ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เยอรมนีระบุมาตรการลงโทษของสหรัฐฯ ต่ออิหร่าน กำลังทำลายการจ้างงานและเศรษฐกิจยุโรป


FILE - A worker moves steel coils at the Thyssenkrupp steel factory in Duisburg, Germany, April 27, 2018. German reaction to the announcement of U.S. tariffs being placed on steel and aluminum imports was among the fiercest in Europe.
FILE - A worker moves steel coils at the Thyssenkrupp steel factory in Duisburg, Germany, April 27, 2018. German reaction to the announcement of U.S. tariffs being placed on steel and aluminum imports was among the fiercest in Europe.

รัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจของเยอรมนี ปีเตอร์ อัลท์เมเยอร์ กล่าววิพากษ์วิจารณ์นโยบายภาษีและมาตรการลงโทษของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ โดยระบุว่ามาตรการดังกล่าวกำลังทำลายการจ้างงานและการเจริญเติบโต พร้อมยืนยันว่ายุโรปจะไม่ก้มหัวให้กับแรงกดดันจากสหรัฐฯ เรื่องมาตรการลงโทษต่ออิหร่าน

การตัดสินใจของทรัมป์ที่ต้องการเดินหน้าใช้มาตรการลงโทษต่ออิหร่าน ซึ่งส่งผลกระทบต่อบริษัทในยุโรปที่ทำธุรกิจกับอิหร่านด้วยนั้น ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐฯ กับหลายประเทศ รวมทั้งในยุโรป

รัฐมนตรีอัลท์เมเยอร์ กล่าวกับหนังสือพิมพ์ในเยอรมนีว่า สงครามการค้าในขณะนี้กำลังทำลายการเติบโตทางเศรษฐกิจ และทำให้เกิดความไม่แน่นอนขึ้น ส่งผลกระทบมากมายต่อผู้บริโภคในเยอรมนี

รัฐมนตรีเศรษฐกิจของเยอรมนีกล่าวว่า เยอรมนีและประเทศในยุโรปจะยังคงสนับสนุนบริษัทที่ทำธุรกิจกับอิหร่านต่อไป แม้จะถูกกดดันอย่างหนักจากสหรัฐฯ โดยยืนยันว่าจะไม่ยอมให้รัฐบาลสหรัฐฯ ชี้นิ้วสั่งว่าต้องทำอะไร แต่เยอรมนีจะยึดมั่นกับข้อตกลงด้านนิวเคลียร์ที่ทำไว้กับอิหร่าน หรือ Vienna Nuclear Agreement

ก่อนหน้านี้ บริษัทหลายแห่งในยุโรปได้ชะลอแผนการลงทุนร่วมกับอิหร่าน หลังจากสหรัฐฯ เริ่มกลับมาใช้มาตรการลงโทษกับกรุงเตหะราน ซึ่งรวมทั้ง บริษัทน้ำมัน Total และบริษัทรถยนต์ PSA, Renault และ Daimler

ขณะเดียวกัน ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน อยาโตลาห์ อาลี คาเมนี กล่าวในวันจันทร์ว่า การบริหารจัดการที่ผิดพลาดของรัฐบาลอิหร่าน คือปัจจัยที่จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจอิหร่านยิ่งกว่ามาตรการลงโทษของสหรัฐฯ

ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน เน้นย้ำว่า หากอิหร่านมีการจัดการที่ดี ก็จะสามารถต้านทานการลงโทษครั้งล่าสุดจากสหรัฐฯ ได้

มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ต่ออิหร่าน ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมยานยนต์ การค้าทองและโลหะมีค่า และธุรกรรมการเงิน ซึ่งสร้างความกังวลต่อเสถียรภาพของค่าเงินเรียล ของอิหร่าน

ด้านประธานาธิบดีอิหร่าน ฮัสซาน รูฮานี บอกว่า มาตรการของสหรัฐฯ ถือเป็น “สงครามจิตวิทยา” ที่มุ่งหวังสร้างความแตกแยกในอิหร่าน

XS
SM
MD
LG