ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ตัวแทนประเทศในเอเชียสะท้อนทัศนะการรับมือสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงผิดธรรมชาติ


A man pedals his cycle rickshaw during monsoon rains in New Delhi, India August 31, 2016.
A man pedals his cycle rickshaw during monsoon rains in New Delhi, India August 31, 2016.

เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากไทยซึ่งร่วมประชุมครั้งนี้ด้วย ย้ำถึงปรัชญาการพัฒนาของ “รัชกาลที่ 9”

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:04 0:00

เจ้าหน้าที่ในเอเชียกล่าวว่า "ภูมิภาคนี้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อความพยายามระดับโลกในการลดปัญหาภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงผิดธรรมชาติ"

ทัศนะดังกล่าวถูกสะท้อนที่การประชุม Inter-Parliamentary Union (IPU) ของตัวแทนสมาชิกรัฐสภาจากประเทศต่างๆ ที่ที่นครโฮจิมินห์ประเทศเวียดนาม ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

เลขาธิการ IPU นาย มาร์ติน ชุนกอง กล่าวว่า "เรื่องอากาศเปลี่ยนแปลงผิดธรรมชาติ เป็นประเด็นที่ไม่จำกัดว่าอยู่แต่ในประเทศใดประเทศหนึ่ง เพราะปัญหาส่งผลข้ามพรมแดน"

เนื่องจากเอเชียเป็นทวีปที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ภูมิภาคนี้จึงมีโอกาสแสดงบทบาทที่สำคัญเพื่อลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

เอเชียแปซิฟิกมีประชากรเขตเมืองหนึ่งพันล้านคน มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรเขตเมืองในส่วนอื่นๆ ของโลกรวมกัน และประชากรกลุ่มนี้มีบทบาทและส่งผลกรทบต่อระบบนิเวศน์โลกมากกว่าคนกลุ่มอื่น

หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เหงียน เทียน หนาน กล่าวว่า "นครโฮจิมินห์ สถานที่จัดการประชุม เป็นเมืองใหญ่ที่มีประชากร 10 ล้านคน ขยะและน้ำเสียจากครัวเรือนที่มาจากเมืองแห่งนี้มีปริมาณสูงกว่าค่าเฉลี่ยในเวียดนามถึง 17 เท่า"

ตัวแทนจากไทย พลโท ชัยยุทธ พร้อมสุข ประธานคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวกับนักข่าววีโอเอช่วงการประชุมว่า

"ปัญหาสำคัญที่สุดสำหรับประเทศไทยเรื่องภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงผิดธรรมชาติ คือการตัดไม้ทำลายป่าและการสูญเสียพื้นที่สีเขียว"

เขาบอกว่ารัฐบาลไทยตั้งเป้าว่าจะรักษาอัตราส่วนของป่าว่าให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 40 ในช่วงสองทศวรรษจากนี้ แนวทางหนึ่งคือการขยายป่าโกงกางในประเทศ

อีกมาตรการหนึ่งที่ทำได้คือการสนับสนุนให้ชนกลุ่มน้อยปลูกพืชการเกษตรเช่น เชอร์รี่และแอปเปิ้ล แทนการตัดไม้

ตัวแทนจากไทยกล่าวว่า "แนวทางด้านการพัฒนาที่เข้าถึงคนทุกกลุ่มและให้ความสำคัญกับการกระจายรายได้ เป็นไปตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จประเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช"

ขณะเดียวกัน ผู้แทนจากสถาบันการพัฒนาของเยอรมนี แอนนา ชรียีออก จากหน่วยงาน GIZ สาขาเวียดนาม สนับสนุนแนวทางเช่นเดียวกับไทย ในเรื่องการวางนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ และนำประเด็นวิถีชีวิตคนตามชุมชนห่างไกล เช่นชนกลุ่มน้อย รวมถึงความเห็นจากกลุ่มสตรีมาพิจารณาเมื่อร่างแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม

ด้านคุณ Sanya Praseuth ประเทศลาว ตำแหน่งรองประธานคณะกรรมาธิการด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมของรัฐสภาลาวกล่าวว่า "การตัดไม้ทำลายป่าเป็นปัญหาสำคัญของลาวเช่นกัน และทางการพยายามระงับการให้สัมปทานตัดไม้"

ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของอินโดนีเซีย สิติ เฮดิอาติ ซูฮาโต้ บอกว่า "ประเทศกำลังพัฒนาคงทำอะไรไม่ได้มาก และปัญหาภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงผิดธรรมชาติต้องอาศัยการแสดงความรับผิดชอบของประเทศพัฒนาแล้วด้วย"

เธอบอกว่า ในมุมมองของอินโดนีเซีย ประเทศพัฒนาแล้วควรดำเนินการในฐานะผู้นำอย่างต่อเนื่อง


(รายงานโดย Ha Nguyen และ Lien Hoang / รัตพล อ่อนสนิท เรียบเรียง)

XS
SM
MD
LG