ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ไขต้นกำเนิดการพูดของมนุษย์ กับวิวัฒนาการกล่องเสียง


In this file photo, an endangered silverback mountain gorilla from the Nyakamwe-Bihango family yawns within the forest in Virunga national park near Goma in eastern Democratic Republic of Congo, May 3, 2014. (REUTERS/Kenny Katombe/File Photo)
In this file photo, an endangered silverback mountain gorilla from the Nyakamwe-Bihango family yawns within the forest in Virunga national park near Goma in eastern Democratic Republic of Congo, May 3, 2014. (REUTERS/Kenny Katombe/File Photo)

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงในกล่องเสียงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทลิงใหญ่ที่ไม่ใช่มนุษย์ ในยุคดึกดำบรรพ์ อาจนำไปสู่วิวัฒนาการการพูดของมนุษย์ได้ในเวลาต่อมา

นักวิจัยกล่าวว่า พวกเขาได้ศึกษากล่องเสียงหรือ “ลาริงซ์” ในลิง 43 สายพันธุ์ โดยการศึกษาของพวกเขาแสดงให้เห็นว่า มนุษย์แตกต่างจากลิงเพราะมนุษย์ไม่มีโครงสร้างที่เรียกว่าเยื่อหุ้มเสียง ซึ่งประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อเล็ก ๆ ที่ติดอยู่กับกับเส้นเสียง

นักวิจัยกล่าวต่อไปว่า มนุษย์ยังขาดโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายบอลลูนที่เรียกว่าถุงลม ซึ่งอาจช่วยให้ทั้งลิงตัวใหญ่ที่ไม่มีหางและลิงตัวเล็ก ๆ บางตัวมีเสียงที่ดังและเสียงต่ำได้ นอกจากนี้ถุงลมยังช่วยให้บรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหล่านี้หลีกเลี่ยงภาวะหายใจถี่ หรือการหายใจเร็วผิดปกติอีกด้วย

การสูญเสียเนื้อเยื่อเหล่านี้ส่งผลต่อความเสถียรของระบบเสียงในมนุษย์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาหรือวิวัฒนาการของคำพูดของมนุษย์ในเวลาต่อมา และคำพูดเหล่านั้นช่วยให้มนุษย์สามารถแสดงความคิดและความรู้สึกโดยการใช้เสียงที่ชัดเจนและซับซ้อนได้

อย่างไรก็ตาม มนุษย์เองก็เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่นเดียวกับบรรดาลิงใหญ่และลิงตัวเล็ก ๆ ทั้งหลาย โดยที่วิวัฒนาการที่นำไปสู่สปีชีส์ของมนุษย์ Homo sapiens นั้น แยกตัวออกจากเชื้อสายของลิงชิมแพนซีซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุดเมื่อประมาณ 6-7 ล้านปีก่อน ซึ่งเชื่อกันว่าการเปลี่ยนแปลงของกล่องเสียงเกิดขึ้นหลังจากนั้น

ทาเคชิ นิชิมูระ แห่งศูนย์ต้นกำเนิดวิวัฒนาการของพฤติกรรมมนุษย์ ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหัวหน้าการเขียนงานวิจัยที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสาร Science Nishimura ฉบับเมื่อเร็ว ๆ นี้กล่าวว่า การวิจัยชี้ให้เห็นว่าโครงสร้างเสียงร้องที่ซับซ้อนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ไม่ใช่มนุษย์นั้น อาจทำให้ควบคุมการสั่นสะเทือนได้ยาก

ทะคัมเซอ ฟิชท์ (Tecumseh Fitch) หัวหน้านักวิจัยอีกคนหนึ่งจากมหาวิทยาลัยเวียนนา ประเทศออสเตรีย กล่าวเสริมว่า เยื่อหุ้มเสียงช่วยให้ลิงส่งเสียงได้ดังและสูงกว่ามนุษย์ แต่พวกมันมักจะทำเสียงแตกและเสียงดังแบบผิดปกติอยู่เสมอ

ทั้งนี้ กล่องเสียงหรือลาริงซ์คือท่อในลำคอที่เชื่อมต่อกับด้านบนของหลอดลมซึ่งประกอบไปด้วยเส้นเสียง ที่ใช้สำหรับการพูด หายใจ และกลืน นอกจากนี้กล่องเสียงยังเป็นอวัยวะของเสียง ซึ่งสร้างสัญญาณที่เราใช้ในการร้องเพลงและพูดอีกด้วย

ฟิทช์กล่าวว่า เป็นไปได้ที่จะเกิดการพัฒนาในบรรพบุรุษของมนุษย์ที่เรียกว่า Australopithecus ซึ่งรวมเอาองค์ประกอบที่เหมือนลิงและเหมือนมนุษย์เข้าด้วยกัน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า Australopithecus ปรากฏขึ้นครั้งแรกในแอฟริกาเมื่อประมาณ 3.85 ล้านปีก่อน

คณะนักวิจัยกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นในภายหลังใน Homo กลุ่มบรรพบุรุษของมนุษย์ ซึ่งปรากฏเป็นครั้งแรกในแอฟริกาเมื่อ 2.4 ล้านปีก่อน

ทั้งนี้ Homo sapiens สายพันธุ์วานรที่เป็นต้นกำเนิดของมนุษย์ ปรากฏขึ้นเมื่อ 300,000 ปีก่อนในแอฟริกา

อย่างไรก็ตาม ฟิทช์ตั้งข้อสังเกตว่า ในขณะที่วิวัฒนาการกล่องเสียงมีความสำคัญ แต่นั่นก็ไม่ใช่เพียงสิ่งเดียวที่ทำให้มนุษย์พูดได้ และว่าพัฒนาการอื่น ๆ ของร่างกายก็มีความสำคัญต่อการพูดด้วยเช่นกันเมื่อเวลาผ่านไป รวมถึงการเปลี่ยนตำแหน่งของกล่องเสียงด้วย

แฮโรลด์ กูซูเลส (Harold Gouzoules) นักวานรวิทยาและนักจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยเอมอรี ในเมืองแอตแลนต้า รัฐจอร์เจีย กล่าวว่า “คำพูดและภาษามีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก แต่ความหมายไม่เหมือนกัน" คำพูดคือการแสดงออกทางภาษาโดยใช้เสียงที่ได้ยินได้ และมนุษย์ก็เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวในหมู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถสร้างคำพูดขึ้นมาได้

  • ที่มา: รอยเตอร์
XS
SM
MD
LG