ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ความหมายของ “ภาวะการระบาดใหญ่ทั่วโลก” กับวิกฤติโควิด-19


EDITORS NOTE: Graphic content / World Health Organization (WHO) Director-General Tedros Adhanom Ghebreyesus talks during a daily press briefing on COVID-19 virus at the WHO headquaters in Geneva on March 11, 2020. - WHO Director-General Tedros…
EDITORS NOTE: Graphic content / World Health Organization (WHO) Director-General Tedros Adhanom Ghebreyesus talks during a daily press briefing on COVID-19 virus at the WHO headquaters in Geneva on March 11, 2020. - WHO Director-General Tedros…
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:34 0:00

การที่องค์การอนามัยโลกตัดสินใจประกาศให้โควิด-19 เป็น ภาวะการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในวันพุธ เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้แล้ว แม้สถานการณ์โดยรวมจะบ่งชี้ถึงความจำเป็นที่จะต้องทำการประกาศนี้มาสักระยะ โดยเฉพาะเมื่ออัตราการระบาดในจุดต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นิตยสาร Time รายงานว่า คำว่า “ภาวะการระบาดใหญ่ทั่วโลก” หรือ Pandemic ในความหมายขององค์การอนามัยโลก คือ การแพร่กระจายของโรคใหม่ไปยังพื้นที่ทั่วโลก แม้ว่าเกณฑ์ที่ชัดเจนในการตัดสินว่าสถานการณ์ใดควรได้รับคำนิยามนี้จะไม่ชัดเจนเสียทีเดียว แต่การประกาศดังกล่าวเป็นการยกระดับจาก “ภาวะการระบาดของโรค” หรือ Epidemic แล้ว

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของสหรัฐฯ หรือ CDC ให้ความเห็นว่า ปกติแล้ว คำว่า ภาวะการระบาดใหญ่ทั่วโลก จะใช้ในกรณีไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ที่ติดต่อผู้คนได้อย่างง่ายดาย และแพร่จากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องในหลายภูมิภาค โดยภาวะดังกล่าวนั้นเป็นกรณีของตัวโรค มากกว่าความรุนแรงของอาการป่วย

เทดรอส อัดนอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยใหญ่การองค์การอนามัยโลก กล่าวในระหว่างการแถลงข่าวเพื่อประกาศภาวะดังกล่าวว่า “สถานการณ์ปัจจุบัน ไม่ได้เป็นวิกฤติทางสาธารณสุขเท่านั้น แต่เป็นวิกฤติที่มีผลกระทบต่อทุกคนและทุกที่ ... ดังนั้น ทุกฝ่ายต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการสู้(กับไวรัส)นี้”

ดร.แอนโธนี เฟาซี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อแห่งสถาบันสาธารณสุขแห่งชาติของสหรัฐฯ หรือ NIH เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า การประกาศภาวะการระบาดใหญ่ทั่วโลกนั้นเป็นเรื่องของศิลป์มากกว่าศาสตร์ เพราะคนต่างกลุ่มให้ความหมายต่อภาวะดังกล่าวต่างกันไป

ก่อนหน้าที่องค์การอนามัยโลกจะตัดสินใจประกาศภาวะการระบาดใหญ่ เจ้าหน้าที่องค์การฯ พยายามหลีกเลี่ยงที่ใช้คำพูดตรงๆ มาระยะหนึ่ง โดยในเดือนมกราคมที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกประกาศว่าการระบาดนี้เป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ”

ผู้อำนวยการใหญ่เกเบรเยซุส ระบุว่า คำว่าภาวะการระบาดใหญ่ทั่วโลก เป็นคำที่ผู้ใช้ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะหากใช้ผิดเวลา อาจนำไปสู่ความกลัวอย่างไม่มีเหตุผล หรือกระทั่งการยอมรับสภาพและเลิกพยายามต่อสู้ นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของตัวเลขผู้เจ็บป่วยและเสียชีวิตได้อย่างมาก

เกเบรเยซุส ยังกล่าวด้วยว่า แม้องค์การอนามัยโลกจะประกาศภาวะดังกล่าว การทำงานขององค์การฯ จะเดินหน้าต่อไปโดยไม่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในเรื่องการประเมินความเสี่ยงของไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ และนานาประเทศก็ไม่ควรจะยุติความพยายามในการป้องกันและควบคุมสถานการณ์อย่างที่ทำอยู่ด้วย

อย่างไรก็ดี ตัวเลขผู้ติดเชื้อทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนสูงเกินกว่า 120,000 คน และมีผู้เสียชีวิตแล้วหลายพันราย พร้อมๆ กับกรณีการติดต่อจากคนสู่คนในเกือบทุกทวีป ยกเว้น ทวีปแอนตาร์คติก

เท่าที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกไม่ได้ประกาศ “ภาวะการระบาดใหญ่ทั่วโลก” มานานมากแล้ว โดยครั้งล่าสุดที่เกือบจะประกาศภาวะดังกล่าวคือ ช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ H1N1 หรือไข้หวัดหมู ในปี ค.ศ. 2009 แต่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าสภาพการณ์โดยรวมไม่ได้รุนแรงถึงขั้นต้องประกาศภาวะนี้ จึงพับแผนไป

สำหรับโควิด-19 ทีมนักวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลสหรัฐฯ รายงานผลการทดสอบออกมาในวันพุธตามเวลาท้องถิ่นว่า ไวรัสสายพันธุ์นี้สามารถมีชีวิตอยู่ในอากาศได้นานหลายชั่วโมง และอยู่บนพื้นผิวต่างๆ ได้นานถึง 3 วัน ซึ่งเป็นการเตือนว่า ไวรัสนี้สามารถติดต่อทางอากาศและจากการสัมผัสสิ่งที่ติดเชื้อได้

XS
SM
MD
LG