ลิ้งค์เชื่อมต่อ

มลพิษทางอากาศอาจส่งผลต่ออวัยวะทุกส่วนและทุกเซลล์ในร่างกาย


People wearing masks to protect from air pollution walk at a bus station in Seoul, South Korea, Wednesday, March 6, 2019. (AP Photo/Ahn Young-joon)
People wearing masks to protect from air pollution walk at a bus station in Seoul, South Korea, Wednesday, March 6, 2019. (AP Photo/Ahn Young-joon)

การสูดหายใจเข้าลึก ๆ นาน ๆ เป็นสิ่งที่ดีสำหรับทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะช่วยนำออกซิเจนที่มีความจำเป็นเข้าไปสู่เลือด และช่วยสร้างความสงบทางด้านอารมณ์ได้

แต่ความสงบและออกซิเจนนั้นไม่ได้เป็นเพียงสิ่งเดียวที่เข้ามาพร้อมกับการสูดหายใจเข้าลึก ๆ เพราะในหลาย ๆ ส่วนของโลกการสูดหายใจลึก ๆ เป็นการนำเอามลพิษเข้าสู่ร่างกาย

การสูดหายใจเอาอากาศที่มีมลพิษของประชากรหลาย ๆ ส่วนในโลกกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ในเว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนว่า 91% ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในที่ที่มีคุณภาพอากาศแย่เกินขีดจำกัด ตามแนวทางของ WHO

ผู้เชี่ยวชาญของ WHO กล่าวว่า ทุก ๆ ปี มลพิษทางอากาศคร่าชีวิตผู้คนราว 7 ล้านคนทั่วโลก โดยการเสียชีวิตของคนราว 4 ล้านคนเชื่อมโยงกับมลพิษทางอากาศจากภายนอก และอีก 3 ล้านคนเชื่อมโยงกับมลพิษทางอากาศภายในหรือที่เรียกว่า "มลพิษทางอากาศในครัวเรือน"

WHO กล่าวเพิ่มเติมอีกว่ามลพิษทางอากาศเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้คนคนนับพันล้านคน

รายงานของ WHO ระบุว่า กว่า 80% ของประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองสูดอาการที่เป็นมลพิษอยู่ในระดับที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

การศึกษาบางฉบับแสดงให้เห็นว่า ขนาดของมลพิษในอากาศคือสิ่งที่คุกคามต่อสุขภาพมากที่สุด

อนุภาคขนาดเล็กละเอียดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 ไมโครเมตรหรือเล็กกว่านั้นดูเหมือนจะส่งผลเสียต่อสุขภาพมากที่สุด ขนาดที่ว่านั้นมีสัดส่วนเพียง 3% ของเส้นผมมนุษย์หรืออาจจะเล็กกว่านั้น นักวิทยาศาสตร์มักจะเรียกมลพิษทางอากาศชนิดนี้สั้นๆ ว่า PM2.5 และ PM ที่เล็กที่สุดสามารถเคลื่อนที่ผ่านเนื้อเยื่อได้

อย่างไรก็ดี การหายใจอยู่ในอากาศที่มีมลพิษ ไม่ได้ส่งผลต่อระบบการหายใจมนุษย์ของเพียงอย่างเดียวนั้น แต่จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าปาก จมูก ลำคอ และปอดก็ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศด้วยเช่นกัน

บรรดานักวิทยาศาสตร์จากหลายๆ แห่งชี้ว่า PM2.5 สามารถส่งผลกระทบต่อทุกอวัยวะและทุกเซลล์ในร่างกายของเรา PM2.5 สามารถผ่านสิ่งกีดขวางที่ปกป้องสมองของคนเราได้ และยังสามารถผ่านไปถึงรก ดังนั้นแม้แต่ทารกในครรภ์มารดาก็ไม่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศ

WHO รายงานว่ามลพิษทางอากาศทำให้เกิดการเสียชีวิตด้วยอาการเส้นโลหิตอุดตันในสมอง หรือสโรค 24% และทำให้ผู้คนเป็นโรคหัวใจ 25%

นอกจากนี้นักวิจัยจาก Forum of International Respiratory Societies หรือ FIRS ยังพบว่ามลพิษทางอากาศนั้นเป็นอันตรายต่อสมองผู้สูงอายุด้วย โดยผู้สูงอายุที่ต้องสูดดมมลพิษทางอากาศมากๆ นั้นมีความเสี่ยงต่ออาการสมองเสื่อมเพิ่มมากขึ้น

รายงานยังระบุอีกว่ามลพิษทางอากาศนั้นทำให้กระดูกอ่อนแอลง แตกหักง่ายขึ้น ทำให้ผิวพรรณมีริ้วรอย มีอาการเจ็บตา รบกวนการนอนหลับ และส่งผลกระทบต่อไต และนักวิจัยกล่าวว่าการอาศัยอยู่ใกล้ๆ กับถนนที่มีความวุ่นวายอาจทำให้เป็นโรคตับได้

นักวิจัยของ WHO กล่าวว่าในปีพ.ศ. 2559 มีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบประมาณ 600,000 คนที่เสียชีวิตจากอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ารัฐบาลของแต่ละประเทศควรเป็นผู้นำในการต่อสู้กับความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ และแนะนำให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศเป็นพิษ ควรอยู่แต่ในตัวอาคารเมื่อมลพิษทางอากาศอยู่ในระดับสูง ควรสวมหน้ากากไม่ว่าจะเป็นแบบผ้าหรือกระดาษ ในการปิดจมูกและปากเพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย

XS
SM
MD
LG