ลิ้งค์เชื่อมต่อ

'ออฟฟิศยุคใหม่' กับระบบดิจิตัลที่เพิ่มขึ้นและค่าเช่าที่ลดลง


Business News
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:27 0:00
Direct link


การระบาดของโควิด-19 ทำให้บริษัทต่าง ๆ ต้องปรับรูปแบบการทำงานให้เน้นที่การทำงานจากบ้านมากขึ้น ซึ่งยิ่งการระบาดครั้งนี้ยืดเยื้อออกไป ก็ดูเหมือนการทำงานจากบ้าน หรือ Work from home กำลังกลายเป็นสิ่งปกติธรรมดาในยุคใหม่มากขึ้นเรื่อย ๆ

สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น เปิดเผยผลสำรวจของบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน KPMG ที่ระบุว่า 68% หรือมากกว่า 2 ใน 3 ของผู้บริหารระดับซีอีโอของบริษัทขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ มีแผนลดขนาดของออฟฟิศลง และเพิ่มการทำงานจากบ้านของพนักงานมากขึ้น โดยเฉพาะบริษัทในเมืองใหญ่ที่มีค่าเช่าสำนักงานราคาแพง อย่างเช่น นิวยอร์ก และซานฟรานซิสโก

การสำรวจที่เก็บข้อมูลจากบริษัทที่มีรายรับต่อปีมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ระบุว่า บริษัทเหล่านั้นกำลังลงทุนในด้านเทคโนโลยีดิจิตัลมากขึ้น นั่นหมายความว่าแม้จะมีวัคซีนโควิด-19 ออกมาใช้ในเร็ววันนี้ การเปลี่ยนระบบไปทำงานจากบ้านมากขึ้นก็จะยังคงดำเนินต่อไป

พอล น็อปป์ ซีอีโอของ KPMG กล่าวว่า หลายบริษัทได้พิสูจน์แล้วว่าการทำงานจากบ้านนั้นสามารถเกิดประสิทธิผลได้ไม่แพ้กัน ดังนั้นนี่จะเป็นแนวโน้มในระยะยาว ซึ่งในอนาคตนั้น เชื่อว่าแม้แต่ผ่ายทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายขาย หรือฝ่ายบริการลูกค้า ก็จะถูกทำให้เป็นระบบดิจิตัลมากขึ้น ขณะที่การเช่าพื้นที่สำนักงานจะลดลง

ผลการสำรวจชิ้นนี้ชี้ว่า เกือบ 3 ใน 4 ของซีอีโอบริษัทใหญ่ บอกว่ามีแผนจะลงทุนในด้านระบบดิจิตัลมากขึ้นสำกรับการทำงานในยุคใหม่ ขณะที่ 2 ใน 3 มีแผนจัดทำโครงสร้างการทำงานใหม่ที่เน้นการใช้ระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์มากขึ้น

นอกจากนี้ เกือบ 3 ใน 4 ของซีอีโอ บอกว่า การทำงานจากบ้านทำให้ทางบริษัทสามารถรับสมัครพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญสูงได้มากขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะไม่ต้องกังวลว่าพนักงานเหล่านั้นจะสามารถย้ายงานไปตามเมืองต่าง ๆ ได้หรือไม่นั่นเอง นอกจากนี้ยังอาจทำให้จ่ายค่าจ้างพนักงานถูกลงเพราะค่าครองชีพต่ำลง

อย่างไรก็ตามในฝั่งของลูกจ้าง ไม่ใช่ทุกคนที่ชื่นชอบการทำงานจากบ้าน เช่น ลูกจ้างบางคนอาจรู้สึกว่าเป็นภาระหนักเกินไปสำหรับการทำงานไปด้วยและต้องดูแลลูก ๆ หรือผู้สูงอายุไปด้วย

นอกจากนี้ บรรดาเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ คือธุรกิจอีกส่วนหนึ่งที่กำลังเดือดร้อน เนื่องจากรายได้ที่ลดลงจากค่าเช่าสำนักงานที่หายไป

XS
SM
MD
LG