ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ชงยูเอ็นทำสนธิสัญญาควบคุม “หุ่นยนต์สังหาร”


FILE - The mock killer robot was displayed in London in April 2013 during the launching of the Campaign to Stop Killer Robots, which calls for the ban of lethal robot weapons that would be able to select and attack targets without any human intervention.
FILE - The mock killer robot was displayed in London in April 2013 during the launching of the Campaign to Stop Killer Robots, which calls for the ban of lethal robot weapons that would be able to select and attack targets without any human intervention.
please wait

No media source currently available

0:00 0:02:24 0:00

หลายประเทศทโลกเรียกร้องให้องค์การสหประชาชาติ หรือ UN พิจารณาในการผลักดันให้มีสนธิสัญญาซึ่งมีผลผูกพันทางกฏหมาย ห้ามใช้ “หุ่นยนต์สังหาร” ที่ทำงานได้เองโดยไม่มีการควบคุม

ตัวแทนจากองค์กรระหว่างประเทศ 76 หน่วยงาน จาก 32 ประเทศทั่วโลก อาทิ Human Right Watch, องค์การนิรโทษกรรมสากล, Mines Action Canada และ Nobel Women’s Initiative ร่วมมือเป็นหนึ่งเดียวกันในการรณรงค์เพื่อต่อต้านการใช้ “หุ่นยนต์สังหาร” หรือระบบอาวุธที่ทำงานโดยอัตโนมัติ โดยปราศจากการควบคุมของมนุษย์ และเตรียมใช้เวทีการประชุมอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธตามแบบ หรือ CCW ที่นครเจนีวา ของสวิตเซอร์แลนด์ ตลอดทั้งสัปดาห์นี้ ในการเรียกร้องให้องค์การสหประชาชาติ หรือ UN จัดทำสนธิสัญญาซึ่งมีผลผูกพันทางกฏหมายในประเด็นนี้

การรณรงค์เพื่อต่อต้านการใช้ “หุ่นยนต์สังหาร” แบบอัตโนมัติ เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 2013 ซึ่งมี 26 ประเทศทั่วโลกที่สนับสนุนการห้ามใช้เทคโนโลยีดังกล่าว รวมทั้งประเทศจีน ที่เห็นชอบในหลักการห้ามใช้หุ่นยนต์สังหารแบบอัตโนมัติ แต่ยังสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว ขณะที่รัสเซียก็สนับสนุนให้มีการทำข้อตกลงร่วมกันที่ไม่มีผลผูกพันทางกฏหมาย

ด้าน Mary Wareham ตัวแทนจาก Human Rights Watch บอกว่า เวทีประชุม CCW ต้องการกดดันให้สหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ผลักดันแผนห้ามใช้จักรกลสังหาร ที่สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติอย่างสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน ซึ่งต้องรอผลการประชุมที่จะทราบกันในวันศุกร์นี้ว่าการผลักดันให้เป็นสนธิสัญญานั้นจะเกิดขึ้นได้หรือไม่

ทั้งนี้ การประชุมอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธตามแบบ หรือ CCW มีเป้าหมายในการผลักดันให้มีสนธิสัญญาที่มีผลทางกฏหมายให้ได้ภายในช่วงปลายปี ค.ศ. 2019

โดยในการประชุมครั้งที่แล้ว ฝรั่งเศส อิสราเอล รัสเซีย อังกฤษ และสหรัฐฯ มีท่าทีคัดค้านการออกสนธิสัญญาห้ามใช้จักรกลสังหารนี้อย่างชัดเจน แต่บรรดานักเคลื่อนไหวยืนยันว่าข้อตกลงที่มีผลทางกฏหมายนั้นควรจัดทำขึ้น เพื่อผลักดันให้มีการควบคุมอาวุธเหล่านี้โดยมนุษย์ ไม่เช่นนั้นจะถือเป็นการละเมิดมาตรฐานด้านจริยธรรมระหว่างประเทศ

XS
SM
MD
LG