ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทยาศาสตร์พบแหล่งเเคลเซียมใน "เปลือกกุ้งน้ำจืด" ตั้งเป้าใช้รักษาภาวะขาดแคลเซียม


please wait

No media source currently available

0:00 0:02:53 0:00

"กุ้งเครฟิชสีน้ำเงิน" เป็นกุ้งสายพันธุ์แปลกสายพันธุ์หนึ่งที่คนนิยมเลี้ยงเพื่อเพิ่มสีสันให้กับตู้ปลาที่บ้าน

นอกจากสีที่แปลกแล้ว กุ้งเครฟิชพันธุ์นี้ยังมีความแปลกอีกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือจะลอกคราบได้หลายครั้ง และสร้างเปลือกใหม่ที่อุดมไปด้วยเเคลเซียมขึ้นมาทดแทนได้อย่างรวดเร็ว

Yossi Ben ซีอีโอของบริษัท Amorphical กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า ตอนแรกเขาเลี้ยงกุ้งเครฟิชพันธุ์นี้เพื่อความสวยงาม และเขาสังเกตุเห็นว่ากุ้งเครฟิชพันธุ์นี้สร้างเปลือกใหม่ขึ้นมาได้เร็วกว่ากุ้งเครฟิชพันธุ์อื่นๆ ทั่วโลกถึง 10 เท่าตัว

เขาค้นพบว่ากุ้งเครฟิชสร้างก้อนหินที่ประกอบด้วยเเคลเซียมสะสมเอาไว้ในตัว

Ben เลี้ยงกุ้งเครฟิชตัวเล็กๆ เหล่านี้เพื่อเก็บเกี่ยวก้อนหินเเคลเซียมจากตัวกุ้ง ซึ่งนำไปผลิตเป็นเเคลเซียมเสริมให้คนรับประทาน โดยเขาบอกว่าเป็นเเคลเซียมที่ง่ายต่อร่างกายคนเราในการดูดซึม

Yossi Ben ซีอีโอของบริษัท Amorphical กล่าวว่าการค้นพบนี้ช่วยเเก้ปัญหาการดูดซึมแคลเซียมของร่างกายคนเรา เขาบอกว่าเเคลเซียมมีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์ เหมือนกับที่ปุ๋ยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชในทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นทั้งลำต้น ใบเเละผล

นักวิทยาศาสตร์ที่มีส่วนนำเเคลเซียมเสริมนี้ไปทดลองใช้ในคน กล่าวว่าการทดลองได้ผลน่าพอใจ

Nachum Vaisman นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Tel Aviv กล่าวว่า การพัฒนาเเคลเซียมที่ดูดซึมง่ายและราคาถูกนี้ มีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของคนมากมายทั่วโลก

หลังจากผลการทดสอบในสัตว์ทดลองได้ผลสำเร็จไปแล้ว เขากล่าวว่าทีมนักวิทยาศาสตร์กำลังพยายามทดสอบดูว่า เมื่อคนเรากินแคลเซียมชนิดนี้เข้าไป จะดูดซึมเข้าสู่กระเเสเลือดและเข้าไปสู่กระดูกอย่างที่ต้องการจริงหรือไม่

ทีมนักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า จากการทดลองในคนหลายครั้งที่ผ่านมา พบว่าเเคลเซียมชนิดใหม่นี้อาจช่วยบำบัดโรคกระดูกพรุน และน่าจะมีประโยชน์ต่อคนที่มีระดับเเคลเซียมในร่างกายต่ำอย่างรุนเเรงอีกด้วย

(รายงานโดย Kevin Enochs / เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว)

XS
SM
MD
LG