ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สหรัฐฯ พร้อมแค่ไหน ในการต่อสู้ ‘สงครามไซเบอร์’ กับรัสเซีย?


USA-CYBER/
USA-CYBER/

ในแต่ละวัน สหรัฐฯ ตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีด้านไซเบอร์ ซึ่งบางส่วนมีต้นกำเนิดมาจากรัสเซีย ผู้เชี่ยวชาญมองว่าหากความตึงเครียดระหว่างกรุงวอชิงตันและกรุงมอสโคว์เกี่ยวกับสงครามในยูเครนพุ่งสูงขึ้น ผู้นำรัสเซียอาจจะสั่งให้มีการโจมตีทางไซเบอร์แบบเต็มรูปแบบที่อาจจะทำลายระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของอเมริกาได้

การที่ประเทศโลกตะวันตกประสานงานกันอย่างดีและนำเอามามาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจมาใช้กับรัสเซียอย่างรวดเร็ว หลังการบุกรุกยูเครนนั้น ได้ทำให้ระบบการเงินของรัสเซียทรุดลงไปมาก ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์มองว่า ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน อาจจะใช้วิธีที่รัสเซียเชี่ยวชาญที่สุด นั่นก็คือ การทำสงครามไซเบอร์ (Cyber Attack) เพื่อตอบโต้สหรัฐฯ ซึ่งเป็นโต้โผในการระดมให้ประเทศโลกตะวันตกลงโทษรัสเซียอย่างพร้อมเพียงและยังเป็นผู้ส่งอาวุธให้ยูเครนอีกด้วย

ผู้เชี่ยวชาญให้สัมภาษณ์กับวีโอเอว่า การทำสงครามไซเบอร์ ซึ่งเป็นการโจมตีคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้น อาจจะน่ากลัวกว่าการทำสงครามที่ใช้อาวุธทั่วไปเสียด้วยซ้ำ แต่หากถามว่า สหรัฐฯ มีความพร้อมแค่ไหนในการเตรียมรับมือกับความเป็นไปได้ที่จะเกิดสงครามทางไซเบอร์นั้น ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนนัก

นิโคลาส ไชลาน (Nicolas Chaillan) อดีตเจ้าหน้าที่หัวหน้างานด้านซอฟท์แวร์แห่งกองทัพอากาศสหรัฐฯ เมื่อ 6 ปีก่อน เพื่อช่วยต่อสู้กับภัยคุกคามไซเบอร์ในระดับระหว่างประเทศนั้น กล่าวว่าตั้งแต่เขาทำงานให้รัฐบาลสหรัฐฯ เขารู้สึกผิดหวังในความสามารถของอเมริกาในการปกป้องระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของตัวเอง

"สหรัฐฯ เป็นผู้นำในการโจมตีทางไซเบอร์ ดังนั้นเราจึงมีความสามารถในการโจมตีเป็นอย่างดี แต่ความสามารถในการตั้งรับหรือป้องกันตัวของเรานั้นยังอ่อนแอมาก เทียบได้กับระดับอนุบาล" ไชลานกล่าว

FILE - This Sept. 16, 2016, file photo shows tanker trucks lined up at a Colonial Pipeline Co. facility in Pelham, Ala., near the scene of a 250,000-gallon gasoline spill caused by a ruptured pipeline.
FILE - This Sept. 16, 2016, file photo shows tanker trucks lined up at a Colonial Pipeline Co. facility in Pelham, Ala., near the scene of a 250,000-gallon gasoline spill caused by a ruptured pipeline.

ในขณะเดียวกัน ความสามารถในการป้องกันหรือรับมือกับการโจมตีทางไซเบอร์ของบริษัทเอกชนที่ดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของสหรัฐฯ ก็ไม่ได้ดีไปกว่ารัฐบาลเช่นกัน โดยไชลานยกตัวอย่างเหตุการณ์โจมตี โคโลเนียล ไปป์ไลน์ (Colonial Pipeline) ระบบท่อส่งน้ำมันของอเมริกาเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งการโจมตีดังกล่าวทำให้ครึ่งหนึ่งของรัฐที่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ ไม่มีน้ำมันใช้ ส่งผลต่อชีวิตผู้คนหลายล้านคนเป็นเวลาหลายวัน

"เรารู้ว่ามีหลายเหตุการณ์ที่ทั้งจีนและรัสเซียได้เจาะเข้ามาในระบบเครือข่ายของสหรัฐฯ และอยู่ในนั้นเป็นเวลาหลายเดือน หรืออาจจะเป็นปีด้วยซ้ำ ซึ่งจะว่าไป ทั้งสองประเทศนี้อาจจะกำลังฝังอยู่ในระบบเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของอเมริกาอยู่ในวินาทีนี้เลยก็ได้"

ไชลาน ยังกล่าวด้วยว่า มีความเป็นไปได้ที่คู่ต่อสู้ทางการเมืองของสหรัฐฯ ได้บุกรุกเข้ามาและตระเตรียมอาวุธหรือเครื่องมือไว้ในระบบของอเมริกาแล้ว โดยเครื่องมือเหล่านั้นอาจจะสามารถนำมาใช้ หรือ activate ได้ในอนาคต ซึ่งเขามองว่าเป็นสถานการณ์ที่น่ากลัวมาก ขณะเดียวกันก็ยังเป็นสถานการณ์ที่น่าขัน เพราะอเมริกาดูจะพออกพอใจกับความสามารถในการรับมือของตน

ผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ๆ เช่น เจคอบ กัลเบรธ (Jacob Galbreath) แห่งศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านความร่วมมือในการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือองค์การนาโต้ (NATO Cooperative Cyber Defence Centre of Excellence) กล่าวว่า หากมีการโจมตีทางไซเบอร์ ถึงแม้ว่าจะเป็นการโจมตีทั้งระบบ ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็น่าจะยังมีผลกระทบอยู่ในวงจำกัดเท่านั้น

"ผมคิดว่าขอบเขตของความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น น่าจะเป็นความเสียหายที่ใหญ่หลวงแต่จะจำกัดอยู่ในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง แต่ละภาคส่วนที่ดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐานนั้นมีขอบข่ายงานที่ทับซ้อนกันอยู่บ้าง ดังนั้น ถ้าระบบไฟฟ้าของภูมิภาคหนึ่งได้รับผลกระทบ เราก็ยังพอมีความยืดหยุ่นในระบบอยู่บ้าง (ที่จะแก้ไขปัญหา) "

Cyber Attack
Cyber Attack

ผู้เชี่ยวชาญบางคนมองว่า ประเทศมหาอำนาจทั้งหลายงดการโจมตีทางไซเบอร์อย่างเต็มรูปแบบต่อประเทศอื่น เพราะประเทศเหล่านี้ยึดถือแนวคิด Mutual Assured Destruction (MAD) หรือ การรับประกันการทำลายล้างทั้งสองฝ่าย ซึ่งเป็นหลักการ หรือยุทธศาสตร์ทางทหารและนโยบายด้านความมั่นคงของหลายประเทศ ที่มองว่า หากคู่กรณีมีพลังทำลายล้างสูงพอกัน จะไม่มีฝ่ายใดโจมตีก่อน เพราะตระหนักดีว่าประเทศของตนย่อมถูกตอบโต้ จนพังพินาศย่อยยับไปทั้งคู่ ซึ่งเป็นสภาวะที่ช่วยป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งยกระดับ หรือปะทุเป็นสงครามได้

เอสโตเนีย เป็นประเทศแรกที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักต่อการโจมตีด้านไซเบอร์ระหว่างรัฐต่อรัฐ ในเดือนเมษายน ปี ค.ศ.​2007 แฮ็คเกอร์ ซึ่งสันนิษฐานว่ามีความเชื่อมโยงกับรัฐบาลกรุงมอสโก ได้โจมตีเว็บไซต์ของรัฐบาลเอสโตเนีย รวมไปถึงเว็บไซต์ของสื่อมวลชน และสถาบันทางการเงินของประเทศ โดยอาศัยช่องโหว่ของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางในการโจมตี

และเมื่อมีการเทคโนโลยีการเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ตที่แพร่หลายมากขึ้น จำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเว็บไซต์ก็มากขึ้นเช่นกัน และเป็นช่องทางของการแฮ็คข้อมูลหรือระบบที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ก้าวหน้าไปด้วยความเร็วสูงในทุกวันนี้ ทำให้ประเทศมหาอำนาจได้แต่คาดเดาว่าคู่อริของตนจะใช้เครื่องมือใดบ้างในการโจมตีทางไซเบอร์ อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญมองว่า สงครามในยูเครนที่กำลังดำเนินอยู่นี้ ได้เปิดช่องเผยให้เห็นความสามารถที่แท้จริงของรัสเซีย และทำให้พอมองเห็นข้อจำกัดของกรุงมอสโกในการทำสงครามแบบดั้งเดิม และสงครามทางไซเบอร์อีกด้วย

เจคอบ กัลเบรธ มองว่า รัสเซียเองยังมีการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ในระดับที่ไม่ดีนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีมือที่สามเข้ามามีบทบาทบนความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซียในครั้งนี้

"มันค่อนข้างน่าทึ่งว่ามีประชากรโลกคนอื่น ๆ ที่เข้าร่วมสนับสนุนหรือต่อต้าน ทั้งยูเครนSchedulerและรัสเซียในสงครามครั้งนี้ หากพูดกันถึงด้าน (การโจมตีไซเบอร์) ผลกระทบต่อรัสเซียถือว่าสร้างความเสียหายได้มาก ผู้คนทั่วโลกพากันต่อต้านการกระทำของกองทัพรัสเซีย และสิ่งที่รัฐบาลกรุงมอสโกกำลังทำอยู่ในยูเครน "

ผู้เชี่ยวชาญยังกล่าวด้วยว่า ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนนั้น จะส่งผลกระทบไปทั่วโลก และอาจจะปรับเปลี่ยนความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดวางตำแหน่งแห่งที่ของรัฐเสียใหม่ ซึ่งรวมไปถึงในโลกไซเบอร์ด้วย

  • ที่มา: วีโอเอ
XS
SM
MD
LG