ลิ้งค์เชื่อมต่อ

กระแสต่อต้านภาพยนตร์อื้อฉาวแห่งปี "ปัทมาวตี" ของชาวฮินดูในอินเดีย


Members of India's Rajput community beat with sandals a poster of film director Sanjay Leela Bhansali as they protest against the release of Bollywood film "Padmavati" in Hyderabad, India, Nov. 21, 2017.
Members of India's Rajput community beat with sandals a poster of film director Sanjay Leela Bhansali as they protest against the release of Bollywood film "Padmavati" in Hyderabad, India, Nov. 21, 2017.

ภาพยนตร์บอลลีวู้ดแห่งปีของอินเดีย "ปัทมาวตี" ซึ่งเป็นเรื่องราวของราชินีชาวฮินดู และกษัตริย์มุสลิม ในศตวรรษที่ 14 กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในขณะนี้ หลังจากชาวฮินดูจำนวนมากในอินเดียประท้วงต่อต้านภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าบิดเบือนประวัติศาสตร์

บริษัทผู้สร้างภาพยนตร์ "ปัทมาวตี" ได้ประกาศเลื่อนการฉายออกไป ท่ามกลางการประท้วงและคำขู่ใช้ความรุนแรง จากพรรคการเมืองฮินดูแนวคิดอนุรักษ์นิยมขวาจัด ซึ่งกล่าวหาว่าภาพยนตร์เรื่องนี้บิดเบือนประวัติศาสตร์ และพยายามสร้างภาพแห่งความลุ่มหลงระหว่างกษัตริย์มุสลิม อะลาอุดดิน คิลจี กับราชินีฮินดู ปัทมาวตี ผู้ซึ่งนักประวัติศาสตร์ระบุว่า ไม่มีตัวตนอยู่จริง

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สมาชิกพรรค Bharatiya Janata Party (BJP) ส่วนท้องถิ่น ประกาศตั้งค่าหัว 100 ล้านรูปี หรือ 1,500,000 ดอลลาร์ สำหรับผู้ที่สามารถตัดศีรษะของดารานำหญิงของเรื่องนี้ คือ ทีปิกา ปาทุโกณ และผู้สร้างภาพยนตร์รายใหญ่ของบอลลีวู้ด ซานเจย์ ลีลา ปันซาลี

นอกจากนี้ กลุ่มชาวฮินดูแนวคิดขวาจัดยังได้โจมตีโรงภาพยนตร์ที่ฉายตัวอย่างของหนังเรื่องนี้ พร้อมประกาศว่าจะขัดขวางการเปิดฉายหนัง "ปัทมาวตี" และขู่ว่าจะตัดจมูกของดารานำหญิงด้วย

ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับเสรีภาพด้านศิลปะและการสร้างสรรค์ในอินเดีย รวมทั้งความกังวลต่อการกระทำของกลุ่มชาวฮินดูแนวคิดขวาจัด ในช่วงที่พรรครัฐบาล BJP ซึ่งเป็นพรรคของชาวฮินดู ปกครองอินเดีย

Rumors that the film includes a romantic scene between Queen Padmavati, a symbol of Rajput value, and a Muslim emperor, Alauddin Khilji, initially fanned the protests.
Rumors that the film includes a romantic scene between Queen Padmavati, a symbol of Rajput value, and a Muslim emperor, Alauddin Khilji, initially fanned the protests.

ด้านบริษัทผู้สร้างภาพยนตร์ "ปัทมาวตี" ออกมาย้ำว่า กลุ่มผู้ประท้วงควรดูหนังเรื่องนี้ ก่อนที่จะสรุปว่าเป็นการทำร้ายความรู้สึกของชาวฮินดูจริงหรือไม่

แต่ดูเหมือนผู้ประท้วงต่างไม่รับฟังคำขอของบริษัทผู้สร้าง โดยยืนยันว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะทำลายเกียรติยศชื่อเสียงของ "ราชปุต" ซึ่งเป็นชนชั้นนักรบของอินเดียเหนือ ซึ่งยึดถือราชินีปัทมาวตีเป็นสัญลักษณ์ของศักดิ์ศรีและความภาคภูมิใจ

ในขณะที่รัฐบาลพรรค BJP ที่นำโดยนายกฯ นเรนธรา โมดี พยายามแยกตัวออกจากเรื่องอื้อฉาวนี้ แต่กลับมีผู้นำพรรค BJP ส่วนท้องถิ่นหลายคนที่เข้าร่วมประท้วงภาพยนตร์ "ปัทมาวตี" และมีอย่างน้อย 3 รัฐ ที่ประกาศว่าจะสั่งห้ามฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ในรัฐตน โดยให้เหตุผลว่าขัดกัับวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย

ด้านนักวิเคราะห์การเมือง ซาติช มิสรา แห่งมูลนิธิ Observer Research ในกรุงนิวเดลี ตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลอินเดียจึงไม่ดำเนินการทางกฎหมายกับกลุ่มที่ขู่จะใช้ความรุนแรง? และว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องรักษาบรรยากาศที่สงบเรียบร้อยและปลอดภัย เพื่อที่ประชาชนจะสามารถสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะที่ดีได้

Demonstrators chant slogans as they protest against the release of the upcoming Bollywood movie 'Padmavati' in Bengaluru, India, Nov. 15, 2017.
Demonstrators chant slogans as they protest against the release of the upcoming Bollywood movie 'Padmavati' in Bengaluru, India, Nov. 15, 2017.

ที่ผ่านมา การมีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์ ของราชินี "ปัทมาวตี" ยังคงเป็นเรื่องถกเถียงในหมู่นักวิชาการเช่นกัน

นักประวัติศาสตร์หลายคนระบุว่า ไม่มีหลักฐานว่าราชินีฮินดูผู้นี้มีตัวตนจริง ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์ และดูเหมือนจะเป็นเรื่องราวที่บอกเล่าต่อๆ กันมาจากวรรณกรรมพื้นบ้านอินเดียสมัยศตวรรษที่ 16 เรื่อง "ปัทมาวัต" ซึ่งเป็นเรื่องราวของราชินีผู้เลอโฉม ผู้กระทำ “Jauhar” หรือการเสียสละเดินเข้าสู่กองเพลิงเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับตัว

The Bollywood film Padmavati has been indefinitely delayed due to violent threats and protests by Hindu groups who say it distorts history.
The Bollywood film Padmavati has been indefinitely delayed due to violent threats and protests by Hindu groups who say it distorts history.

การประท้วงต่อหนังสือหรือภาพยนตร์ที่ชาวฮินดูหรือชาวมุสลิมในอินเดีย มองว่ามีเนื้อหาไม่เหมาะสมนั้น เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง เช่น การประท้วงหนังสือชื่อ “The Hindus: An Alternative History” ​ของนักเขียนชาวอเมริกัน เวนดี้ โดนิเกอร์ เมื่อสามปีก่อน และการสั่งห้ามหนังสือ "The Satanic Verses" ของ ซัลมาน รัชดี วางขายในอินเดียเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์การเมืองมองว่า การต่อต้านภาพยนตร์ "ปัทมาวตี" นั้นไปไกลเกินกว่าประเด็นด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ เพราะเกิดขึ้นในช่วงก่อนการเลือกตั้งสำคัญในหลายรัฐของอินเดีย ซึ่งประเด็นด้านชนชั้นวรรณะและอัตลักษณ์ทางการเมืองมักถูกหยิบยกขึ้นมาในการหาเสียง

รวมทั้งการก้าวขึ้นมามีบทบาทมากขึ้นของกลุ่มชาวฮินดูแนวคิดขวาจัดในเขตชนบท ในยุคที่พรรค BJP กำลังปกครองอินเดียอยู่ในขณะนี้

XS
SM
MD
LG