ลิ้งค์เชื่อมต่อ

'สตรีมมิ่งเลี้ยงชีพ' ตอกย้ำวิกฤติช้างไทยในช่วงโควิด


FILE - Elephant owner Siriporn Sapmak, 23, poses while holding her gear used for social media live-streaming outside her house, at Ban Ta Klang village in Surin, Thailand April 6, 2022.
FILE - Elephant owner Siriporn Sapmak, 23, poses while holding her gear used for social media live-streaming outside her house, at Ban Ta Klang village in Surin, Thailand April 6, 2022.

ศิริพร ทรัพย์มาก แห่งบ้านตากลาง ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จะเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการไลฟ์สดกิจกรรมของช้างสองเชือกของเธอบนโซเชียลมีเดียเพื่อหาเงินเลี้ยงช้าง

หญิงสาววัย 23 ปีซึ่งดูแลช้างมาตั้งแต่สมัยเรียน ใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายวีดีโอในขณะที่เธอป้อนกล้วยให้พวกมัน และตอนที่พาพวกมันเดินไปรอบ ๆ หลังบ้านของเธอ

ศิริพรกล่าวว่า เธอได้รับเงินบริจาคประมาณ 1,000 บาท จากการไลฟ์สดเป็นเวลาหลายชั่วโมงบน TikTok และ YouTube แต่นั่นก็เพียงพอแล้วที่จะเลี้ยงช้างสองเชือกของเธอได้ในแต่ละวัน

เงินบริจาคดังกล่าวเป็นแหล่งรายได้ที่ไม่ได้มีความมั่นคงสำหรับครอบครัวของศิริพร ซึ่งก่อนเกิดโรคระบาดใหญ่ เธอเคยมีรายได้จากการแสดงช้างที่เมืองพัทยาของประเทศไทย และยังมีรายได้เสริมจากการขายผลไม้อีกด้วย

ครอบครัวทรัพย์มาก ก็เหมือนกับเจ้าของช้างหลายพันรายทั่วประเทศ ที่ต้องกลับภูมิลำเนาเนื่องจากการระบาดใหญ่ที่ทำให้ปางช้างและสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับชาวต่างชาติต้องหยุดชะงักลง

เมื่อปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาประเทศไทยเพียง 400,000 คน เทียบกับเกือบ 40 ล้านคนในปีพ.ศ.2562

บางวันศิริพรไม่ได้รับเงินบริจาคเลยและช้างของเธอก็มีอาหารไม่พอกิน ศิริพรกล่าวว่า ครอบครัวของเธอหวังว่านักท่องเที่ยวจะกลับมาเที่ยวอีก และเธอจะได้ไม่ต้องไลฟ์สดอีกต่อไป เพราะถ้าได้กลับไปทำงาน ก็จะมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถซื้อหญ้าให้ช้างกินได้

FILE - Chained elephants reach to touch their trunks under a roof at Ban Ta Klang village in Surin, Thailand, April 7, 2022.
FILE - Chained elephants reach to touch their trunks under a roof at Ban Ta Klang village in Surin, Thailand, April 7, 2022.

เอ็ดวิน วีค ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่าในประเทศไทย คาดว่ามีช้างอย่างน้อยหนึ่งพันเชือกในประเทศไทยที่จะขาดรายได้ จนกว่านักท่องเที่ยวจะกลับมาเที่ยวมากขึ้น

ทั้งนี้ ประเทศไทยมีช้างที่ถูกเลี้ยงไว้ประมาณ 3,200 ถึง 4,000 เชือก ตามข้อมูลของหน่วยงานราชการ และมีช้างอีกประมาณ 3,500 ตัวที่อยู่ในป่า

วีค กล่าวว่า กรมปศุสัตว์จำเป็นจะต้องหางบประมาณเพื่อช่วยเหลือช้างเหล่านี้ ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นเรื่องยากสำหรับหลาย ๆ ครอบครัวที่จะรักษาชีวิตพวกมันเอาไว้

หลายครอบครัวในบ้านตากลางซึ่งเป็นศูนย์กลางของธุรกิจช้างของประเทศไทยในจังหวัดสุรินทร์ ได้ดูแลช้างมาหลายชั่วอายุคนและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับช้างเหล่านั้น

การแสดงช้างและการขี่ช้างได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมาช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวชาวจีน ในขณะที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กลุ่มสิทธิสัตว์เกี่ยวกับวิธีการดูแลช้าง

FILE - Baby elephant Pangmaemae Plainamo, along with her mother and a mahout, are live-streamed on social media at Ban Ta Klang village in Surin, Thailand April 8, 2022.
FILE - Baby elephant Pangmaemae Plainamo, along with her mother and a mahout, are live-streamed on social media at Ban Ta Klang village in Surin, Thailand April 8, 2022.

เพ็ญศรี ทรัพย์มาก แม่ของศิริพรซึ่งมีอายุ 60 ปี กล่าวว่า ครอบครัวของเธอผูกพันกับช้างเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว และถ้าหากไม่มีพวกมัน ก็ไม่รู้ว่าอนาคตของครอบครัวเธอจะเป็นอย่างไรดังนั้นพวกเธอจึงต้องขอบคุณช้างเหล่านี้

รายงานของกรมปศุสัตว์ซึ่งดูแลช้างที่ถูกเลี้ยงไว้ระบุว่า รัฐบาลได้ส่งมอบหญ้าจำนวน 500,000 กิโลกรัมไปยังหลายจังหวัดตั้งแต่ปีพ.ศ.2563 เพื่อช่วยเลี้ยงช้าง ขณะที่สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าเผยว่า ช้างต้องกินอาหารวันละ 150 กก. ถึง 200 กก.

อย่างไรก็ตาม ศิริพรและแม่ของเธอกล่าวว่า ครอบครัวของเธอยังไม่ได้รับความช่วยเหลือใด ๆ จากรัฐบาลเลย

สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า “เรื่องนี้เป็นปัญหาที่ใหญ่ระดับชาติ” และว่ารัฐบาลมีแผนที่จะช่วยเหลือช้างและผู้ดูแลช้าง และมีการวางมาตรการควบคู่ไปกับงบประมาณที่จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี" โดยไม่ได้มีการระบุกรอบเวลา

FILE - Baby elephant Pangmaemae Plainamo takes a bath at Ban Ta Klang village in Surin, Thailand April 8, 2022.
FILE - Baby elephant Pangmaemae Plainamo takes a bath at Ban Ta Klang village in Surin, Thailand April 8, 2022.

ในขณะที่รัฐบาลคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 10 ล้านคนในปีนี้ แต่บางคนก็กล่าวว่า จำนวนดังกล่าวอาจจะยังไม่เพียงพอที่จะดึงดูดให้บรรดาเจ้าของช้างกลับมายังแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำได้ เนื่องจากมีเรื่องของค่าใช้จ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้บรรดานักท่องเที่ยวจีน ซึ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวหลักที่มาชมการแสดงช้างก็ยังอยู่ในช่วงของการล็อกดาวน์

วีค จากมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่าในประเทศไทย คาดว่า จะมีลูกช้างเกิดใหม่จากช้างที่ถูกเลี้ยงไว้มากขึ้นในปีหน้า ซึ่งเป็นการสร้างความกดดันให้แก่บรรดาเจ้าของช้างมากขึ้นด้วย

เพ็ญศรี คนเลี้ยงช้างจากบ้านตากลาง กล่าวด้วยว่า บางวันเธอก็มีรายได้ แต่บางวันก็ไม่มีเลย ซึ่งหมายความว่าอาหารที่จะนำมาเลี้ยงช้างก็น้อยลงไปด้วย ซึ่งตัวเธอเองก็ยังมองไม่เห็นทางออกของปัญหานี้

  • ที่มา: รอยเตอร์
XS
SM
MD
LG