การปลดล็อกกัญชาให้ประชาชนสามารถใช้ในทางการแพทย์และการบริโภคในครัวเรือนเป็นหลักในประเทศไทยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้เรียกเสียงฮือฮาจากผู้คนทั่วโลก ปัจจุบัน ความเสรีของกัญชาถูกตั้งคำถามว่าใครกันแน่ที่ได้รับประโยชน์และมาตรการควบคุมที่ชัดเจนมีอะไรบ้าง
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ปลดกัญชาและกัญชงออกจากบัญชีสารเสพติด เนื่องจากเล็งเห็นประโยชน์ทางการแพทย์และเศรษฐกิจจากพืชข้างต้น เส้นทางการเปลี่ยนประเทศให้เป็นสวรรค์ของผู้ใช้กัญชาและนักธุรกิจหรือผู้ขายกัญชาถือเป็นเรื่องที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน เพราะปกติแล้ว รัฐบาลไทยมีการใช้มาตรการควบคุมยาเสพติดที่เคร่งครัดมาโดยตลอดทั้งนี้ การแตกแถวของไทยออกมาจะประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังควบคุมกัญชาอย่างเคร่งครัด ทำให้ไทยขึ้นแท่นเป็นประเทศแรกในภูมิภาคข้างต้นที่สามารถทำการปลูกและขายกัญชา ยกเว้น สารสกัดกัญชาที่มีสาร THC เกิน 0.2% ได้อย่างเสรี
ปิยะธิดา จันทรา หรือ เล็ก ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าววีโอเอระหว่างพรวนดินให้กับต้นกัญชาหลายร้อยต้นของเธอที่จังหวัดโคราชว่า เป็นเวลาเกือบสามปีที่เธอได้แอบปลูกกัญชาที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน ให้พ้นสายตาเจ้าหน้าที่ และถึงแม้ปัจจุบันจะมีการปลดล็อกกัญชาแล้ว แต่เล็กยังกลัวว่าเธออาจจะถูกจับหรือลงโทษ โดยระบุว่า “เราอยู่ในช่วงสุญญากาศ ใครจะทำอะไรก็ได้ตอนนี้”จังหวัดที่เล็กอาศัยอยู่นั้นถือเป็นประตูสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซ้ำยังเป็นฐานเสียงสำคัญในการเลือกตั้งที่จะต้องจัดขึ้นภายในช่วงต้นปีหน้าอีกด้วย
พื้นที่ข้างต้นมีเกษตรกรจำนวนมากที่ปลูกข้าวและอ้อย เแต่ในหลายปีที่ผ่านมา เกษตรกรเหล่านี้สูญเสียรายได้จำนวนมหาศาลเพราะราคาของข้าวและน้ำตาลปรับลดลงเรื่อย ๆ พวกเขาจึงต้องการพืชที่สามารถสร้างเม็ดเงินได้นายอนุทิน ชาญวีรกุล เศรษฐีไทยผู้กว้างขวางที่แสดงความต้องการทางการเมืองอย่างชัดเจนระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ.2562 จึงได้สัญญากับกลุ่มเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่าจะช่วยบรรเทาทุกข์ด้วยการปลดล็อกกัญชา ก่อนที่เขาจะได้นั่งในตำแหน่งรัฐมนตรีสาธารณสุขคนปัจจุบัน
การปลดล็อกกัญชาที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนที่ผ่านมาได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้คนจำนวนมาก รวมทั้งนักธุรกิจและบริษัทใหญ่ ๆ ที่ได้กว้านซื้อที่ดินจำนวนมากในบริเวณทางตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไว้แต่เนิ่น ๆ เพื่อเตรียมปลูกและตั้งโรงงานผลิตน้ำมันกัญชา ก่อนที่จะมีการปลดล็อกอย่างเป็นทางการด้วยซ้ำถูกกฎหมายเฉพาะทางการแพทย์และการบริโภค
ตามที่ระบุไว้ในทางทฤษฎี กัญชาสามารถนำมาใช้ได้ในทางการแพทย์หรือใช้ผสมในอาหารเพื่อบริโภคเท่านั้น แต่ไม่อนุญาตให้ใช้สารสกัดกัญชาที่มีสาร THC เกิน 0.2% เพราะสารดังกล่าวจะทำให้เกินอาการมึนเมาแต่ในความเป็นจริง การควบคุมกัญชาในไทยยังเป็นสีเทาและขาดความชัดเจน เพราะร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่ปลดล็อกกัญชาไปเมื่อเดือนที่แล้วยังไม่ระบุถึงรายละเอียดการดำเนินคดีและบทลงโทษที่ชัดเจนต่อผู้กระทำผิด โดย พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังต้องผ่านการพิจารณาในวาระ 2 และ 3 ก่อนที่จะได้รับการบัญญัติเป็นกฎหมายอีกด้วย
ผู้ปลูกกัญชารายย่อยอย่าง เล็ก กล่าวว่า “รัฐบาลจำเป็นต้องเปิดเสรีเรื่องนี้ให้เต็มที่ ให้ทุกครัวเรือนสามารถปลูกได้ ไม่ต้องควบคุมอะไรแล้ว” แต่เธอคาดว่า “เมื่อทุกอย่างผ่านเป็นกฎหมายเรียบร้อย มั่นใจว่าผู้ที่จะได้ประโยชน์จริง ๆ คือนายทุนรายใหญ่เท่านั้น”
‘อัมสเตอร์ดัมแห่งเอเชีย’
ปัจจุบัน เกิดปัญหาต่างๆ จากการใช้กัญชาเสรีในประเทศไทยมากมายจนทำให้บางคนคิดว่าไทยเป็น ‘อัมสเตอร์ดัมแห่งเอเชีย’ แล้ว เห็นได้จากที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเสพกัญชาอย่างเปิดเผยในบริเวณถนนข้าวสารที่กรุงเทพมหานคร ส่วนวัยรุ่นไทยบางส่วนยังมีการโพสต์วิดีโอของตนที่แสดงให้เห็นอาการมึนเมาจนไม่สามารถขยับตัวได้ หลังจากทานขนมบราวน์นี่ที่มีส่วนผสมของกัญชาเข้าไปอย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยได้เรียกร้องให้ผู้ที่ปลูกและผู้ใช้กัญชานั้นใช้เพื่อทางการแพทย์เท่านั้น และควรมีดุลพินิจและแสดงความรับผิดชอบในการเสพด้วย
สิริญา เทพเจริญ แห่ง Siam Cannabis Land ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี เห็นด้วยกับรัฐบาลไทยการใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ โดยบริษัทของเธอมีพิพิธภัณฑ์และแล็บปลูกกัญชาใต้ดินขนาดใหญ่ จุดประสงค์หลักของเธอ คือ การทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในจุดศูนย์กลางของกัญชาทางการแพทย์ของโลกเธอกล่าวว่า ต้องการดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เดินทางมาประเทศไทยเพื่อรักษาตัวและมีโรคต่าง ๆ เช่น การนอนไม่หลับ หรือ อัลไซเมอร์ ทั้งนี้ เธอระบุเพิ่มเติมว่าต้องการดึงดูดนักท่องเที่ยวหนุ่มสาวด้วย แม้พวกเขาจะเดินทางเที่ยวที่ประเทศไทย ด้วยเหตุผลที่ว่า อัมสเตอร์ดัมแห่งเอเชีย ก็ตาม
- ที่มา: วีโอเอ