ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วิเคราะห์: ดาวเทียม “เป๋ยโต่ว” ของจีน สร้างความท้าทายด้านยุทธศาสตร์ต่อสหรัฐฯ 


FILE - A model of the BeiDou navigation satellite system is seen at an exhibition to mark China's Space Day 2019 on April 24, in Changsha, Hunan province, China, April 23, 2019.
FILE - A model of the BeiDou navigation satellite system is seen at an exhibition to mark China's Space Day 2019 on April 24, in Changsha, Hunan province, China, April 23, 2019.

หลังจากที่ใช้ความพยายามมากว่า 20 ปี จีนสามารถส่งดาวเทียมดวงสุดท้ายของโครงการที่ให้บริการระบบนำทางเเข่งกับ GPS (Global Positioning System) ของดาวเทียมสหรัฐฯ ซึ่งถูกใช้อยู่ทั่วโลก ณ ขณะนี้

ดาวเทียมดวงสุดท้ายในโครงการเป๋ยโต่ว (BeiDou) ของจีน ถูกส่งไปสู่ชั้นบรรยากาศ เมื่อวันอังคารสัปดาห์ที่แล้ว และนักวิเคราะห์เห็นว่าข่าวนี้ชี้ให้เห็นถึงการขับเคี่ยวกันทางเทคโนโลยีระหว่าง จีนและสหรัฐฯ พร้อมต้ังข้อสังเกตเรื่องความมั่นคงด้วย

สื่อของทางการจีนอ้างว่าระบบดังกล่าวที่ประกอบด้วยดาวเทียม 35 ดวง ถูกเริ่มพัฒนาขึ้นเมื่อ 26 ปีก่อน และขณะนี้ มีผู้ใช้งานกว่าครึ่งหนึ่งของโลก นอกจากนี้จีนสามารถส่งออกอุปกรณ์ที่รับสัญญาณดาวเทียมไปแล้วกว่า 120 ประเทศทั่วโลก

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ระบบดาวเทียมของจีน ต่างจากระบบอื่นๆในโลก ซึ่งประกอบด้วย GPS ของสหรัฐฯ GLONASS ของรัสเซีย Galileo ของยุโรป

กล่าวคือ ระบบเป๋ยโต่วเป็นการสื่อสารแบบสองทาง ทำให้ดาวเทียมทราบพิกัดของผู้รับสัญญาณและส่งข้อความได้ ดังนั้นหากใครใช้ระบบนำทางนี้จะสามารถบอกพิกัดของตนกับผู้อื่นได้

This combo of satellite images received on September 30, 2019 from CNES 2019, distributed by Airbus DS and produced by Earthrise shows a picture from April 24, 2018 (top) of Teywizim cemetery (C) in Hotan, Xinjiang province and the same view on August 6,
This combo of satellite images received on September 30, 2019 from CNES 2019, distributed by Airbus DS and produced by Earthrise shows a picture from April 24, 2018 (top) of Teywizim cemetery (C) in Hotan, Xinjiang province and the same view on August 6,

ผู้สันทัดกรณี ดร. แลร์รี่ วอร์ทเซิล ผู้บริหารหน่วยงาน U.S.-China Economic and Security Review Commission หรือ USCC บอกกับวีโอเอว่า เครื่องมือติดต่อสื่อสารที่เชื่อมกับดาวเทียมไม่ว่าจะเป็นประเทศใด จะสามารถถูกติดตามการเคลื่อนไหวได้ คำถามคือ “ใครคือคนที่อาจเกาะรอย และใครคือผู้อาจถูกเกาะรอยอยู่ ”

กฎหมายไต้หวันเมื่อ 4 ปีก่อนระบุว่า การติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมสามารถถูกใช้ในการโจมตีออนไลน์ได้ และเเนะนำให้เจ้าหน้าที่รัฐเลี่ยงการพึ่งพาดาวเทียมเป๋ยโต่ว

หน่วยงาน USCC ของ ดร. วอร์ทเซิล ทำการศึกษาเมื่อ 3 ปีก่อน และพบว่าระบบเป๋ยโต่วอาจมีความเสี่ยงด้านความมั่นคง

การศึกษาพบว่า อาจมีการติดตามสอดแนมผู้ใช้ ด้วยการส่งมัลแวร์ผ่านสัญญาณนำทางหรือระบบส่งข้อความได้

อย่างไรก็ตามการศึกษาระบุว่า ยังไม่ทราบถึงการปฏิบัติจริงในเรื่องการส่งมัลเเวร์ผ่านสัญญาณนำทาง

ดร. วอร์ทเซิล แสดงทัศนะส่วนตัวว่า บางครั้งอาจขึ้นอยู่กับว่า เครื่องมือสื่อสารเป็นยี่ห้ออะไร เพราะมัลเเวร์อาจถูกฝังอยู่ในชิพของอุปรกรณ์สื่อสารด้วย

ในขณะเดียวกัน ดร. เอ็มมานูเอล เมนิวท์ แห่งองค์กรด้านการศึกษานโยบายของฝรั่งเศสที่ชื่อ Institute of International Relations กล่าวว่า การที่จีนดำเนินการโครงการเป๋ยโต่วอย่างเสร็จสมบูรณ์ ถือว่าจีนต้องการชิงความเป็นที่หนึ่งในระบบดาวเทียมนำทาง

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:33 0:00

ทั้งนี้ ระบบของจีนมีดาวเทียม 35 ดวง มากกว่าระบบ GPS ของสหรัฐฯที่มี 31 ดวง ตามข้อมูลของดร. เมนิวท์

เพื่อเป็นการสนับสนุนการใช้ระบบเป๋ยโต่ว ทางการจีนเชิญชวนประเทศต่างๆ ด้วยการเสนอเงินกู้ และบริการที่ไม่มีค่าใช้จ่าย และเมื่อ 7 ปีก่อน ทางการปักกิ่งลงนามความตกลงมูลค่า 2,000 ล้านหยวน หรือราว 10,000 ล้านบาทกับไทย ซึ่งทำให้ไทยเป็นลูกค้าต่างชาติรายแรกของระบบดาวเทียมนี้

สื่อซินหว่าของทางการจีนกล่าวว่า ขณะนี้โครงการเป๋ยโต่ว มี ผู้ใช้ 500 ล้านคน

และบริษัทวิจัย SWS Research ระบุว่า ณ สิ้นปีนี้ โครงการนี้ของจีนจะมีสถานีรับสัญญาณอย่างน้อย 1,000 แห่งในประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประทศ

ดร. เมนิวท์ กล่าวด้วยว่าการสยายปีกของโครงการดาวเทียมของจีนไม่ใช่เป็นเพียงการเเข่งขันบริการสัญญาณสื่อสารเพื่อนำทางเท่านั้น แต่ยังเป็นความท้าทายด้านยุทธศาสตร์ที่สำคัญต่ออเมริกาอีกด้วย

XS
SM
MD
LG