ลิ้งค์เชื่อมต่อ

 
สื่อต่างชาติมอง 'รอยแยกในอาเซียน' กรณีไทยจัดประชุมหารือวิกฤตเมียนมา

สื่อต่างชาติมอง 'รอยแยกในอาเซียน' กรณีไทยจัดประชุมหารือวิกฤตเมียนมา


Thailand's Foreign Minister Don Pramudwinai, center, attends the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) foreign ministers retreat in Jakarta, Indonesia, Saturday, Feb. 4, 2023.
Thailand's Foreign Minister Don Pramudwinai, center, attends the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) foreign ministers retreat in Jakarta, Indonesia, Saturday, Feb. 4, 2023.

รัฐบาลรักษาการของไทยพยายามปกป้องการตัดสินใจจัดประชุมหารือร่วมกับผู้แทนของรัฐบาลทหารเมียนมา ซึ่งทำให้เกิดการแบ่งแยกด้านจุดยืนที่มีต่อเมียนมาภายในสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน อยู่ในขณะนี้ ตามรายงานของสื่อเอเอฟพีและรอยเตอร์

ในช่วงเกือบสองปีที่ผ่านมา ผู้นำทหารเมียนมาถูกปฏิเสธการเข้าร่วมในการประชุมระดับสูงของสมาคมอาเซียน เนื่องจากไม่ปฏิบัติตาม 'ฉันทามติ 5 ข้อ' และไม่เริ่มการเจรจากับฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองซึ่งมีความเชื่อมโยงกับรัฐบาลพลเรือนที่ถูกยึดอำนาจ

แต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลไทยได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลทหารเมียนมา ตาน สเว ร่วมการเจรจากับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ของอาเซียน เป็นเวลาสองวันเริ่มตั้งแต่วันจันทร์ ที่เมืองพัทยา ชลบุรี

นายกรัฐมนตรีรักษาการของไทย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวว่าการเจรจาครั้งนี้เป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากไทยเดือดร้อนมากกว่าประเทศอื่น เพราะมีพรมแดนติดกับเมียนมามากกว่า 3,000 กม. ทั้งทางบกและทางทะเล พร้อมยืนยันว่าการเจรจาในวันจันทร์เป็นเพียงการพบปะกันเท่านั้น มิได้มีการตกลงใด ๆ เกิดขึ้น ตามรายงานของเอเอฟพี

Thailand’s Prime Minister Prayuth Chan-ocha speaks to members of media at the Government House in Bangkok, March 20, 2023.
Thailand’s Prime Minister Prayuth Chan-ocha speaks to members of media at the Government House in Bangkok, March 20, 2023.

อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่า เรื่องนี้ได้ทำให้เกิดการแบ่งแยกสมาชิกอาเซียนออกเป็นสองฝ่ายท่ามกลางเสียงวิจารณ์ถึงความเหมาะสม และถือเป็นการกัดเซาะความพยายามของอาเซียนในการแก้ไขจัดการวิกฤตในเมียนมา

อินโดนีเซียและมาเลเซียต่างปฏิเสธเข้าร่วมการประชุม ขณะที่สิงคโปร์เตือนว่ายังเร็วเกินไปที่จะให้ผู้แทนรัฐบาลทหารเมียนมาเข้าร่วมการประชุมระดับสูงในอาเซียน

แต่กัมพูชายืนยันส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ขณะที่จีนซึ่งเป็นผู้สนับสนุนรัฐบาลทหารเมียนมามาโดยตลอด ส่งผู้แทนพิเศษด้านกิจการเอเชีย เติ้ง สีจุ้น มาร่วมการประชุม

FILE - Thailand's Foreign Minister Don Pramudwinai gestures during a news conference at the Ministry of Foreign Affairs in Bangkok, Thailand, July 1, 2016.
FILE - Thailand's Foreign Minister Don Pramudwinai gestures during a news conference at the Ministry of Foreign Affairs in Bangkok, Thailand, July 1, 2016.

ด้านรัฐมนตรีต่างประเทศของไทย ดอน ปรมัตถ์วินัย ย้ำว่า ไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตในเมียนมามากกว่าประเทศอื่น และระบุว่า "ไทยคือประเทศเดียวที่ต้องการหาทางแก้ไขจัดการ" "ประเทศสมาชิกอื่นในอาเซียนไม่ให้ความสนใจเท่ากับเรา" อ้างอิงจากรายงานของเอเอฟพี

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผู้หนึ่งกล่าวกับเอเอฟพีว่า ตนเชื่อว่ารัฐบาลไทยกำลังต้องการหาทางนำเมียนมากลับเข้าสู่การประชุมระดับสูงภายในอาเซียนอีกครั้ง

ขณะที่องค์กร ASEAN Parliamentarians for Human Rights เรียกการเจรจาที่ไทยในครั้งนี้ว่า "การทรยศต่อประชาชนเมียนมา และสบประมาทต่อความเป็นเอกภาพของอาเซียน" อ้างอิงจากรอยเตอร์

  • ที่มา: เอเอฟพี และรอยเตอร์

XS
SM
MD
LG