ลิ้งค์เชื่อมต่อ

 
นักวิเคราะห์ชี้การถอนตัวของสหรัฐฯ จาก 'ข้อตกลงกรุงปารีส' อาจส่งผลกระทบที่กว้างไกลมาสู่เอเชีย

นักวิเคราะห์ชี้การถอนตัวของสหรัฐฯ จาก 'ข้อตกลงกรุงปารีส' อาจส่งผลกระทบที่กว้างไกลมาสู่เอเชีย


Scientists say Climate Change, Dams Threaten Mekong Livelihoods
Scientists say Climate Change, Dams Threaten Mekong Livelihoods
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:50 0:00

นักวิเคราะห์กล่าวว่าการถอนตัวของสหรัฐฯ จากข้อตกลงกรุงปารีส ว่าด้วยเรื่องการลดปัญหาภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงผิดธรรมชาติ จะส่งผลกระทบที่กว้างไกลมาสู่ภูมิภาคเอเชียเเปซิฟิก

ดร. ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์กับวอยซ์ ออฟ อเมริกาว่า การถอนตัวของสหรัฐฯ อาจสั่นคลอนความร่วมมือในภูมิภาคด้านการรับมือกับปัญหาภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงผิดธรรมชาติ

นักวิชาการผู้นี้กล่าวว่า การตัดสินใจครั้งนี้ของรัฐบาลประธานาธิบดี ทรัมป์ มีผลกว้างไกล เพราะนั่นหมายความว่ากรอบความตกลงระหว่างประเทศ เพื่อควบคุมความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน และปัญหาด้านภาวะอากาศโดยรวมถูกบั่นทอนลง และเกิดความไม่แน่นอนว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น

ดร. ฐิตินันท์ กล่าวว่าครั้งนี้อาจเป็นโอกาสของจีนที่จะมีบทบาทเด่นขึ้นในการทำให้แน่ใจว่าข้อตกลงเรื่องภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงผิดธรรมชาติมีการบังคับใช้จริง

อีกด้านหนึ่ง หน่วยงาน ESCAP ของสหประชาชาติเตือนในรายงานว่า ประเทศเอเชียแปซิฟิกหลายประเทศมีความอ่อนไหวด้านภูมิศาสตร์ และมีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบที่เสียหายจากภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงผิดธรรมชาติ

รายงานฉบับดังกล่าวระบุว่า หากไม่มีโครงการพัฒนาด้านภาวะอากาศ ประชากรกว่า 100 ล้านคนอาจตกอยู่ในภาวะยากจนอย่างที่สุดในอีก 13 ปีจากนี้ และนั่นหมายถึงความพยายามขจัดความยากจนที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้อาจสูญเปล่าได้

อาจารย์ Karl Thayer จากมหาวิทยาลัย New South Wales ของออสเตรเลีย กล่าวว่าภัยจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นกระทบต่อหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เสี่ยงต่อปัญหาน้ำท่วมอยู่แล้ว ภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงผิดธรรมชาติ ทำให้ประเทศที่ไม่แข็งแรงอยู่แล้วอ่อนแอลงไปอีก และปัญหาอาจทวีความรุนแรงขึ้นเกิดว่ารัฐต่างๆ จะรับมือไหว

อาจารย์ Thayer บอกว่านั่นอาจนำไปสู่การต่อสู้แย่งชิงหรือไม่ก็อาจเกิดการอพยพของประชากรในภูมิภาคได้ และว่าทางออกของภาวะดังกล่าวคือการร่วมมือที่มีประสิทธิภาพของประเทศต่างๆ

ความกังวลของอาจารย์ Thayer ยังรวมถึงบทบาทต่อไปจากนี้ของสหรัฐฯ ในความร่วมมือในโครงการของประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ที่สหรัฐฯ มีส่วนสำคัญด้านการรณรงค์เรื่องการพัฒนาและสิ่งแวดล้อม

ส่วนผู้เชี่ยวชาญอย่างเช่น อาจารย์ สมิธ ธรรมสโรจน์ กล่าวว่า ตนกังวลเรื่องการสนับสนุนด้านเทคนิคที่อาจมีน้อยลงจากสหรัฐฯ หลังจากที่อเมริกาไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงปารีส

เขาบอกว่าเอเชียเป็นทวีปที่มีความเสี่ยงต่ออุทกภัยที่รุนแรง และยังไม่รวมถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ซึ่งที่ผ่านมาความรู้และความเชี่ยวชาญจากสหรัฐฯ มีประโยชน์ต่อโครงการต่างๆ ด้านนี้

ขณะเดียวกัน ในทัศนะของอาจารย์สมิธ จีนคงจะไม่สามารถเล่นบทผู้นำแทนสหรัฐฯ ได้ในเรื่องนี้

XS
SM
MD
LG