ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผู้เชี่ยวชาญระบุขยะอิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างปัญหาเรื่องความมั่นคงด้านกลาโหมด้วย


ผู้ใช้เทคโนโลยีทั่วโลกช่วยกันก่อ e-waste หรือขยะอิเล็กทรอนิกส์ปริมาณ 20 ล้านถึง 50 ล้านตันต่อปี

please wait

No media source currently available

0:00 0:02:46 0:00
Direct link

ในยุคปัจจุบันที่คนเปลี่ยนอุปกรณ์เทคโนโลยีกันบ่อยๆ ให้ทันกับรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาแข่งกันอย่างตลอดเวลา หลายคนคงอาจจะเคยสงสัยว่าใครเป็นผู้กำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้

ไม่ใช่ว่าขยะเหล่านี้ยากแก่การนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ด้วยวิธีรีไซเคิล แต่คำถามที่สำคัญกว่าคือ ทำอย่างไรกับวัสดุที่เป็นอันตรายซึ่งเป็นส่วนประกอบของขยะอิเล็กทรอนิกส์ เช่นสารปรอท และตะกั่วเป็นต้น

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนบอกว่บริษัทจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ส่งชิ้นส่วนอุปกรณ์เทคโนโลยีเหล่านี้ไปประเทศอื่น ซึ่งส่วนมากก็คือประเทศกำลังพัฒนา

ทนาย James Burger จากบริษัท Thomas Coburn กล่าวว่ามีการส่งอิเล็กทรอนิกส์ ที่อันตรายออกต่างประเทศ และในประเทศเหล่านั้นนำชิ้นส่วนวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีโลหะหนักและเป็นสารอันตราย ปล่อยทิ้งน้ำในประเทศของตน

ไม่นานนี้ ทนายผู้นี้ร่วมเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์เรียกร้องให้รัฐสภาสหรัฐฯ ผ่านกฎหมายลดการส่งออกขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ใช่เฉพาะปัญหาที่มาจากวัสดุอันตรายจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฮเทคจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น

ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าชิ้นส่วนที่ถูกทิ้งและนำออกไปนอกอเมริกา จะย้อนกลับมาที่สหรัฐอีกครั้งในรูปแบบของชิ้นส่วนปลอม

James Burger บอกว่า ชิ้นส่วนขยะที่กลับมาฝั่งสหรัฐในรูปแบบของทำเทียม เป็นประเด็นที่ท้าทายความมั่นคงของประเทศด้วย คณะกรรมาธิการของรัฐสภาด้านกิจการทหารกล่าวว่า ชิปคอมพิวเตอร์ปลอมถูกพบในอุปกรณ์ทางทหารที่สำคัญ

ผู้ใช้เทคโนโลยีทั่วโลกช่วยกันก่อ e-waste หรือขยะอิเล็กทรอนิกส์ปริมาณ 20 ล้านถึง 50 ล้านตันต่อปี

โปรดติดตามรายละเอียดจากคลิปเรื่องนี้ในรายการข่าวสดสายตรงจากวีโอเอ
รายงานโดย Rebecca Ward /เรียบเรียงโดยรัตพล อ่อนสนิท

XS
SM
MD
LG