ลิ้งค์เชื่อมต่อ

 
นักวิจัยสหรัฐฯตรียมทดลองวัคซีนโรคเอดส์ชนิดใหม่กับผู้ติดเชื้อในปีหน้า

นักวิจัยสหรัฐฯตรียมทดลองวัคซีนโรคเอดส์ชนิดใหม่กับผู้ติดเชื้อในปีหน้า


วัคซีนป้องกันเอดส์ชนิดใหม่ช่วยกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดีเอ็นเอเพื่อปรับให้เซลล์กลายเป็นตัวต่อต้านเชื้อไวรัส HIV ที่เข้าสู่ร่างกาย

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:34 0:00
Direct link

ทีมนักวิจัยในสหรัฐกำลังพัฒนาวัคซีนที่กระตุ้นให้เซลล์กล้ามเนื้อที่แข็งแรงผลิตสารเคมีที่มีศักยภาพในการป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเอชไอวี ก่อให้เกิดโรคเอดส์ในคน

ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่สถาบัน Scripps Research ได้ใช้เทคนิคนี้ในการทดลองกับลิงที่ได้รับเชื้อ SIV ซ้ำๆ หลายครั้ง ปรากฏว่าลิงไม่เกิดอาการป่วยจากเชื้อไวรัส SIV ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสชนิดที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องในลิง เช่นเดียวกับเชื้อเอชไอวีที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์ในคน

ภายหลังการบำบัด คุณ Michael Farzan นักวิจัยแห่งสถาบัน Scripps กล่าวว่าลิงที่ได้รับการบำบัดด้วยวิธีนี้ไม่เกิดอาการป่วยด้วยเชื้อ SIV เลยแม้จะได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายอยู่ตลอดเวลา

เขากล่าวกับผู้ืสื่อข่าววีโอเอว่าทีมงานฉีดเชื้อ SIV แก่ลิงในการทดลองอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มปริมาณไวรัสขึ้นหนึ่งเท่าตัวทุกครั้ง ทีมงานฉีดเชื้อไวรัสแก่ลิงในปริมาณที่มากพอที่จะทำให้ลิงโดยทั่วไปติดเชื้อได้ แต่ปรากฏว่าลิงในการทดลองยังแข็งแรงดี ผลการวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature ไปเมื่อเร็วๆ นี้

โดยปกติแล้ววัคซีนแต่ละชนิดจะช่วยกระตุ้นให้ระบบภูมิต้านทานในร่างกายต่อต้านต่อเชื้อโรคโดยจะทำลายเชื้อโรคทันทีที่มันเข้าสู่ร่างกาย แต่วัคซีนป้องกันเอดส์ชนิดทดลองหลายตัวที่พยายามพัฒนาขึ้นมาไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีเพราะเชื้อไวรัสเอชไอวีปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาเพื่อเลี่ยงไม่ให้ระบบภูมิต้านทานจดจำลักษณะของมันได้

คุณ Farzan หัวหน้าทีมวิจัยนี้กล่าวว่าเทคนิคที่คิดค้นกระตุ้นให้เซลล์สร้างสารเคมีขึ้นมาสองชนิด สารเคมีตัวแรกจะมุ่งเป้าไปการระบุตัวเชื้อไวรัสเอชไอวีส่วนที่สามารถกลายพันธุ์อยู่ตลอดเวลาเพื่อเลี่ยงการตรวจจับของระบบภูมิต้านทานของร่างกาย

เมื่อระบุตัวไวรัสเอชไอวีตามบทบาทนี้ได้แล้ว สารเคมีตัวที่สองจะหลอกให้เชื้อไวรัสเอชไอวีทำลายตัวเอง โดยเชื้อโรคจะไม่มีโอกาสก่อให้เกิดการติดเชื้อในเซลล์ได้เลย

คุณ Farzan กล่าวว่าเนื่องจากเชื้อเอชไอวีถูกหลอกให้คิดว่ามันได้เข้าไปเกาะติดกับเซลล์ในร่างกายเรียบร้อยแล้วและพร้อมที่จะเริ่มทำงานตามหน้าที่ของมันเพื่อเจาะเข้าภายในเซลล์ แต่เนื่องจากตัวเชื้อไวรัสไม่ได้เกาะอยู่กับเซลล์อย่างที่มันเข้าใจ การเริ่มทำงานของเชื้อไวรัสเอชไอวีจึงมีผลให้มันทำลายตัวเอง

ในขณะเดียวดัน เซลล์ในกล้ามเนื้อยังคงปล่อยสารเคมีทั้งสองชนิดออกมาอย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้เชื้อไวรัสเอชไอวีทำลายตัวเองและไม่ก่อให้เกิดโรคเอดส์ในผู้ติดเชื้อ คุณ Farzan ชี้ว่าสารเคมีนี้มีศักยภาพทั้งในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและการบำบัดเชื้อไวรัสในผู้ติดเชื้อ

ทีมงานวิจัยชี้ว่าต้องการที่จะนำการป้องกันและบำบัดเอชไอวีวิธีนี้ไปทดลองทางคลีนิคในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ไม่สามารถใช้ยาต้านไวรัสในการบำบัดได้

XS
SM
MD
LG