ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สิงคโปร์เปลี่ยนน้ำเสียให้กลายเป็นน้ำดื่มสะอาด-สนองความต้องการผู้บริโภคได้ถึง 40%


This picture taken on July 27, 2021 shows a tank (R) for processed used water storage outside the Bedok NEWater plant in Singapore. - Giant pumps whir deep underground at the plant in Singapore that helps transform sewage into water so clean it is…
This picture taken on July 27, 2021 shows a tank (R) for processed used water storage outside the Bedok NEWater plant in Singapore. - Giant pumps whir deep underground at the plant in Singapore that helps transform sewage into water so clean it is…
Sci Report
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:14 0:00


สิงคโปร์ ประเทศที่มีขนาดเล็กและมีสภาพภูมิศาสตร์เป็นเกาะแห่งนี้ อาศัยความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรที่มีจำกัด และประสบความสำเร็จมาโดยตลอด และล่าสุดสามารถจัดการจัดหาน้ำดื่มมาให้แก่ประชาชนเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ปั๊มน้ำขนาดยักษ์ที่ส่งเสียงดังขึ้นมาจากชั้นใต้ดินของโรงงานแห่งหนึ่งในสิงคโปร์ คือ เครื่องจักรที่ทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำเสียให้กลายมาเป็นน้ำสะอาดที่มีคุณภาพดีพอสำหรับประชาชนใช้บริโภค พร้อมๆ กับช่วยรัฐบาลดำเนินมาตรการลดมลพิษไปในตัวได้ด้วย

เกาะเล็กๆ อย่างสิงคโปร์ ที่มีพื้นที่ไม่ถึง 730 ตารางกิโลเมตร ตามข้อมูลของรัฐบาล มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติเพียงน้อยนิด และส่วนใหญ่แล้ว ต้องพึ่งพาน้ำจากมาเลเซียซึ่งเป็นเพื่อนบ้านติดกันมาโดยตลอด

People make their way along the park connector at Marina Bay East as they enjoy the holiday to mark the country's National Day holiday in Singapore on August 9, 2021.
People make their way along the park connector at Marina Bay East as they enjoy the holiday to mark the country's National Day holiday in Singapore on August 9, 2021.

แต่กระนั้น รัฐบาลสิงคโปร์ตัดสินใจริเริ่มโครงการพัฒนาระบบที่มีความก้าวล้ำนำสมัยในการบำบัดน้ำเสีย ที่ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอุโมงค์และโรงงานไฮเทคจำนวนหนึ่ง ด้วยความหวังที่จะเพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น

หน่วยงานดูแลกิจการที่เกี่ยวกับน้ำของสิงคโปร์ ประเมินไว้ว่า การนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่นี้จะช่วยตอบสนองความต้องการน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภคภายในประเทศได้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการรวม และคาดว่า ตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นถึงระดับ 55 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี ค.ศ. 2060 ด้วย

ปัจจุบัน น้ำที่ได้รับการบำบัดเพื่อนำมาใช้ใหม่นั้น ถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมเสียส่วนใหญ่ และที่เหลือนั้นถูกส่งไปยังอ่างเก็บน้ำของประเทศที่มีประชากร 5.7 ล้านคนแห่งนี้

รายงานข่าวระบุว่า ระบบที่สิงคโปร์นำมาใช้บำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำคุณภาพดีนี้ยังสามารถช่วยลดปัญหามลพิษทางน้ำด้วย เนื่องจากมีการปล่อยน้ำที่ได้รับการบำบัดแล้วเป็นจำนวนเพียงเล็กน้อยเท่านั้นกลับคืนลงสู่ทะเล ซึ่งเป็นสิ่งที่แตกต่างจากสิ่งที่เกือบทุกประเทศทั่วโลกทำอยู่

องค์การสหประชาชาติประเมินไว้ว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของน้ำเสียจากทั่วโลกนั้นไหลกลับสู่ระบบนิเวศ โดยไม่ได้รับการบำบัดหรือถูกนำกลับมาใช้อีก

โหลว เพ่ย ชิน หัวหน้าทีมวิศวกรแผนกฟื้นฟูน้ำ ของคณะกรรมการสาธารณูปโภคสิงคโปร์ บอกกับผู้สื่อข่าว เอเอฟพี ว่า “สิงคโปร์ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ และมีพื้นที่อันจำกัด ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเรา(สิงคโปร์)จึงต้องคอยหาหนทางสำรวจแหล่งน้ำและหาวิธีเพิ่มอุปทานน้ำของเรา(ประเทศ)ตลอดเวลา” และเธอยังบอกด้วยว่า ยุทธศาสตร์หลักอย่างหนึ่งที่สิงคโปร์ใช้ก็คือ “การเก็บรวบรวมทุกหยด” และ “นำมาใช้ใหม่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด” นั่นเอง

วิธีการดังกล่าว คือสิ่งที่สิงคโปร์นำมาปฏิบัติใช้นอกเหนือจากช่องทางหลักๆ เช่น การนำเข้าน้ำ การกักเก็บน้ำไว้ในอ่างเก็บน้ำ และกระบวนการแยกเกลือออกจากน้ำทะเล

สำหรับระบบรีไซเคิลน้ำที่สิงคโปร์ใช้อยู่นั้น มีศูนย์กลางใหญ่ที่โรงงาน Changi Water Reclamation Plant ซึ่งมีใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการดำเนินงาน และตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันออกของเกาะ โดยส่วนหนึ่งของโรงงานนี้ตั้งอยู่ใต้ดินที่มีความลึกเท่ากับอาคาร 25 ชั้น และรับน้ำเสียที่ไหลผ่านมาทางอุโมงค์ยักษ์ซึ่งมีความยาว 48 กิโลเมตร และเชื่อมต่อกับบ่อน้ำเสียต่างๆ อยู่

ภายในโรงงานแห่งนี้เป็นเหมือนเขาวงกตของท่อเหล็กและถังเหล็กขนาดต่างๆ รวมทั้งระบบการกรองทั้งหลาย และเครื่องจักรอื่นๆ ที่ร่วมกันทำหน้าที่บำบัดน้ำเสียปริมาณสูงสุดได้ถึง 900 ล้านลิตรต่อวัน หรือมากพอที่จะนำไปเปลี่ยนน้ำในสระว่ายน้ำมาตรฐานโอลิมปิกทุก 24 ชั่วโมงได้ตลอด 1 ปีเลยทีเดียว

นอกจากนั้น ยังมีอาคารอีกแห่งภายในพื้นที่โรงงานนี้ที่ได้รับการติดตั้งเครือข่ายเครื่องระบายอากาศเพื่อช่วยทำให้อากาศให้ความรู้สึกสดชื่นเสมอ แม้ว่า จะยังมีกลิ่นเน่าเสียลอยอยู่ในอากาศบ้างก็ตาม

น้ำเสียที่ส่งเข้ามายังโรงงานแห่งนี้จะต้องเข้าสู่ขั้นตอนการกรองเบื้องต้นก่อนที่ปั๊มน้ำกำลังสูงจะส่งต่อไปยังส่วนงานที่อยู่บนดินเพื่อทำการบำบัดในขั้นตอนต่อไป ซึ่งประกอบไปด้วยการทำความสะอาดเพื่อกำจัดเชื้อต่างๆ ทั้งแบคทีเรียและไวรัส ด้วยกระบวนการกรองล้ำสมัย รวมทั้งการฆ่าเชื้อด้วยรังสีอัลตราไวโอเล็ต

สิ่งที่ได้ออกมาจากขั้นตอนทั้งหมดคือ ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อว่า NEWater ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้ในโรงงานผลิตไมโครชิป ที่ตั้งอยู่ดาษดื่นทั่วสิงคโปร์ และต้องใช้น้ำคุณภาพสูงในการผลิต รวมทั้งเพื่อระบบทำความเย็นภายในอาคารโรงงานเหล่านั้นด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น สิงคโปร์ยังมีแผนที่จะขยายระบบการรีไซเคิลของประเทศให้มีการใช้งานมากขึ้นด้วย โดยรัฐบาลวางแผนสร้างอุโมงค์ใต้ดิน และโรงงานฟื้นฟูน้ำขนาดใหญ่ เพิ่มอีกเพื่อให้บริการพื้นที่ทางด้านตะวันตกของเกาะ โดยมีกำหนดที่จะสร้างเสร็จภายในปี ค.ศ. 2025

รายงานข่าวระบุด้วยว่า สิงคโปร์น่าจะลงทุนไปทั้งหมดเป็นเงินราว 10,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือกว่า 244,000 ล้านบาทเพื่ออัพเกรดโครงสร้างพื้นฐานที่ทำหน้าที่บำบัดน้ำ เมื่อโครงการก่อสร้างต่างๆ เสร็จสิ้นสมบูรณ์

ทั้งนี้ แรงผลักดันที่ทำให้สิงคโปร์ต้องพยายามพึ่งพาตนเองมากขึ้น ก็คือ ความสัมพันธ์ที่ลุ่มๆ ดอนๆ กับมาเลเซีย ซึ่งเริ่มมีปัญหาตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ. 1965 ที่มาเลเซียขับสิงคโปร์ออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพที่มีตัวตนอยู่ไม่นาน รวมทั้ง ความไม่ลงรอยเกี่ยวกับประเด็นการจัดหาน้ำระหว่างกันที่ดำเนินมาตั้งแต่อดีต

อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของสิงคโปร์ในด้านนี้ ทำให้ สเตฟาน เวิร์ทซ ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัย Nanyang Technological University ออกมาย้ำถึงความสำคัญที่แต่ละประเทศต้องพยายามทำการบำบัดน้ำเสียของตนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมเตือนว่า หากไม่ทำเช่นนั้น อาจจะต้องเผชิญกับผลกระทบร้ายแรกในระยะยาว เพราะ “โลกใบนี้มีน้ำอยู่จำกัด” และ “หากเราทุกคนยังคงเฝ้าก่อมลพิษต่อน้ำสะอาดต่อไป สักวันหนึ่ง มนุษย์จะก้าวไปถึงจุดที่ ... การบำบัดกลายมาเป็นเรื่องที่มีราคาแพงอย่างที่สุด”

XS
SM
MD
LG