การทดลองยาต้านเอดส์ Tenofovir กับกลุ่มความเสี่ยงสูงในประเทศไทย แสดงให้เห็นว่าตัวยาดังกล่าวสามารถลดความเสี่ยงได้สูงถึง 49%
นักวิจัยจากสหรัฐและประเทศไทยกล่าวว่า ผลการทดลองยา Tenofovir แสดงให้เห็นว่า สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส HIV ในหมู่ผู้ฉีดยาเสพติดได้สูงถึง 49%
การศึกษาวิจัย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ และเป็นการร่วมมือระหว่างศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ กรุงเทพมหานคร และกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย เริ่มต้นมาตั้งแต่ปีค.ศ. 2005 หรือราวๆ 8 ปีที่แล้ว และมีอาสาสมัครทั้งชายและหญิง เข้าร่วมการทดลอง 2,400 คน ทั้งหมดเป็นผู้เสพยาเสพติดด้วยการฉีด แต่ไม่มีผู้ใดติดเชื้อไวรัส HIV
นักวิจัยแบ่งอาสาสมัครเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งได้รับยา Tenofovir อีกกลุ่มหนึ่งได้รับยาหลอก จากนั้น นักวิจัยติดตามดูว่ามีใครบ้างที่ติดเชื้อ HIV
ผลปรากฏว่า ในกลุ่มที่ใช้ยาหลอก มีผู้ติดเชื้อ 33 คน กลุ่มที่ใช้ยาต้านเอดส์ Tenofovir มี 17 คนที่ติดเชื้อ HIV
สำหรับผู้ที่รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ อัตราความเสี่ยงลดได้มากถึง 74%
นายแพทย์ Michael Martin ผู้อำนวยการโครงการวิจัยเชื้อ HIV ของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ สำนักงานสาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บอกว่าในขณะที่นักวิจัยยังมุ่งหน้าทำงานหาวัคซีนที่จะป้องกันโรคเอดส์ให้ได้เต็ม 100% ผลการทดลอง Tenofovir ที่ได้นับว่ามีความสำคัญมากที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อ HIV เท่าที่เคยมีมา และว่านอกจากจะใช้ยาขนานนี้ได้ผลกับผู้ฉีดยาเสพติดแล้ว ยังใช้ได้ผลกับผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชาย และคู่สามีภรรยาต่างเพศได้ด้วย
กลุ่มผู้ฉีดยาเสพติดเป็นกลุ่มสุดท้ายของการทดลองยาต้านเอดส์ Tenofovir ในกรุงเทพมหานคร
ตัวเลขสำหรับผู้ติดเชื้อ HIV รายใหม่ๆ แสดงให้เห็นว่า 80% เป็นผู้ฉีดยาเสพติดในยุโรปตะวันออกและเอเชียกลาง 8% ในสหรัฐ และอัตราเฉลี่ยทั่วโลกเท่ากับ 10%
นายแพทย์ขจิต ชูปัญญา หัวหน้าคณะนักวิจัยชุดนี้ กล่าวว่า เมื่อผลการวิจัยยาต้านเอดส์ขนานนี้ แสดงให้เห็นว่าได้ผล รัฐบาลควรจัดหายานี้ให้ประชาชนเพื่อช่วยชีวิต ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย แต่ในทุกประเทศ
ประมาณกันว่า 30-50% ของผู้ฉีดยาเสพติดในประเทศไทยติดเชื้อไวรัส HIV
ในอีกด้านหนึ่ง ผู้ที่เข้าร่วมการทดลองยา รายงานว่า ได้ลดการใช้ยาเสพติด การร่วมใช้เข็มฉีดยา และการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการปกป้องลง
นักวิจัยให้ความเห็นว่า รายงานดังกล่าวเป็นผลมาจากการได้รับการศึกษาและคำแนะนำเกี่ยวกับเชื้อไวรัส HIV ที่ทำให้เป็นโรคเอดส์ ซึ่งยังคงเป็นรูปแบบของการป้องกันที่ได้ผลมากที่สุดรูปแบบหนึ่งอยู่ต่อไป
นักวิจัยจากสหรัฐและประเทศไทยกล่าวว่า ผลการทดลองยา Tenofovir แสดงให้เห็นว่า สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส HIV ในหมู่ผู้ฉีดยาเสพติดได้สูงถึง 49%
การศึกษาวิจัย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ และเป็นการร่วมมือระหว่างศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ กรุงเทพมหานคร และกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย เริ่มต้นมาตั้งแต่ปีค.ศ. 2005 หรือราวๆ 8 ปีที่แล้ว และมีอาสาสมัครทั้งชายและหญิง เข้าร่วมการทดลอง 2,400 คน ทั้งหมดเป็นผู้เสพยาเสพติดด้วยการฉีด แต่ไม่มีผู้ใดติดเชื้อไวรัส HIV
นักวิจัยแบ่งอาสาสมัครเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งได้รับยา Tenofovir อีกกลุ่มหนึ่งได้รับยาหลอก จากนั้น นักวิจัยติดตามดูว่ามีใครบ้างที่ติดเชื้อ HIV
ผลปรากฏว่า ในกลุ่มที่ใช้ยาหลอก มีผู้ติดเชื้อ 33 คน กลุ่มที่ใช้ยาต้านเอดส์ Tenofovir มี 17 คนที่ติดเชื้อ HIV
สำหรับผู้ที่รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ อัตราความเสี่ยงลดได้มากถึง 74%
นายแพทย์ Michael Martin ผู้อำนวยการโครงการวิจัยเชื้อ HIV ของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ สำนักงานสาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บอกว่าในขณะที่นักวิจัยยังมุ่งหน้าทำงานหาวัคซีนที่จะป้องกันโรคเอดส์ให้ได้เต็ม 100% ผลการทดลอง Tenofovir ที่ได้นับว่ามีความสำคัญมากที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อ HIV เท่าที่เคยมีมา และว่านอกจากจะใช้ยาขนานนี้ได้ผลกับผู้ฉีดยาเสพติดแล้ว ยังใช้ได้ผลกับผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชาย และคู่สามีภรรยาต่างเพศได้ด้วย
กลุ่มผู้ฉีดยาเสพติดเป็นกลุ่มสุดท้ายของการทดลองยาต้านเอดส์ Tenofovir ในกรุงเทพมหานคร
ตัวเลขสำหรับผู้ติดเชื้อ HIV รายใหม่ๆ แสดงให้เห็นว่า 80% เป็นผู้ฉีดยาเสพติดในยุโรปตะวันออกและเอเชียกลาง 8% ในสหรัฐ และอัตราเฉลี่ยทั่วโลกเท่ากับ 10%
นายแพทย์ขจิต ชูปัญญา หัวหน้าคณะนักวิจัยชุดนี้ กล่าวว่า เมื่อผลการวิจัยยาต้านเอดส์ขนานนี้ แสดงให้เห็นว่าได้ผล รัฐบาลควรจัดหายานี้ให้ประชาชนเพื่อช่วยชีวิต ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย แต่ในทุกประเทศ
ประมาณกันว่า 30-50% ของผู้ฉีดยาเสพติดในประเทศไทยติดเชื้อไวรัส HIV
ในอีกด้านหนึ่ง ผู้ที่เข้าร่วมการทดลองยา รายงานว่า ได้ลดการใช้ยาเสพติด การร่วมใช้เข็มฉีดยา และการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการปกป้องลง
นักวิจัยให้ความเห็นว่า รายงานดังกล่าวเป็นผลมาจากการได้รับการศึกษาและคำแนะนำเกี่ยวกับเชื้อไวรัส HIV ที่ทำให้เป็นโรคเอดส์ ซึ่งยังคงเป็นรูปแบบของการป้องกันที่ได้ผลมากที่สุดรูปแบบหนึ่งอยู่ต่อไป