ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ฟิลิปปินส์ดำเนินแนวทางเป็นมิตรต่อจีนเพื่อคานอำนาจสหรัฐฯ และรับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ


FILE - The BRP Gregorio Del Pilar Philippine warship, at Manila's pier, Philippines, Dec. 17, 2014. The refurbished former U.S. Coast Guard Hamilton-class weather high endurance cutter is now the country's biggest and most modern warship.
FILE - The BRP Gregorio Del Pilar Philippine warship, at Manila's pier, Philippines, Dec. 17, 2014. The refurbished former U.S. Coast Guard Hamilton-class weather high endurance cutter is now the country's biggest and most modern warship.

การปรับสมดุลนี้เกิดขึ้นชัดเจนหลังจากที่ฟิลิปปินส์ถูกวิจารณ์เรื่องการปราบปรามยาเสพติดที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:07 0:00

ในช่วงเดือนนี้ เกิดสัญญาณหลายอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรกันมากขึ้นระหว่างฟิลิปปินส์และจีน ขณะเดียวกันพันธมิตรเก่าแก่อย่างสหรัฐฯ กลับอยู่ในสถานการณ์ที่อึดอัดต่อรัฐบาลกรุงมะนิลา

เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว หน่วยยามฝั่งของจีนและฟิลิปปินส์พบกันเป็นครั้งแรกที่กรุงมะนิลา และตกลงกันที่จะกระชับความร่วมมือทางทะเล ซึ่งต่างกับบรรยากาศเมื่อเดือนกรกฎาคม

ในครั้งนั้น ความขัดแย้งระหว่างฟิลิปปินส์และจีนเรื่องการอ้างสิทธ์เหนือน่านน้ำในทะเลจีนใต้เดินทางถึงจุดตึงเครียด หลังจากที่คณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศตัดสินข้อพิพาทที่ฟิลิปปินส์ขอให้ศาลพิจารณา และมีความเห็นว่าการอ้างสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ของจีนไม่มีเหตุผลจูงใจ

การเปลี่ยนแปลงบรรยากาศการทูตที่กลับมีดีขึ้นระหว่างสองประเทศ มีปัจจัยมาจากท่าทีแข็งกร้าวของผู้นำฟิลิปปินส์ ประธานาธิบดี Rodrigo Duterte ที่มีต่อต่อสหรัฐฯ เนื่องจากอเมริกาตั้งคำถามเกี่ยวกับการกวาดล้างขบวนการยาเสพติดของฟิลิปปินส์ที่ทำให้คนอย่างน้อย 5,000 คนเสียชีวิต

และในเดือนนี้ ประธานาธิบดี Duterte ขู่ว่าจะยกเลิกความร่วมมือด้านการทหารกับอเมริกา หลังจากที่หน่วยงาน Millennium Challenge Corp กล่าวว่า จะชะลอการให้เงินช่วยเหลือบรรเทาความยากจนฟิลิปปินส์มูลค่า 433 ล้านดอลลาร์ เพราะกังวลเรื่องการเคารพกฎหมายและเสรีภาพของประชาชน

ผู้นำฟิลิปปินส์กล่าวตอบโต้ด้วยว่า สหรัฐฯ ควรเตรียมตัวออกจากฟิลิปปินส์ได้แล้ว

เมื่อทางการจีนยึดเรือดำน้ำบังคับระยะไกลของสหรัฐฯ ในน่านน้ำที่ห่างจากฝั่งฟิลิปปินส์ไป 50 ไมล์ทะเล เมื่อกลางเดือนธันวาคม กระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์กล่าวว่าฟิลิปปินส์ไม่ขัดขวางกิจกรรมทางทะเลของจีนในบริเวณดังกล่าว

ผู้สันทัดกรณีมองว่า ท่าทีความเป็นมิตรที่ฟิลิปปินส์มีต่อจีน และการแสดงความแข็งกร้าวต่ออเมริกา สะท้อนถึงความตั้งใจที่ประธานาธิบดี Duterte ต้องการถ่วงดุลสหรัฐฯ ที่เป็นเจ้าอาณานิคมฟิลิปปินส์ยาวนาน 50 ปีในอดีต และสหรัฐฯ ยังได้เป็นกำลังสำคัญในการช่วยฟิลิปปินส์ปราบปรามกลุ่มกบฏชาวมุสลิมทางใต้ของประเทศอีกด้วย

นักวิเคราะห์ Carl Baker จาก Pacific Forum CSIS ที่รัฐฮาวาย คาดว่าเมื่อความสัมพันธ์ระหว่างจีนและฟิลิปปินส์แน่นแฟ้นขึ้นเรื่อยๆ อาจนำไปสู่การร่วมกันสร้างเกาะเทียมในทะเลจีนใต้ ร่วมถึงพัฒนาสิ่งก่อสร้างร่วมกันในบริเวณดังกล่าว

นอกจากเหตุผลทางยุทธศาสตร์ความมั่นคงแล้วฟิลิปปินส์ยังได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วย

เมื่อเดือนตุลาคม ประธานาธิบดี Duterte เดินทางเยือนประเทศจีน และฝ่ายจีนได้ให้คำมั่นว่าจะลงทุน 24,000 ล้านดอลลาร์ในฟิลิปปินส์ ในโครงการต่างๆ ซึ่งรวมถึงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการแข่งขันและการเติบโตของเศรษฐกิจ

นักวิเคราะห์ Song Seng Won จาก ธนาคาร CIMB ในสิงคโปร์ กล่าวว่า หากจีนและฟิลิปปินส์สามารถสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยในทะเลจีนใต้ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจะเกิดกับภาคการประมงของฟิลิปปินส์ ที่สร้างรายได้คิดเป็นร้อยละ 2 ของขนาดเศรษฐกิจฟิลิปปินส์

(รายงานโดย Ralph Jennings / เรียบเรียงโดย รัตพล อ่อนสนิท)

XS
SM
MD
LG