทศหรือไม่

จนมาถึงเมื่อปีที่แล้ว รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ลงนามร่วมกับสหรัฐฯในข้อตกลงสนับสนุนความร่วมมือทางการทหารระหว่างสองประเทศ ซึ่งยินยอมให้สหรัฐฯสามารถใช้ท่าเรือน้ำลึกอ่าว Subic ในการขนส่งยุทธปัจจัยและกำลังพล สำหรับการซ้อมรบกับฟิลิปปินส์ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้เรือของสหรัฐฯ ยังใช้อ่าว Subic เป็นสถานที่เติมเสบียงอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอด้วย

อย่างไรก็ตาม เวลานี้ทหารอเมริกันถูกจำกัดบริเวณเพื่อไม่ให้เข้าถึงพื้นที่บางส่วน รวมถึงส่วนที่เป็นสถานบันเทิง เช่น ผับ บาร์ ต่างๆ หลังจากทหารอเมริกันผู้หนึ่งถูกตั้งข้อหาฆาตรกรรมชายแปลงเพศชาวฟิลิปปินส์ในโรงแรมแห่งหนึ่งในเมือง Olongapo เมื่อไม่นานนี้

ถึงกระนั้น ผู้คนใน Olongapo ยังคาดหวังว่าจะมีทหารอเมริกันเดินทางเข้ามามากขึ้น เพื่อกระตุ้นธุรกิจของชาวบ้านแถบนี้

คุณ Mar Amil พ่อค้าเจ้าของแผงขายโทรศัพท์มือถือวัย 45 ปี เชื่อว่า 99% ของชาวบ้านใน Olongapo ต้องการเห็นทหารอเมริกันกลับมาที่ฐานทัพเรือ Subic อีกครั้ง

ซึ่งตามกำหนดการเดิมก็คงต้องรอถึงเดือน เม.ย ปีหน้า ที่จะมีทหารอเมริกันราว 6,000 นาย ขึ้นบกที่อ่าว Subic อีกครั้ง เพื่อร่วมซ้อมรบประจำปีกับกองทัพฟิลิปปินส์


(ผู้สื่อข่าว Ralph Jennings รายงานจากฟิลิปปินส์ / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง)

XS
SM
MD
LG