ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ท้าทายด้วยกฎหมาย!! นักกฎหมายในอังกฤษกำลังร่างคำร้องคัดค้านอำนาจนายกฯ ที่จะนำอังกฤษออกจาก EU


People hold banners during a 'March for Europe' demonstration against Britain's decision to leave the European Union, in central London, Britain, July 2, 2016.
People hold banners during a 'March for Europe' demonstration against Britain's decision to leave the European Union, in central London, Britain, July 2, 2016.

ตามรัฐธรรมนูญของประเทศ นายกรัฐมนตรีไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และผลการลงคะแนนเสียงนั้นควรถือว่าเป็นการแนะนำต่อรัฐสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรง

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:28 0:00
Direct link

จุดใหญ่ใจความของการคัดค้านอำนาจรัฐบาลในการที่จะประกาศใช้มาตรา 50 ซึ่งจะเป็นการเริ่มต้นกระบวนการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปโดยอัตโนมัติที่จะใช้เวลาประมาณสองปี คือการตั้งคำถามว่า "นายกรัฐมนตรีมีอำนาจทางกฎหมายที่จะนำผลของการลงคะแนนเสียงแสดงประชามติเมื่อวันที่ 23 มิถุนายนมาปฏิบัติตามโดยที่ไม่มีการโต้อภิปรายในรัฐสภา และสมาชิกสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งไม่มีโอกาสได้ลงคะแนนเสียง หรือไม่?"

สมาชิกสภาล่างส่วนใหญ่ของอังกฤษไม่เห็นด้วยกับการออกจาก EU โดยฝ่ายนี้มีคะแนนเสียงสนับสนุน 454 ต่อ 147 เสียงที่ต้องการให้ออกจาก EU

แม้พรรคอนุรักษ์นิยมซึ่งเป็นพรรครัฐบาลจะมีเสียงข้างมากโดยรวมในสภาล่างเพียง 8 เสียง แต่สมาชิกพรรคส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้อังกฤษออกจาก EU

สมาชิกในสภาสูงส่วนใหญ่ก็มีความเห็นเช่นเดียวกันกับสภาล่าง

ส่วนการร่างคำร้องที่ว่านี้ Jolyon Maughm ทนายความของสำนักงานทนายความ Devereaux บอกกับ VOA ว่า ทีมงานนักกฎหมายของเขาไม่ต้องการจะโต้แย้งเรื่องการลงคะแนนเสียงแสดงประชามติ แต่ต้องการท้าจุดยืนของรัฐบาลที่ว่านายกรัฐมนตรีมีอำนาจจะปฏิบัติตามผลการลงคะแนนเสียงนั้นได้

เพราะตามรัฐธรรมนูญของประเทศ นายกรัฐมนตรีไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และผลการลงคะแนนเสียงนั้นควรถือว่าเป็นการแนะนำต่อรัฐสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงหรือไม่

Protestors hold banners in Parliament Square during a 'March for Europe' demonstration against Britain's decision to leave the European Union, central London, Britain, July 2, 2016.
Protestors hold banners in Parliament Square during a 'March for Europe' demonstration against Britain's decision to leave the European Union, central London, Britain, July 2, 2016.

ส่วนขั้นตอนของคณะนักกฎหมายชุดนี้ จะเริ่มต้นด้วยการเขียนถึงรัฐบาลขอให้รับรองก่อนว่า จะไม่นำมาตรา 50 มาใช้โดยไม่ได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน ถ้าไม่สำเร็จก็จะร้องขอให้ศาลประกาศบังคับให้ทำเช่นนั้น

ถ้าทำได้สำเร็จตามนี้ก็จะต้องมีการร่างกฎหมายใหม่ โดยสมาชิกรัฐสภาจะต้องนำปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือไปจากผลการแสดงประชามติมาพิจารณาด้วย โดยอาจต้องถามคำถาม เช่น ผลการแสดงประชามติเป็นการมอบอำนาจให้ออกจาก EU หรือเปล่า? หลักฐานที่นำเสนอต่อประชาชนสำหรับการลงคะแนนเสียงมีคุณภาพหรือไม่? ประชาชนถูกหลอกหรือเปล่า? และหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาคืออะไร? ให้ปฏิบัติตามหลักประชาธิปไตยโดยตรง หรือให้คิดเองอย่างเป็นอิสระว่าอะไรดีที่สุดสำหรับประเทศ? เหล่านี้เป็นต้น

คำร้องของคณะนักกฎหมายชุดนี้ จะอาศัยข้อมูลที่ได้จากพิจารณาคำถามดังกล่าวเป็นพื้นฐาน และจะนำเสนอต่อไปให้ผู้พิพากษาศาล

นอกจากคณะนักกฎหมายชุดนี้แล้ว สำนักงานทนายความชื่อดังของกรุงลอนดอน Mishcon de Reya เปิดเผยออกมาแล้วว่า กำลังเตรียมคำร้องท้าทายเวลาและวิธีที่รัฐบาลจะนำมาตรา 50 มาใช้ แต่ไม่ได้เปิดเผยชื่อของลูกความให้เป็นที่ทราบด้วย

นักกฎหมายคนหนึ่งของสำนักงานทนายความแห่งนี้ ให้ความเห็นว่า ผลของการแสดงประชามติไม่มีความผูกพันทางกฎหมาย และนายกรัฐมนตรีไม่ว่าจะเป็นคนปัจจุบันหรือในอนาคต ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะนำมาตรา 50 มาใช้โดยไม่ได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภา

สมาชิกรัฐสภาฝ่ายที่สนับสนุนการออกจาก EU อย่าง สส. Bernard Jenkins ของพรรคอนุรักษ์นิยม ออกมากล่าวตอบโต้ความพยายามเหล่านี้อย่างขุ่นเคืองว่า เป็นความพยายามที่จะขัดขวางผลการแสดงประชามติ และว่าไม่ต้องการให้ผู้พิพากษาศาลเข้ามาแทรกแซง

XS
SM
MD
LG