ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การศึกษา ชี้ ระบบเผาผลาญไม่ได้ช้าลงในช่วงวัยกลางคน


CHILDREN OBESITY
CHILDREN OBESITY

การศึกษาชิ้นใหม่ ระบุว่า ระบบเผาผลาญในร่างกายมนุษย์จะเริ่มช้าลงเมื่ออายุ 60 ปีไปแล้ว ซึ่งลบล้างความเชื่อเดิมๆ ที่ว่า ระบบเผาผลาญจะทำงานช้าลงเมื่อเข้าสู่วัยกลางคน

ในระหว่างที่เราก้มมองหน้าท้องน้อยๆของตัวเอง และเริ่มตั้งคำถามและหาคำตอบเกี่ยวกับระบบเผาผลาญในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดที่ว่า พออายุ 20 ปีไปแล้ว เราจะเริ่มน้ำหนักขึ้น เพราะระบบเผาผลาญช้าลง และยิ่งวัยกลางคนจะยิ่งเผาผลาญได้น้อยลงอีก หรือแนวคิดที่ว่าผู้หญิงมีระดับการเผาผลาญน้อยกว่าผู้ชาย จึงทำให้ควบคุมน้ำหนักได้ยากกว่า หรือแม้กระทั่งแนวคิดที่ว่าภาวะหมดประจำเดือนจะทำให้ระบบเผาผลาญแย่ลงไปอีก

Obesity Health
Obesity Health

มีการศึกษาชิ้นใหม่ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science เมื่อวันพฤหัสบดี ซึ่งสื่อเดอะนิวยอร์กไทม์และบีบีซีนำมารายงาน ออกมาลบล้างแนวคิดเดิมๆเกี่ยวกับระบบเผาผลาญของมนุษย์

ทีมวิจัยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 6,400 คน ช่วงอายุตั้งแต่ 8 วัน จนถึง 95 ปี ใน 29 ประเทศทั่วโลก พบว่า ระดับการเผาผลาญในร่างกายมนุษย์ จะอยู่ในระดับสูงสุดเมื่ออายุได้ 1 ขวบปี และยังทำงานได้ดีเต็มที่แม้จะเข้าสู่วัยกลางคนไปแล้ว ก่อนจะเริ่มเผาผลาญช้าลงเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป

การศึกษานี้ แบ่งระดับระบบการเผาผลาญในร่างกายออกเป็น 4 ช่วงด้วยกัน ได้แก่

  • เมื่อแรกเกิดจนถึง 1 ขวบ จะมีระดับการเผาผลาญพุ่งสูงกว่า 50% เมื่อเทียบกับระดับเผาผลาญในวัยผู้ใหญ่
  • ตั้งแต่อายุ 1-20 ปี ระดับเผาผลาญจะลดลงราว 3% ต่อปี
  • ในช่วงอายุ 20-60 ปี ระดับการเผาผลาญจะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง
  • เมื่ออายุ 60 ปี ระดับการเผาผลาญจะลดลงเฉลี่ย 0.7% ต่อปี จนกระทั่งอายุ 90 ปี จะมีระดับการเผาผลาญลดลงราว 26% เมื่อเทียบกับช่วงวัยกลางคน

ในการศึกษานี้ยังพบด้วยว่า ไม่มีความแตกต่างระหว่างระดับการเผาผลาญของหญิงและชาย ไม่มีระดับการพุ่งสูงขึ้นของระบบเผาผลาญในร่างกายในช่วงวัยแตกเนื้อหนุ่มสาว ช่วงตั้งครรภ์ รวมทั้งไม่มีสัญญาณการลดลงของระบบเผาผลาญอย่างชัดเจนเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนในผู้หญิงอย่างที่เข้าใจกันในอดีต

ผลงานการวิจัยนี้ ได้ตีโจทย์ใหม่ในวงการแพทย์หลายมิติ ทั้งปัญหาขาดแคลนโภชนาการในเด็ก การรักษาผู้ป่วยด้วยการใช้ยาในช่วงอายุต่างๆ และภาวะโรคอ้วนที่เป็นปัญหาใหญ่ทั่วโลก

Americans Special Diets
Americans Special Diets

(ที่มา: วารสาร Science, the New York Times และ BBC)

XS
SM
MD
LG