ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นายกฯ อินเดีย ย้ำความสำคัญของภูมิภาค "อินโด-แปซิฟิก" ในการประชุมแชงกรีล่า


India's Prime Minister Narendra Modi delivers a keynote address at the opening dinner of the 17th IISS Shangri-la Dialogue, an annual defense and security forum in Asia, in Singapore, June 1, 2018, in Singapore.
India's Prime Minister Narendra Modi delivers a keynote address at the opening dinner of the 17th IISS Shangri-la Dialogue, an annual defense and security forum in Asia, in Singapore, June 1, 2018, in Singapore.

นายกรัฐมนตรีอินเดีย นเรนธรา โมดี กล่าวระหว่างร่วมการประชุมด้านความม่ันคงประจำปีที่สิงคโปร์ แชงกรีล่า ไดอะล็อก (Shangri-La Dialogue) เรียกร้องให้ประเทศในแถบ "อินโด-แปซิฟิก" สนับสนุนเสรีภาพในการเดินเรือ บูรณภาพทางดินแดน และความเคารพในประเทศอื่นไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่หรือเล็ก

แม้ไม่ได้ระบุชื่อประเทศใดโดยเฉพาะ แต่คาดว่านายกฯ อินเดีย กล่าวเจาะจงไปถึงจีน ซึ่งกำลังมีข้อพิพาทกับหลายประเทศในประเด็นทะเลจีนใต้ และได้ขยายกิจกรรมทางทหารในทะลเจีนใต้ในช่วงที่ผ่านมา

นอกจากจีนแล้ว นายกฯ โมดี ยังได้วิจารณ์สหรัฐฯ เรื่องการใช้มาตรการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ ด้วยการขึ้นภาษีสินค้าเหล็กกล้าและอะลูมิเนียมนำเข้าจากต่างประเทศ

ถึงกระนั้น นายกฯ โมดี ระบุว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับอินเดีย มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงโลกไปในทางที่ดีขึ้น และเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ขณะเดียวกันก็ยกย่องความสัมพันธ์ระหว่าง จีน-อินเดีย ว่ามีความสำคัญต่อภูมิภาคเอเชียโดยรวมเช่นกัน

เป็นเวลาหลายสิบปีมาแล้วที่อินเดียรักษาสถานะ "เป็นกลาง" โดยไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และในขณะที่รัฐบาลสหรัฐฯ มองว่าอินเดียจะสามารถคานอำนาจของจีนในแถบเอเชียได้ แต่ทางนายกฯ โมดี ยืนยันว่า ความเป็นพันธมิตรของอินเดียบนเวทีโลกนั้นไม่ได้หมายความถึงการยืนตรงข้ามกับจีนแต่อย่างใด

การประชุมด้านความมั่นคง Shangri-La Dialogue จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีรัฐมนรตีด้านกลาโหมของประเทศในเอเชียและประเทศมหาอำนาจอื่นๆ เข้าร่วม ซึ่งในปีนี้ ประเด็นหลักของการประชุมคือแนวคิดการจัดตั้งภูมิภาค "อินโด-แปซิฟิก" ที่ครอบคลุมประเทศแถบมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย

เมื่อต้นสัปดาห์นี้ กองบัญชาการภาคพื้นแปซิฟิกของกองทัพสหรัฐฯ หรือ Pacific Command เพิ่งเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “กองบัญชาการภาคพื้นอินโดแปซิฟิก” หรือ “Indo-Pacific Command” ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการขยายปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ เข้าไปในมหาสมุทรอินเดีย

นักวิเคราะห์เชื่อว่า เป็นความพยายามของสหรัฐฯ ที่ให้ความสำคัญกับมหาสมุทรอินเดียมากขึ้น รวมทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างสหรัฐฯ กับอินเดียด้วย​

XS
SM
MD
LG