ลิ้งค์เชื่อมต่อ

 
'คิสซิงเจอร์' กับนโยบายต่างประเทศที่ยังส่งแรงกระเพื่อมทั่วเอเชีย

'คิสซิงเจอร์' กับนโยบายต่างประเทศที่ยังส่งแรงกระเพื่อมทั่วเอเชีย


เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ จับมือกับ เหมอ เจอ ตุง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนในขณะนั้น ระหว่างเยือนกรุงปักกิ่งเมื่อเดือน พ.ย. ปี 1973
เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ จับมือกับ เหมอ เจอ ตุง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนในขณะนั้น ระหว่างเยือนกรุงปักกิ่งเมื่อเดือน พ.ย. ปี 1973

เฮนรี คิสซิงเจอร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ผู้ถึงแก่กรรมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ถูกจดจำไปทั่วโลกในฐานะอัจฉริยะด้านนโยบายการต่างประเทศในยุคสงครามเย็น ผู้ผลักดันจีนให้เข้าสู่ประชาคมโลก และมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกในเวลานั้นด้วย

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การทำงานของคิสซิงเจอร์ในฐานะที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติและรัฐมนตรีต่างประเทศในยุคของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ได้ส่งผลกระทบต่อการเมืองของหลายประเทศจวบจนปัจจุบัน

ไทย

สำหรับประเทศไทย อดีตนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน กล่าวกับวีโอเอภาคภาษาไทย เมื่อเดือนพฤษภาคมปีนี้ ในโอกาสครบรอบวันคล้ายวันเกิด 100 ปีของเฮนรี คิสซิงเตอร์ ว่า "ตอนนั้นคนไทยจำนวนไม่น้อยไม่เข้าใจเมืองจีน ถือว่าจีนเป็นคอมมิวนิสต์ คบไม่ได้" ซึ่งนโยบายเปิดประตูสู่จีนของคิสซิงเจอร์ได้ช่วยสร้างแรงกระเพื่อมต่อไทยในส่วนนี้ด้วย รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ที่มุ่งเน้นด้านการทหารมากกว่าการทูต

'คิสซิงเจอร์' กับนโยบายต่างประเทศที่ยังส่งแรงกระเพื่อมทั่วเอเชีย
please wait
  • Auto
  • 240p
  • 360p
  • 480p
  • 720p
  • 1080p

No media source currently available

0:00 0:06:15 0:00
  • Auto
  • 240p
  • 360p
  • 480p
  • 720p
  • 1080p
เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ และริชาร์ด นิกสัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ
เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ และริชาร์ด นิกสัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ

อินโดจีน

ในเวียดนาม กัมพูชา และลาว คิสซิงเจอร์ถูกจดจำในฐานะผู้จัดวางกลยุทธ์สงครามที่นำไปสู่การทำลายและการสังหารประชาชนจำนวนมาก

แลร์รี เบอร์แมน ศาสตราจารย์กิตติคุณแห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเดวิส (University of California, Davis) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสงครามเวียดนาม กล่าวกับวีโอเอภาคภาษาเวียดนามว่า "หากเราพูดถึงเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การตัดสินใจของคิสซิงเจอร์ในแถบนี้ถือเป็นหายนะต่อประชาชนบริสุทธิ์หลายแสนคน ไม่ว่าเขาจะฉลาดล้ำแค่ไหน หรือมีความเก่งกาจด้านการเจรจาแค่ไหนก็ตาม" และว่า "นั่นคือคำตัดสินทางประวัติศาสตร์ที่มีต่อเขา"

ในช่วงสงครามเวียดนามระหว่างปี 1965 - 1975 สหรัฐฯ และชาติพันธมิตรได้ทิ้งระเบิดรวมน้ำหนักมากกว่า 7.5 ล้านตันใส่เวียดนาม ลาว และกัมพูชา ซึ่งมากกว่าปริมาณระเบิดที่ใช้ในยุโรปและเอเชียในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองถึงสองเท่า อ้างอิงจากข้อมูลในเว็บไซต์ Storymaps

นักวิเคราะห์ชี้ว่า นโยบายต่างประเทศของคิสซิงเจอร์ที่มีเป้าหมายปราบปรามคอมมิวนิสต์ในเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตและจีน คือสาเหตุที่ทำให้ประชาชนหลายแสนคนต้องจบชีวิตลงด้วย

ระหว่างปี 1964 - 1973 กองทัพสหรัฐฯ ทิ้งระเบิดรวม 2,500 ล้านลูกใส่ลาว โดยมีเป้าหมายทำลายพื้นที่เรียกว่า "โฮจิมินห์เทรล" ซึ่งเป็นเส้นทางที่กองทัพเวียดนามเหนือใช้ลำเลียงกำลังพลและอาวุธไปยังเวียดนามใต้ ทำให้ลาวกลายเป็นประเทศที่ถูกถล่มด้วยระเบิดมากที่สุดในโลกอ้างอิงจากเว็บไซต์ Legacies of War และทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายหมื่นคน

กองหัวกระโหลกประชาชนที่ถูกสังหาร ที่ทุ่งสังหารเจิงเอก ของกองทัพเขมรแดงในกัมพูชา
กองหัวกระโหลกประชาชนที่ถูกสังหาร ที่ทุ่งสังหารเจิงเอก ของกองทัพเขมรแดงในกัมพูชา

กัมพูชา

เอริน ลิน ผู้ช่วยศาสตราจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยโอไฮโอ สเตท (Ohio State University) เขียนไว้ในหนังสือชื่อ "When the Bombs Stopped" ว่า สหรัฐฯ ทิ้งระเบิดราว 500,000 ลูกใส่กัมพูชาในช่วงที่ปฏิบัติการของซีไอเอขยายจากลาวเข้าไปที่กัมพูชา ซึ่งคาดว่าทำให้มีประชาชนเสียชีวิตราว 150,000 คน ตามข้อมูลจาก เบน เคียร์แนน นักประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเยล (Yale University)

โครงการศึกษาด้านการสังหารล้างเผ่าพันธุ์ ของมหาวิทยาลัยเยล ระบุว่า การทิ้งระเบิดอย่างหนักหน่วงของสหรัฐฯ ในกัมพูชา ในช่วงสงครามเวียดนาม ทำให้ประชาชนจำนวนมากหันไปเข้าร่วมกับกลุ่มแข็งข้อต่อต้าน จนนำไปสู่การรัฐประหารในปี 1970 และการขึ้นสู่อำนาจของกองกำลังเขมรแดง จนกระทั่งถึงเหตุการณ์สังหารล้างเผ่าพันธุ์ชาวกัมพูชา

กองทัพสหรัฐฯ เดินทางออกจากเวียดนามเมื่อปี 1973 แต่ 50 ปีหลังจากนั้น ยังคงมีการพบระเบิดที่ไม่ทำงานจำนวนมากในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา

รอส จันทราบต นักประวัติศาสตร์เขมรและที่ปรึกษาของอดีตนายกรัฐมนตรีฮุน เซน กล่าวกับวีโอเอภาคภาษาเขมรว่า "เฮนรี คิสซิงเจอร์ ต้องรับผิดชอบต่อการดึงกัมพูชาเข้าร่วมในสงคราม ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากมาย และมีระเบิดตกค้างในกัมพูชาจวบจนปัจจุบัน"

โสพาล เอียร์ นักรัฐศาสตร์อเมริกันเชื้อสายกัมพูชา กล่าวกับสื่อวอชิงตันโพสต์ว่า "ความจริงที่น่าเศร้าคือ เขาทิ้งมรดกเอาไว้ซึ่งชาวกัมพูชาจำนวนมากต้องเป็นผู้ชดใช้" และ "ทุกวันนี้ ยังคงมีประชาชนที่สูญเสียอวัยวะต่าง ๆ หรือเสียชีวิตจากความพยายามดำเนินชีวิตของพวกเขาบนพื้นที่ที่เต็มไปด้วยระเบิด"

ผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้ระเบิดกำลังตรวจสอบระเบิดที่ผลิตโดยสหรัฐฯ และหลงเหลือในเวียดนามมาตั้งแต่ยุคสงครามเวียดยาม
ผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้ระเบิดกำลังตรวจสอบระเบิดที่ผลิตโดยสหรัฐฯ และหลงเหลือในเวียดนามมาตั้งแต่ยุคสงครามเวียดยาม

ติมอร์ตะวันออก

แบรด ซิมป์สัน ศาสตราจารย์คณะประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐคอนเนคติคัต (University of Connecticut) กล่าวว่า คิสซิงเจอร์คือผู้รับผิดชอบต่อการสนับสนุนให้อินโดนีเซียรุกรานติมอร์ตะวันออกในปี 1975 ด้วย

โดยอินโดนีเซียให้เหตุผลในเวลานั้น การควบรวมติมอร์ตะวันออกคือสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งการรุกรานครั้งนั้นทำให้เกิดการนองเลือดยาวนานในติมอร์ตะวันออกก่อนที่จะสิ้นสุดลงเมื่อปี 1999 เมื่อมีการส่งกองกำลังสันติภาพระหว่างประเทศเข้าไปเพื่อรับมือสถานการณ์

ศาสตราจารย์ซิมป์สัน กล่าวกับวีโอเอภาคภาษาอินโดนีเซียว่า "เมื่อคิสซิงเจอร์พ้นจากตำแหน่งในปี 1977 อินโดนีเซียได้สังหารประชาชนไปราว 1 ใน 10 ของติมอร์ตะวันออก" ซึ่งข้อมูลจากธนาคารโลกชี้ว่า ณ เวลานั้น ติมอร์ตะวันออกมีประชากรราว 620,000 คน

  • ที่มา: วีโอเอ
XS
SM
MD
LG