ผลการศึกษาชิ้นใหม่เปิดเผยว่ามีคนหลายล้านคนในประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกที่อาศัยอยู่ใกล้กับแหล่งทิ้งขยะสารพิษ สุขภาพจิตและสุขภาพกายของคนเหล่านี้เสี่ยงต่ออันตรายจากสารพิษเหล่านี้
หน่วยงานด้านสิ่งเเวดล้อมที่มีสำนักงานในมหานครนิวยอร์คทำการศึกษาวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำและดินที่ได้มาจากแหล่งทิ้งขยะสารพิษทั้งหมด 373 จุด ในสามประเทศ คือ อินเดีย อินโดนีเซียและปากีสถาน ที่มีประชากรรวมกันเเล้วอยู่ที่ 1,500 ล้านคนหรือประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมดทั่วโลก
ทีมนักวิจัยพบว่ามีคนมากกว่า 8 ล้าน 6 แสนคนในสามประเทศนี้ที่อาศัยใกล้กับที่ทิ้งขยะสารพิษเมื่อสองปีที่แล้วได้รับสารพิษหลายชนิดเข้าสู่ร่างกาย
คุณริชาร์ด ฟูลเล่อร์ รองหัวหน้าทีมวิจัยและผู้อำนวยการสถาบัน Blacksmith Institute ที่สนับสนุนด้านการเงินแก่การวิจัยนี้กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าสารอันตรายที่คนเหล่านี้ได้รับเข้าไปในร่างกายรวมทั้ง สารตะกั่ว โครเมี่ยม ฟอสเฟทส์ สารอินทรีย์อีกหลายชนิด ยาฆ่าแมลงและสารเคมีอื่นๆ
การสำรวจในสามประเทศกำลังพัฒนาพบว่ามีสารตะกั่วเป็นสารเคมีที่ปนเปื้อนระดับสูงที่สุด เป็นสารโลหะหนักที่หากเข้าสู่กระเเสเลือดจะมีผลกระทบต่อพัฒนาการด้านสมองของทารกในครรภ์และทำให้ระดับไอคิวของเด็กต่ำลง
ทีมนักวิจัยชี้ว่า 2 ใน 3 ของคนที่ได้รับสารตะกั่วจากการอาศัยอยู่ใกล้จุดทิ้งขยะสารพิษในปากีสถาน อินเดียและอินโดนีเซีย เป็นเด็กและผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์
แต่คุณเควิน ชัททัม สตีเฟ่นส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเด็กกับสิ่งเเวดล้อมที่มหาวิทยาลัยการแพทย์ Mouth Sinai ในนิวยอร์ค ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมวิจัยครั้งนี้ กล่าวว่า มีข้อปฏิบัติตัวอย่างง่ายๆไม่กี่ข้อสำหรับคนที่อาศัยอยู่ใกล้จุดทิ้งขยะสารพิษเพื่อลดความเสี่ยงต่อการได้รับสารอันตรายเข้าสู่ร่างกาย
คุณชัททัม สตีเฟ่นส์ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าการล้างมือบ่อยๆเป็นวิธีที่ช่วยลดการได้รับสารเคมีอันตรายเข้าสู่ร่างกายได้ อาทิ สารตะกั่วที่ปะปนในฝุ่นและเมื่อฝุ่นผงเปื้อนที่มือ สารเคมีที่ติดมาด้วยก็จะเข้าสู่ร่างกายได้ หากเรานำมือไปป้ายปากหรือใช้มือหยิบอาหารเข้าปากไม่ได้ล้างมือ
ในขณะนี้ สถาบัน Blacksmith Institute กำลังวิเคราะห์ตัวอย่างขยะสารพิษในประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆอีก 70 ประเทศ โดยหวังว่าจะสามารถช่วยกระตุ้นให้มีการกำจัดขยะสารพิษ คุณฟูลเล่อร์กล่าวว่าการกำจัดขยะพิษเป็นงานที่ใช้เวลายาวนานแต่ประเทศต่างๆที่เขาทำงานร่วมด้วยต่างกระตือรืนร้นที่จะให้ความร่วมมือ
หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าทุกคนมีความตั้งใจดีและต้องการช่วยแก้ปัญหาให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ ดังนั้นเขาคิดว่าการจัดเก็บทำความสะอาดขยะสารพิษจึงมีความเป็นไปได้ เพียงแต่จะต้องใช้ความพยายามอย่างมากเท่านั้น
หน่วยงานด้านสิ่งเเวดล้อมที่มีสำนักงานในมหานครนิวยอร์คทำการศึกษาวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำและดินที่ได้มาจากแหล่งทิ้งขยะสารพิษทั้งหมด 373 จุด ในสามประเทศ คือ อินเดีย อินโดนีเซียและปากีสถาน ที่มีประชากรรวมกันเเล้วอยู่ที่ 1,500 ล้านคนหรือประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมดทั่วโลก
ทีมนักวิจัยพบว่ามีคนมากกว่า 8 ล้าน 6 แสนคนในสามประเทศนี้ที่อาศัยใกล้กับที่ทิ้งขยะสารพิษเมื่อสองปีที่แล้วได้รับสารพิษหลายชนิดเข้าสู่ร่างกาย
คุณริชาร์ด ฟูลเล่อร์ รองหัวหน้าทีมวิจัยและผู้อำนวยการสถาบัน Blacksmith Institute ที่สนับสนุนด้านการเงินแก่การวิจัยนี้กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าสารอันตรายที่คนเหล่านี้ได้รับเข้าไปในร่างกายรวมทั้ง สารตะกั่ว โครเมี่ยม ฟอสเฟทส์ สารอินทรีย์อีกหลายชนิด ยาฆ่าแมลงและสารเคมีอื่นๆ
การสำรวจในสามประเทศกำลังพัฒนาพบว่ามีสารตะกั่วเป็นสารเคมีที่ปนเปื้อนระดับสูงที่สุด เป็นสารโลหะหนักที่หากเข้าสู่กระเเสเลือดจะมีผลกระทบต่อพัฒนาการด้านสมองของทารกในครรภ์และทำให้ระดับไอคิวของเด็กต่ำลง
ทีมนักวิจัยชี้ว่า 2 ใน 3 ของคนที่ได้รับสารตะกั่วจากการอาศัยอยู่ใกล้จุดทิ้งขยะสารพิษในปากีสถาน อินเดียและอินโดนีเซีย เป็นเด็กและผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์
แต่คุณเควิน ชัททัม สตีเฟ่นส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเด็กกับสิ่งเเวดล้อมที่มหาวิทยาลัยการแพทย์ Mouth Sinai ในนิวยอร์ค ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมวิจัยครั้งนี้ กล่าวว่า มีข้อปฏิบัติตัวอย่างง่ายๆไม่กี่ข้อสำหรับคนที่อาศัยอยู่ใกล้จุดทิ้งขยะสารพิษเพื่อลดความเสี่ยงต่อการได้รับสารอันตรายเข้าสู่ร่างกาย
คุณชัททัม สตีเฟ่นส์ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าการล้างมือบ่อยๆเป็นวิธีที่ช่วยลดการได้รับสารเคมีอันตรายเข้าสู่ร่างกายได้ อาทิ สารตะกั่วที่ปะปนในฝุ่นและเมื่อฝุ่นผงเปื้อนที่มือ สารเคมีที่ติดมาด้วยก็จะเข้าสู่ร่างกายได้ หากเรานำมือไปป้ายปากหรือใช้มือหยิบอาหารเข้าปากไม่ได้ล้างมือ
ในขณะนี้ สถาบัน Blacksmith Institute กำลังวิเคราะห์ตัวอย่างขยะสารพิษในประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆอีก 70 ประเทศ โดยหวังว่าจะสามารถช่วยกระตุ้นให้มีการกำจัดขยะสารพิษ คุณฟูลเล่อร์กล่าวว่าการกำจัดขยะพิษเป็นงานที่ใช้เวลายาวนานแต่ประเทศต่างๆที่เขาทำงานร่วมด้วยต่างกระตือรืนร้นที่จะให้ความร่วมมือ
หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าทุกคนมีความตั้งใจดีและต้องการช่วยแก้ปัญหาให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ ดังนั้นเขาคิดว่าการจัดเก็บทำความสะอาดขยะสารพิษจึงมีความเป็นไปได้ เพียงแต่จะต้องใช้ความพยายามอย่างมากเท่านั้น