ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สละเรือ?? หลายประเทศในเอเชียกำลังพิจารณาทางเลือกอื่นแทน "TPP" หลัง "ทรัมป์" ลงนามถอนตัว!


FILE - A protester holds a sign reading "We oppose Japan to join the TPP negotiation talks" during a rally against the Trans-Pacific Partnership in Tokyo.
FILE - A protester holds a sign reading "We oppose Japan to join the TPP negotiation talks" during a rally against the Trans-Pacific Partnership in Tokyo.
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:50 0:00

รัฐบาลและภาคธุรกิจในหลายประเทศ กำลังพิจารณาทางเลือกต่างๆ ในการเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรีแทนข้อตกลงการค้า Trans-Pacific Partnership (TPP) หลังจากที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหารเพื่อถอนสหรัฐฯ ออกจากข้อตกลง TPP เมื่อวานนี้

เมื่อวานนี้ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหาร (Executive Order) เพื่อถอนสหรัฐฯ ออกจากข้อตกลงการค้า Trans-Pacific Partnership (TPP) ที่รัฐบาลอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า เป็นผู้ผลักดัน โดยให้เหตุผลว่าข้อตกลงดังกล่าวจะทำให้อเมริกาสูญเสียตำแหน่งงานจำนวนมาก

อาจารย์ Carl Thayer นักรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย New South Wales ในออสเตรเลีย ให้ความเห็นว่า การที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ตัดสินใจถอนตัวจาก TPP แล้วหันไปมุ่งเน้นการทำข้อตกลงแบบทวิภาคีเป็นรายประเทศแทนนั้น ไม่เป็นผลดีต่อการขยายอิทธิพลของสหรัฐฯ ในแถบเอเชีย-แปซิฟิก

อาจารย์ Carl Thayer กล่าวว่าการที่สหรัฐฯ ถอนตัวออกจาก TPP จะทำให้สหรัฐฯ สูญเสียบทบาทความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจกับประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในช่วงกว่า 60 ปีที่ผ่านมา อเมริกาใช้การค้ากับประเทศทางเอเชียเป็นเครื่องมือช่วยแผ่ขยายอำนาจทางเศรษฐกิจ โดยมีข้อตกลงการค้าแบบพหุภาคีเป็นศูนย์กลาง

President Donald Trump signs an executive order to withdraw the U.S. from the 12-nation Trans-Pacific Partnership trade pact agreed to under the Obama administration in the Oval Office.
President Donald Trump signs an executive order to withdraw the U.S. from the 12-nation Trans-Pacific Partnership trade pact agreed to under the Obama administration in the Oval Office.

เวลานี้รัฐบาลและภาคธุรกิจในหลายประเทศของเอเชีย กำลังพิจารณาทางเลือกต่างๆ ในการเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรีแทนข้อตกลง TPP

ทางเลือกดังกล่าวรวมถึง Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) ที่มีจีนเป็นผู้ผลักดัน ซึ่งครอบคลุมประเทศในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ ตลอดจน ญี่ปุ่นและอินเดีย คาดว่าข้อตกลงที่ว่านี้จะสามารถสรุปขั้นตอนสุดท้ายได้ภายในปีนี้

รศ.ดร. ภวิดา ปานะนนท์ แห่งคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ข้อตกลง RCEP กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นหลังจากที่ TPP ดูเหมือนจะไปไม่รอด และว่าความไม่แน่นอนของตลาดสหรัฐฯ ทำให้ประเทศต่างๆ มุ่งเน้นให้ความร่วมมือทางการค้ากับประเทศในแถบเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น

ด้านอาจารย์ Carl Thayer แห่งมหาวิทยาลัย New South Wales เชื่อว่า แม้ RCEP กำลังถูกพูดถึงอย่างมากว่าจะมาแทน TPP ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว RCEP เปรียบเสมือนข้อตกลงแบบทวิภาคีระหว่างอาเซียนกับจีน กับญี่ปุ่น หรือกับอินเดีย จึงมีขนาดเล็กและครอบคลุมน้อยกว่า TPP อีกทั้งมาตรฐานในด้านต่างๆ ก็ยังน้อยกว่า TPP

คำถามสำคัญคือ สหรัฐฯ ยังมีโอกาสกลับมาเข้าร่วมใน TPP อีกหรือไม่?

นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย มัลคอล์ม เทิร์นบุลล์ ระบุว่าสมาชิกพรรครีพับลิกันจำนวนมากสนับสนุน TPP เช่นเดียวกับรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ คนใหม่ เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน ที่สนับสนุน TPP มาโดยตลอด จึงเชื่อว่าอาจมีน้ำหนักที่จะทำให้ประธานาธิบดีทรัมป์กลับมาพิจารณาเรื่องนี้อีกครั้ง

ส่วนอาจารย์ Carl Thayer เชื่อว่าหากมีการเจรจาในรายละเอียดว่ามีข้อใดที่ประธานาธิบดีทรัมป์ไม่ชอบ และมีการจัดการแก้ไข ก็มีโอกาสที่สหรัฐฯ จะกลับเข้าร่วมอีกครั้งในรอบที่ 2 ก่อนกำหนดเส้นตายในเดือนมกราคมปีหน้า

แม้โอกาสที่ว่านั้นจะริบหรี่อย่างยิ่ง เหมือนแสงสวางเล็กๆ ที่ปลายอุโมงค์ก็ตาม

(ผู้สื่อข่าว Ron Corben รายงาน / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง)

XS
SM
MD
LG